เครื่องหมายยศทั้ง 3 เหล่าทัพของกองทัพไทย
ยศทหารและตำรวจไทย ตามแบบชาติตะวันขึ้นตะวันตกเริ่มกำหนดให้มียศทหารและตำรวจไทยขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่ มีการปรับปรุง และจัดระบบระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ตามแบบยุโรปในทุกด้าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกยศและบรรดาศักดิ์ออกจากกันอย่างเด็ดขาดและโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศนายทหารบกขึ้นในปี พ.ศ. 2431 กำหนดให้มียศทหารบก ตามลำดับชั้นแบบอารยประเทศ ต่อมาเมื่อจัดระเบียบฝ่ายทหารบกเรียบร้อยแล้วจึงให้จัดระเบียบยศทหารเรือ โดยอนุโลมตามแบบกองทัพเรือ ต่างประเทศเป็นลำดับถัดมา
เมื่อมีการจัดตั้งกองทัพอากาศ ในสมัยรัชกาลที่ 8 ก็ได้จัดระเบียบยศทหารโดยอนุโลมตามแบบกองทัพเรือ ส่วนยศของตำรวจ นั้นได้นำรูปแบบยศของกองทัพบก มาปรับใช้โดยอนุโลม
ยศทหารไทย ปัจจุบันมีกฎหมายรองรับคือพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. 2479[ 1]
ยศตำรวจไทยนั้น แต่เดิมได้มีการโอนทหารไปรับราชการเป็นตำรวจและใช้ยศทหารบกสำหรับตำรวจ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการกำหนดให้มียศตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรก[ 2] โดยปัจจุบันยศตำรวจถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 [ 3]
ยศทหารชั้นสัญญาบัตร และตำรวจชั้นสัญญาบัตรของไทย เป็นยศที่ต้องมีพระบรมราชโองการพระราชทานยศจากพระมหากษัตริย์ ดังนั้นเมื่อส่วนราชการของทหาร-ตำรวจ ได้แต่งตั้งทหาร-ตำรวจให้มียศสัญญาบัตรใด ๆ จะมีคำว่า "ว่าที่" (Acting) ของยศนั้นนำหน้า จนกว่าจะได้นำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ให้มีพระบรมราชโองการพระราชทานยศแล้ว จึงจะไม่มีคำว่า "ว่าที่" นำหน้ายศนั้น ๆ เว้นแต่ยศทหาร-ตำรวจ ชั้นนายพล ซึ่งพระมหากษัตริย์จะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศพร้อม ๆ กับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ยศของทหาร-ตำรวจไทย แบ่งได้ดังต่อไปนี้
กองทัพบก
สัญญาบัตร(Commissioned)
เดิมไม่มียศจ่าสิบเอกพิเศษแต่เป็นยศนายดาบทหารบก
ประทวน(Non-commissioned )
กองทัพเรือ
สัญญาบัตร
ประทวน
กองทัพอากาศ
สัญญาบัตร
ชั้นประทวน
ตำรวจ
ชั้นสัญญาบัตร
ชั้นประทวน
Constable ranks
ดาบ
จ่า
ผู้หมู่
ผู้หมู่
ผู้หมู่
No Insignia
ดาบตำรวจ
จ่าสิบตำรวจ
สิบตำรวจเอก
สิบตำรวจโท
สิบตำรวจตรี
พลตำรวจ
Dap Tamruat
Cha Sip Tamruat
Sip Tamruat Ek
Sip Tamruat Tho
Sip Tamruat Tri
Phon Tamruat
Police Senior Sergeant Major
Police Sergeant Major
Police Sergeant
Police Corporal
Police Lance Corporal
Police Constable
NATO Code
OR-8 or OR-9
OR-7 or OR-6
OR-5
OR-4
OR-3
OR-1
ยศกองอาสารักษาดินแดน
ยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นยศที่ต้องมีพระบรมราชโองการพระราชทานยศจากพระมหากษัตริย์ เนื่องจากกำลังพลของกองอาสารักษาดินแดนเป็นกำลังพลกึ่งทหาร สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษ เทียบเท่ากองทัพต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ดังนั้น เพื่อความเหมาะสมในการปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามระเบียบวินัย จึงได้มีการกำหนดให้มีชั้นยศขึ้นตามพระราชบัญญัติยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 หรือเมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยทหาร หรือตำรวจ โดยแบ่งออกเป็นชั้นยศของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตร และชั้นยศของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนชั้นประทวน [5] สำหรับชื่อชั้นยศในภาษาอังกฤษนั้น ยึดถือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเรียกชื่อยศและตำแหน่งในกองอาสารักษาดินแดนเป็นภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2511 (เพื่อใช้สำหรับพลาง) และการแต่งตั้งผู้ใดให้ว่าที่ยศชั้นใดชั่วคราวตั้งแต่ชั้นนายหมวดตรีขึ้นไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจแต่งตั้งผู้นั้นให้ว่าที่ยศชั้นนั้นชั่วคราวได้ จนกว่าจะได้นำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ให้ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานยศแล้ว สำหรับผู้ที่จะได้รับยศตั้งแต่ชั้นนายหมู่ใหญ่ลงมานั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้บังคับบัญชาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายเป็นผู้แต่งตั้งได้ โดยชั้นยศกองอาสารักษาดินแดนนั้น มีลำดับชั้นยศเหมือนกับยศทหาร หรือตำรวจ เพียงแค่เรียกกันคนละแบบ และใช้แบบขนบธรรมเนียมในการเทียบชั้นยศกันกับหน่วยงานใกล้เคียง
ชั้นยศของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่
ชั้นยศของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตร แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นยศนายกอง (นายพล) และชั้นยศนายหมวด (นายพัน) มี 7 ชั้นยศ
NATO Code
OF-9
OF-5
OF-4
OF-3
OF-2
OF-1
เครื่องหมายยศ
ชื่อยศ
นายกองใหญ่
นายกองเอก
นายกองโท
นายกองตรี
นายหมวดเอก
นายหมวดโท
นายหมวดตรี
คำย่อ
ก.ญ.
