สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ (อังกฤษ: Crown Property Bureau; อักษรย่อ: CPB) เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐและเป็นหน่วยงานในพระมหากษัตริย์ที่มีสถานะพิเศษ[1][2] มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย (ซึ่งประกอบด้วย ทรัพย์สินในพระองค์ และทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์)[2] เดิมเปลี่ยนฐานะจาก "กรมพระคลังข้างที่" ยกสถานะขึ้นเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491[3] มีหน้าที่ดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่กำหนดให้แยกต่างหากจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ซึ่งดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง ต่อมาใน พ.ศ. 2561 มีการออกกฎหมายเพื่อจัดระเบียบทรัพย์สินดังกล่าวใหม่ และมีการโอนทรัพย์สินให้อยู่ในพระปรมาภิไธย ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เดิมมาจากการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน การถือครองที่ดินขนาดใหญ่และการถือครองธุรกิจหลายอย่าง ทรัพย์สินส่วนนี้ยังได้รับการยกเว้นภาษีอากรอีกด้วย ในปี 2548 มีผู้คำนวณว่าทรัพย์สินโดยเฉพาะหุ้นและที่ดินมีมูลค่ากว่า 990,000 ล้านบาท คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า สำนักงานฯ มีฐานะเป็นเอกชน แต่เป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะ "สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย” สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิจารณ์ว่า ทรัพย์สินส่วนนี้แทบไม่ต่างกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ ประวัติสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ชื่อเดิมคือ "กรมพระคลังข้างที่" มีฐานะเป็นกรมอิสระ ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[4] ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯให้พระยาไชยสุรินทร์เป็นกรมพระคลังข้างที่และพระคลังสวนและตึกเรือนโรงของหลวง [5] ทรัพย์สินในส่วนนี้เติบโตขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของกรุงเทพมหานครหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง กรมพระคลังข้างที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายพัฒนาเมืองของรัฐบาล และเข้าควบคุมที่ดินจนกลายเป็นผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่สุดของประเทศ[6]: 7–8 กรมพระคลังข้างที่ได้รับจัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดิน โดยบางปีสูงถึงร้อยละ 20 ของงบประมาณ[6]: 8–9 ต่อมา หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 กรมพระคลังข้างที่ถูกลดบทบาทมาเป็น "สำนักงานพระคลังข้างที่" อยู่ภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ต่อมามีการแยกบัญชี "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ออกจาก "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" และมีการตั้งสำนักงานทรัพย์สินฯ ขึ้นมาดูแลทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีสถานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงการคลัง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานที่ปรึกษา[7][3] มีการออกกฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ บริหารจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ คือพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 มีการแก้ไขใน ปี พ.ศ. 2484 และ ปี พ.ศ. 2491 การแก้ไขในปี พ.ศ. 2491 ส่งผลให้ หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็นประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คนแรก ตามกฎหมายดังกล่าว โดยมีผลในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2491 มาตรา 4 ทวิ ให้สร้างสำนักงานขึ้นสำนักงานหนึ่งเรียกว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดังนั้นวันก่อตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 หากยึดตามกฎหมายดังกล่าว[3] ต่อมาในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๗๑/๒๕๖๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นการยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมเข้ามาเป็นเรื่องด่วนซึ่งไม่ปรากฏในวาระการประชุมต่อที่ประชุมสภาโดยสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคือให้มีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานจาก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็น สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา ๗ ซึ่งที่ประชุมมีมติในวาระที่ ๑ ชั้นรับหลักการด้วยคะแนน เห็นด้วย ๑๙๔ เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ๓ เสียง จากนั้นที่ประชุมได้ประชุมกรรมาธิการเต็มสภาตามข้อเสนอของนาย สมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและเลขานุการ วิป สนช. ซึ่งที่ประชุมมีมติในวาระที่ ๒ และ ๓ ด้วยคะแนน เห็นด้วย ๑๙๙ เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ๓ เสียง ให้ประกาศใช้ ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ... เป็นกฎหมายซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะได้ส่งร่างกฎหมายฉบับนี้กลับไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยและลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ต่อไป กระทั่งวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งทรงให้ไว้เมื่อวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[2] การบริหารโครงสร้างใหม่พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561[2] กำหนดให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์คนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ
โครงสร้างเดิมพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 กำหนดให้มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และจะทรงแต่งตั้งหนึ่งคนในจำนวนนี้ให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์[15] การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491[16] ทรัพย์สินพอพันธุ์ (2549) เขียนว่า ปัจจัยที่ทำให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นกลุ่มทุนทรงอิทธิพลของประเทศ ได้แก่ การแก้ไขพระราชบัญญํติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์, ความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ[6]: 17 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีทรัพย์สินในความดูแล เป็นที่ดินกว่า 54 ตารางกิโลเมตรในกรุงเทพมหานคร และ 160 ตารางกิโลเมตรในจังหวัดอื่น โดยทำสัญญาให้เช่าแก่หน่วยงานราชการ องค์กรธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในความดูแลประมาณ 37,000 สัญญา ในจำนวนนี้มีการจัดประโยชน์หลายรูปแบบ ทั้งเพื่ออยู่อาศัยหาประโยชน์พอยังชีพ ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และใช้เป็นที่ตั้งของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและสมาคม องค์กรที่ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ในเชิงธุรกิจ แยกเป็นที่ดินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 25,000 สัญญา และในส่วนภูมิภาค อาทิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดลำปาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสงขลา จังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี รวมประมาณ 12,000 สัญญา[17] ในปลายปี พ.ศ. 2556 สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือครองอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด รวมพื้นที่ 41,000 ไร่ (65.6 ตร.กม. หรือ 16,210 เอเคอร์) ซึ่งเป็นที่ดิน 93% สำหรับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ชุมชน ตลาด ผู้เช่าอาคาร ที่ดินรายย่อย และมีพื้นที่ดินเชิงพาณิชย์ใจกลางเมืองคิดเป็น 7%[18] ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงโครงการใหญ่ ดังนี้
