Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559

การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย
พ.ศ. 2559
1) ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ทั้งฉบับ และประเด็นเพิ่มเติม
2) ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ตัวอย่างบัตรลงคะแนนในวันออกเสียงประชามติ
ผลลัพธ์
ผล
คะแนน %
เห็นชอบ 16,820,402 61.35%
ไม่เห็นชอบ 10,598,037 38.65%
คะแนนสมบูรณ์ 27,418,439 92.19%
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า 936,209 3.15%
คะแนนทั้งหมด 29,740,677 100.00%
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ 50,071,589 59.4%
ร่างรัฐธรรมนูญ
เห็นชอบ
  
61.35%
ไม่เห็นชอบ
  
38.65%
ประเด็นเพิ่มเติม
เห็นชอบ
  
58.07%
ไม่เห็นชอบ
  
41.93%
การใช้สิทธิ: 59.40%

ผลคะแนนแบ่งตามcounty

การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)[1] เวลา 08:00–16:00 น.[2] เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ "ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ...." ทั้งฉบับ และการกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ[2] การออกเสียงประชามติครั้งนี้ รัฐบาลได้แต่งตั้ง พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล เป็น ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติ

ร่างรัฐธรรมนูญนี้ทำให้เกิดประชาธิปไตยครึ่งใบและถูกมองว่าเป็นการเพิ่มความกระชับในการปกครองของฝ่ายทหารในประเทศไทย[3] กระนั้น มีผู้เห็นด้วยถึงร้อยละ 61 โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิถึงร้อยละ 59 ข้อเสนอที่สองสำหรับนายกรัฐมนตรีคนถัดไปที่จะได้รับการเลือกตั้งร่วมกันจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ได้รับการอนุมัติเช่นกัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารสั่งห้ามกลุ่มที่ต่อต้านรัฐธรรมนูญรณรงค์ต่อต้านอย่างเป็นทางการ ในขณะที่รัฐบาลทหารรณรงค์อย่างแข็งขันเพื่อให้มีการนำรัฐธรรมนูญมาใช้

การรณรงค์

กกต.

กกต. ได้เริ่มต้นการณรงค์ในงาน "Kickoff 7 สิงหา ประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง" เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้คำขวัญในการรณรงค์ว่า "7 สิงหา ประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง" โดยมีหนุมาน เป็นตัวนำโชค และมีการเปิดตัวเพลงรณรงค์ชื่อเดียวกันกับคำขวัญ ซึ่งขับร้องโดยศิลปินลูกทุ่งชื่อดัง และใช้สำเนียงภาษาท้องถิ่น 4 ภาค[4] ซึ่งเพลงดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากโลกสังคมออนไลน์รวมถึงจากนักวิชาการว่ามีเนื้อหาบางช่วงบางตอนดูถูกคนบางภูมิภาคว่าถูกชักจูงได้ง่าย แต่เชิดชูคนอีกภูมิภาคหนึ่งว่าเป็นผู้ที่ภักดีต่อประชาธิปไตย[5] แต่ภายหลังทางฝ่าย กกต. ก็มีการแก้ไขเนื้อร้องเพลงดังกล่าวและเผยแพร่ในภายหลัง[6]

นปช.

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้รณรงค์ออกเสียงคู่ขนานไปกับ กกต. เริ่มในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ด้วยการเปิดตัว "ศูนย์ปราบโกงประชามติ"[7] ใช้คำขวัญว่า "ไม่ล้ม ไม่โกง ไม่อายพม่า"[8] และจัดทำเพลงรณรงค์ประชามติ 7 เพลง ออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์พีซทีวี รวมถึงเผยแพร่ผ่านทางยูทูบของพีซทีวีเอง ซึ่งขับร้องโดยแกนนำและศิลปินแนวร่วมของ นปช. หนึง่ในนั้นคือเพลง "แหล่ประชามติ" ซึ่งขับร้องโดย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ[9]

ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์ปราบโกงฯ ต้องยุติลงในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เพราะเจ้าหน้าที่รัฐขัดขวาง แต่ยังคงดำเนินการบนเฟซบุ๊ก[10]

ประชาชนทั่วไป

มีการจับกุมและคุมขังผู้อภิปรายหรือรณรงค์ให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 203 คน[11] อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการประชุมที่มีอภิปรายในด้านเนื้อหา สามารถทำได้ และสามารถ เผยแพร่สาระประชามติ ตามสื่อสารมวลชนปกติได้

การลงคะแนนและเขตออกเสียง

การออกเสียงประชามติมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:00 ถึง 16:00 น.[2] โดยแบ่งเขตออกเสียงตามเขตจังหวัด และมีการกำหนดหน่วยออกเสียงในแต่ละเขตออกเสียงเพื่อความสะดวกในการออกเสียงของผู้มีสิทธิออกเสียง[12]

ผลการออกเสียงประชามติ

ผลคะแนนอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559[13]

แถบผลคะแนนจากการออกเสียงประชามติในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เห็นชอบ :
61.35 (16,820,402)
ไม่เห็นชอบ :
38.65 (10,598,037)
แถบผลคะแนนจากการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ
เห็นชอบ :
58.07 (15,132,050)
ไม่เห็นชอบ :
41.93 (10,926,648)

ผลคะแนนตามภูมิภาค

ผลคะแนนอย่างเป็นทางการ[14]

ภาคเหนือ

จังหวัด จำนวนผู้ไปใช้
สิทธิออกเสียง
ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นเพิ่มเติม
คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง
เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ
    เชียงใหม่ 73.17% 390,046 459,399 45.92 54.08 340,577 458,384 42.63 57.37
    ลำพูน 76.47% 109,495 118,258 48.08 51.92 94,067 115,555 44.87 55.13
    ลำปาง 66.87% 193,758 180,863 51.72 48.28 167,969 178,128 48.28 51.47
    อุตรดิตถ์ 61.21% 124,356 81,982 60.27 39.73 108,946 83,360 56.65 43.35
    แพร่ 65.26% 102,745 119,594 46.21 53.79 87,944 117,973 42.71 57.29
    น่าน 66.21% 122,142 109,057 52.83 47.17 104,028 111,282 48.32 51.68
    พะเยา 65.38% 109,408 122,649 47.15 52.85 93,651 121,001 43.63 56.37
    เชียงราย 67.64% 249,684 304,976 45.02 54.98 211,333 303,066 41.08 58.92
    แม่ฮ่องสอน 74.36% 69,439 38,757 64.18 35.82 59,696 40,939 59.32 40.68
    นครสวรรค์ 56.86% 289,393 142,471 67.01 32.99 258,564 147,482 63.68 36.32
    กำแพงเพชร 65.67% 217,926 85,354 71.86 28.14 194,400 90,465 68.24 31.76
    ตาก 70.06% 160,674 60,377 72.69 27.31 142,085 62,732 69.37 30.63
    สุโขทัย 64.23% 188,608 79,858 70.25 29.75 166,417 84,515 66.32 33.68
    พิษณุโลก 60.99% 265,136 119,348 68.96 31.04 238,207 128,156 65.02 34.98
    พิจิตร 55.07% 141,330 75,000 65.33 34.67 124,335 77,490 61.61 38.39
    อุทัยธานี 60.57% 106,884 36,123 74.74 25.26 96,096 38,648 71.32 28.68
    เพชรบูรณ์ 61.72% 286,163 127,342 69.20 30.80 252,771 131,981 65.70 34.30
    รวม 65.48% 3,020,303 2,225,285 57.58 42.42 2,644,990 2,252,509 54.01 45.99