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ริเริ่มการพัฒนาชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ต่อมาร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน[19] อนึ่ง ก่อนพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 จะมีผลบังคับใช้ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษีอากร เช่นเดียวกับทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479[20] ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร สฤณี อาชวานันทกุล เขียนโดยอ้างอิงหนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work ว่า ทรัพย์สินโดยเฉพาะหุ้นและที่ดินมีมูลค่ากว่า 990,000 ล้านบาทในปี 2548[21] การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินส่วนพระองค์ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2561 ได้มีการปฏิรูปการดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยมีการออก พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ทางสำนักงานฯจึงได้ออกหนังสือชี้แจง โดยมีใจความสำคัญดังนี้[22]
ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 มีเนื้อหาสอดคล้องกับหนังสือชี้แจงดังกล่าว และมีข้อเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมดังนี้[2]
การลงทุนหลักทรัพย์
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องชำระภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป มีข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้
และยังมีการลงทุนในบริษัทดังต่อไปนี้
บริษัทในเครือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือขึ้น 2 แห่ง เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการสินทรัพย์ต่างๆ โดยชำระภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป ดังต่อไปนี้
ผลการดำเนินงานภายหลังการมีสถานะเป็นนิติบุคคลในปี พ.ศ. 2491 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีการบริหารงานเช่นเดียวกับองค์กรทั่วไป จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงมีการปรับปรุงการบริหารงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกิจการต่างๆ ที่ลงทุน เริ่มฟื้นตัวได้ในปี พ.ศ. 2546[ต้องการอ้างอิง] จึงทำให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีรายได้ในปีนั้นที่ประมาณ 3,800 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] จากการแถลงข่าวประจำปี พ.ศ. 2548 ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานฯ แจ้งว่าในปี พ.ศ. 2547 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาท โดยประมาณร้อยละ 90 เป็นรายได้จากเงินปันผลของหุ้นที่ลงทุนใน บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ และ บมจ.เทเวศประกันภัย[ต้องการอ้างอิง] ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 8 หรือประมาณ 400 ล้านบาท เป็นรายได้จากค่าเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[ต้องการอ้างอิง] ข้อวิจารณ์ในปี 2553 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ระบุในรายงานประจำปี 2553 ปฏิเสธข่าวของนิตยสารฟอบส์ที่ลงว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก โดยอธิบายว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของรัฐและของแผ่นดิน ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบ โดยสำนักงานฯ เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน มีนโยบายดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมโดยตลอด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) นำที่ดินราวกึ่งหนึ่งที่มอบให้สำนักงานฯ ดูแลตั้งแต่ปี 2479 (44,000 กว่าไร่) จัดสรรให้ประชาชน ส่วนที่ดินที่เหลือก็ไม่ได้ใช้แสวงประโยชน์อย่างเอกชน แต่บริหารจัดการโดยมีนโยบายการพัฒนาระยะยาวเพื่อประโยชน์สังคมเป็นหลัก[36] ฝ่าย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขียนในประชาไท ว่า ในทางปฏิบัติ รัฐบาลมิได้เป็นผู้รับผิดชอบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งไม่มีอำนาจควบคุม จัดการได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในในวงการธุรกิจ รัฐบาลและสำนักงานฯ การเขียนในรายงานประจำปี 2553 เป็นการบิดเบือนความจริง เพราะแย้งว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ในมือรัฐบาล สมศักดิ์เขียนต่อไปว่า ผลประโยชน์ทั้งหมดจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์จะทรงจำหน่ายใช้สอย "ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ" หมายรวมถึงว่า จะทรงจำหน่ายใช้สอยในกรณีที่จะตีความว่าเป็น "ส่วนพระองค์" ก็ได้[37] สมศักดิ์เขียนว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความสถานะของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์หลายครั้ง ดังนี้[37]
จากการตีความครั้งหลังสุดของคณะกรรมการกฤษฎีกา สมศักดิ์เขียนว่า หากสำนักงานฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาย่อมมีอำนาจที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงการดำเนินการได้ แต่ที่จริง คณะกรรมการกฤษฎีกายังย้ำอีกว่า "โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือ ที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น บุคคลใดไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าว"[37][38] สมศักดิ์จึงสรุปว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์กับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แทบไม่ต่างกัน เพราะ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ไม่ว่าเป็นการกำหนด "รายจ่ายประจำ" หรือการกำหนดให้มี "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" และ "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" ก็ล้วนแต่ "อยู่ในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย" ทั้งสิ้น[37] บิลเลียนแนส์นิวส์ไวร์ (Billionaires NewsWire) ระบุว่า สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ยังลงทุนในบริษัทที่ไม่แสดงรายการต่อสาธารณะ เช่น เครือโรงแรมเยอรมัน เคมพินสกีอาเก (Kempinski AG) และเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)[39] ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|