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัด จำนวนผู้ไปใช้
สิทธิออกเสียง
ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นเพิ่มเติม
คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง
เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ
    นครราชสีมา 60.51% 730,985 404,261 64.39 35.61 649,052 418,789 60.78 39.22
    บุรีรัมย์ 55.88% 365,041 241,101 60.22 39.78 317,347 246,433 56.29 43.71
    สุรินทร์ 54.95% 259,668 267,917 49.22 50.78 225,364 274,411 45.09 54.91
    ศรีสะเกษ 57.38% 244,499 331,314 42.46 57.54 205,001 331,359 38.22 61.78
    อุบลราชธานี 59.47% 413,901 341,848 54.77 45.23 353,493 355,885 49.83 50.17
    ยโสธร 57.03% 81,272 142,284 36.35 63.65 69,329 143,454 32.58 67.42
    ชัยภูมิ 56.22% 204,055 243,144 45.63 54.37 174,994 238,826 42.29 57.71
    อำนาจเจริญ 59.91% 87,314 72,346 54.69 45.31 74,976 75,344 49.88 50.12
    บึงกาฬ 58.18% 65,852 100,670 39.55 60.45 55,046 101,070 35.26 64.74
    หนองบัวลำภู 54.91% 77,167 116,958 39.75 60.25 66,883 115,350 36.70 63.30
    ขอนแก่น 57.44% 333,807 409,453 44.91 55.09 291,657 407,011 41.74 58.26
    อุดรธานี 55.70% 248,092 362,063 40.66 59.34 215,084 358,338 37.51 62.49
    เลย 65.85% 158,394 133,890 54.19 45.81 135,059 135,520 49.91 50.09
    หนองคาย 54.37% 86,557 108,874 44.29 55.71 74,924 108,005 40.96 59.04
    มหาสารคาม 58.02% 172,392 234,140 42.41 57.59 147,298 236,107 38.42 61.58
    ร้อยเอ็ด 54.56% 186,931 332,587 35.98 64.02 157,587 333,023 32.12 67.88
    กาฬสินธุ์ 57.16% 180,465 220,317 45.03 54.97 152,047 220,501 40.81 59.19
    สกลนคร 56.95% 217,372 236,497 47.89 52.11 183,391 245,699 42.74 57.26
    นครพนม 58.40% 139,497 155,830 47.23 52.77 114,920 158,949 41.96 58.04
    มุกดาหาร 62.45% 56,544 92,282 37.99 62.01 47,840 90,315 34.63 65.37
    รวม 57.60% 4,309,805 4,547,776 48.66 51.34 3,711,292 4,594,389 44.68 55.32

ภาคกลาง

จังหวัด
(และกรุงเทพมหานคร)
จำนวนผู้ไปใช้
สิทธิออกเสียง
ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นเพิ่มเติม
คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง
เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ
    กรุงเทพมหานคร 53.27% 1,585,533 705,195 69.22 30.78 1,482,723 778,724 65.57 34.43
    สมุทรปราการ 52.02% 318,571 167,798 65.50 34.50 294,355 179,280 62.15 37.85
    นนทบุรี 56.29% 343,771 166,490 67.37 32.63 318,607 180,797 63.80 36.20
    ปทุมธานี 55.32% 278,265 163,918 62.93 37.07 256,930 174,086 59.61 40.39
    พระนครศรีอยุธยา 61.22% 216,278 140,804 60.57 39.43 195,627 145,178 57.40 42.60
    อ่างทอง 58.39% 70,958 49,641 58.84 41.16 63,378 50,328 55.74 44.26
    ลพบุรี 59.12% 205,619 114,582 64.22 35.78 183,274 116,014 61.24 38.67
    สิงห์บุรี 61.78% 56,446 39,840 58.62 41.38 50,510 40,359 55.59 44.41
    ชัยนาท 60.97% 93,967 52,738 64.05 35.95 82,999 54,078 60.55 39.45
    สระบุรี 64.08% 193,686 94,224 67.27 32.73 176,085 97,241 64.42 35.58
    ชลบุรี 54.42% 430,361 132,554 76.45 23.55 401,957 145,215 73.46 26.54
    ระยอง 57.94% 221,196 59,932 78.68 21.32 203,825 67,584 75.10 24.90
    จันทบุรี 61.44% 176,029 59,485 74.74 25.26 161,171 64,492 71.42 28.58
    ตราด 58.33% 72,469 18,790 79.41 20.59 66,245 21,229 75.73 24.27
    ฉะเชิงเทรา 59.58% 204,136 92,616 68.79 31.21 185,922 96,441 65.85 34.15
    ปราจีนบุรี 62.75% 148,567 66,701 69.01 30.99 133,652 69,701 65.72 34.28
    นครนายก 58.19% 76,566 31,839 70.63 29.37 68,835 33,271 67.42 32.58
    สระแก้ว 57.35% 156,955 63,617 71.16 28.84 140,689 67,155 67.69 32.31
    ราชบุรี 63.17% 291,475 95,214 75.38 24.62 264,298 102,912 71.97 28.03
    กาญจนบุรี 58.36% 226,825 103,288 68.71 31.29 203,496 109,683 64.98 35.02
    สุพรรณบุรี 59.80% 223,114 143,798 60.81 39.19 198,547 146,937 57.47 42.53
    นครปฐม 60.37% 271,394 124,018 68.64 31.36 248,400 131,410 65.40 34.60
    สมุทรสาคร 55.79% 152,465 59,159 72.05 27.95 140,901 63,806 68.83 31.17
    สมุทรสงคราม 56.86% 62,948 18,385 77.40 22.60 57,810 20,210 74.10 25.90
    เพชรบุรี 64.81% 180,531 44,803 80.12 19.88 166,701 49,245 77.20 22.80
    ประจวบคีรีขันธ์ 59.30% 186,361 38,355 82.93 17.07 174,575 43,141 80.18 19.82
    รวม 57.17% 6,551,370 2,883,907 69.43 30.57 6,017,608 3,087,165 66.09 33.91

ภาคใต้

จังหวัด จำนวนผู้ไปใช้
สิทธิออกเสียง
ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นเพิ่มเติม
คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง
เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ
    นครศรีธรรมราช 57.33% 559,689 75,927 88.05 11.95 526,123 86,158 85.93 14.07
    กระบี่ 61.99% 161,520 30,787 83.99 16.01 151,725 35,241 81.15 18.85
    พังงา 62.71% 97,952 18,344 84.23 15.77 91,886 20,952 81.43 18.57
    ภูเก็ต 54.78% 125,643 17,081 88.03 11.97 118,969 20,022 85.59 14.41
    สุราษฎร์ธานี 58.50% 377,628 54,980 87.29 12.71 352,558 66,048 84.22 15.78
    ระนอง 60.02% 64,234 9,512 87.10 12.90 59,358 11,145 84.19 15.81
    ชุมพร 62.87% 208,068 23,004 90.04 9.96 196,293 28,023 87.51 12.49
    สงขลา 63.21% 506,752 109,283 82.26 17.74 475,959 117,052 80.26 19.74
    สตูล 63.27% 91,835 38,986 70.20 29.80 84,237 41,174 67.17 32.83
    ตรัง 64.50% 250,644 40,170 86.19 13.81 233,949 46,080 83.54 16.46
    พัทลุง 66.58% 213,900 39,087 84.55 15.45 199,195 45,591 81.38 18.62
    ปัตตานี 62.24% 89,952 166,900 35.02 64.98 85,976 164,449 34.33 65.67
    ยะลา 65.47% 81,759 122,988 39.93 60.07 77,963 120,792 39.23 60.77
    นราธิวาส 66.10% 109,348 194,020 36.04 63.96 103,969 189,858 35.38 64.62
    รวม 61.71% 2,938,924 941,069 75.75 24.25 2,758,160 992,585 73.54 26.46

ผลที่ตามมา

เป้าหมายถัดไปของการคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญคือการเขียนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญด้านการปกครองในระบอบการเมืองใหม่ หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ฝ่ายทหารยังคงมีอำนาจต่อหลังจัดพิธีการสืบราชสันตติวงศ์ ร่างรัฐธรรมนูญไทยจะมีการเปลี่ยนแปลง 6 อย่างตามคำขอของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขยายพระราชอำนาจของพระองค์ ก่อนที่จะให้การรับรองในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560[16]

มีการคาดหวังให้พรรคการเมืองยุบพรรคและปฏิรูปตนเอง ซึ่งอาจลงเอยด้วยการเป็นพรรคเล็กกว่าเดิม เนื่องจากระบบการลงคะแนนแบบใหม่ทำให้พรรคขนาดใหญ่ชนะเสียงข้างมากโดยรวมได้ยากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมมากขึ้น[3]

ต่อมามีการจัดการเลือกตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2562 โดยพรรคพลังประชารัฐ พรรคที่สนับสนุนคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง จัดตั้งรัฐบาลผสม ต่อมา ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารัฐบาลทหาร ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลใหม่ โดยเหตุที่สามารถเสนอชื่อได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเป็นนายกรัฐมนตรีได้[17]

รัฐบาลใหม่จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของวุฒิสภาที่ไม่ได้รับเลือกตั้ง (แต่งตั้ง) เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญ การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งของนักการเมืองทำได้ง่ายขึ้น และรัฐบาลในอนาคตจะต้องปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของฝ่ายทหาร[3]

ฝ่ายทหารจะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองไทยเป็นเวลาหลายปี[3]

อ้างอิง

  1. ฐานเศรษฐกิจ. ""กกต." มีมติกำหนดวันออกเสียงประชามติ 7 ส.ค. 59". thansettakij.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-20. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง. "จุลสารการออกเสียงประชามติ" (PDF). ect.go.th/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-20. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Thai referendum: Why Thais backed a military-backed constitution". BBC. 9 August 2016.
  4. เอ็มจีอาร์ออนไลน์ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559). "กกต. "Kick Off 7 สิงหาประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง"". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. เพลงเชียร์"ประชามติ"กกต. เปราะบางเหยียดภูมิภาค? เก็บถาวร 2016-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์
  6. กกต.ยอมแก้เนื้อเพลงประชามติแล้ว หลังเวอร์ชันแรกโดนติงดูถูกชาวเหนือ-อีสาน เก็บถาวร 2016-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี
  7. นปช.เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ-คสช.บอกยังไม่ใช่เวลานี้กลไกภาครัฐยังทำงานได้ดี[ลิงก์เสีย],ไทยทรีบูน
  8. "ประชามติต้องไม่ล้ม ไม่โกง ไม่อายพม่า" จตุพร พรหมพันธุ์ เก็บถาวร 2016-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์
  9. แหล่ครั้งแรก! เพลงประชามติซิงเกิลใหม่จากณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (คลิป), มติชนออนไลน์.
  10. ศูนย์ปราบโกงฯ โดนบล็อก หันไปใช้โซเชียล, ไทยรัฐ
  11. Ltd.Thailand, VOICE TV. "ผ่าน 1 ปีประชามติ ผู้ต้องหาและจำเลยกว่า 200 คน ยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม". VoiceTV.
  12. ราชกิจจานุเบกษา. "พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. http://www.thairath.co.th/content/687001
  14. 14.0 14.1 14.2 ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการออกเสียง (PDF) (Report). คณะกรรมการการเลือกตั้ง. 10 สิงหาคม 2559. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2559. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. http://www.thairath.co.th/content/687001
  16. Thai King Signs Military-Backed Constitution, National Public Radio, April 6, 2017
  17. Kaewjinda, Kaweewit; Peck, Grant (18 July 2019). "With New Cabinet, Thailand Replaces Junta with Army Allies". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 4 August 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 ถัดไป
การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559
(7 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
ยังไม่มี
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9