ก.อ.
ก.ท.
ก.ต.
มว.อ
มว.ท.
มว.ต.
ชื่อยศภาษาอังกฤษ
Volunteer Defense Corps General
Volunteer Defense Corps Colonel
Volunteer Defense Corps Lieutenant Colonel
Volunteer Defense Corps Major
Volunteer Defense Corps Captain
Volunteer Defense Corps First Lieutenant
Volunteer Defense Corps Second Lieutenant
คำย่อภาษาอังกฤษ
VDC Gen
VDC Col
VDC Lt Col
VDC Major
VDC Capt
VDC 1st Lt
VDC 2nd Lt
ชั้นยศของสมาชิก
ชั้นยศของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนชั้นประทวน มีชั้นนายหมู่ เพียงชั้นเดียว มี 4 ชั้นยศ
NATO Code
OR-9
OR-8
OR-7
OR-6
-
เครื่องหมายยศ
ชื่อยศ
นายหมู่กองใหญ่
นายหมู่เอก
นายหมู่โท
นายหมู่ตรี
สมาชิกเอก
สมาชิกโท
สมาชิกตรี
สมาชิก
คำย่อ
ม.ญ.
ม.อ.
ม.ท.
ม.ต.
อส.อ
อส.ท.
อส.ต.
อส.
ชื่อยศภาษาอังกฤษ
Volunteer Defense Corps Sergeant Major
Volunteer Defense Corps Sergeant
Volunteer Defense Corps Corporal
Volunteer Defense Corps Lance Corporal
Volunteer Defense Corps Member
คำย่อภาษาอังกฤษ
VDC Sgt Maj
VDC Sgt
VDC Cpl
VDC Lcpl
VDC Mbr
สมาชิกเอก สมาชิกโท สมาชิกตรี และสมาชิก เป็นลำดับชั้นของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่มิได้กำหนดเป็นชั้นยศ และใช้คำเรียกในภาษาอังกฤษว่า Volunteer Defense Corps Member (VDC Mbr.) เพื่อใช้สำหรับพลาง
เครื่องหมายยศของนักเรียนทหาร
นักเรียนนายร้อย
NATO Code
OR-9
OR-8
OR-7
OR-6
OR-5
OR-4
OR-3
OR-2
OR-1
นักเรียนเตรียมทหาร
นักเรียนนายร้อย
นักเรียนนายเรือ
ไม่มีนักเรียนบังคับบัญชาตำแหน่งนี้
นักเรียนนายเรืออากาศ
นักเรียนนายร้อยตำรวจ
ชั้นยศ
หัวหน้านักเรียน Cadet Leader
หัวหน้ากองพัน Battalion Leader
หัวหน้ากองร้อย Company Leader
หัวหน้าหมวด Platoon Leader
หัวหน้าหมู่ (ผู้ช่วยครูฝึก) Squad Leader
หัวหน้าตอน Section Leader
นักเรียนแพทย์พยาบาล
NATO Code
OR-9
OR-8
OR-7
OR-6
OR-5
OR-4
OR-3
OR-2
OR-1
นักเรียนแพทย์ทหาร
นักเรียนพยาบาลกองทัพบก
นักเรียนนายเรือ
นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ
นักเรียนพยาบาลทหารตำรวจ
ชั้นยศ
หัวหน้านักเรียน Cadet Leader
หัวหน้ากองพัน Battalion Leader
หัวหน้ากองร้อย Company Leader
หัวหน้าหมวด Platoon Leader
หัวหน้าหมู่ (ผู้ช่วยครูฝึก) Squad Leader
หัวหน้าตอน Section Leader
ธงหมายยศระดับชั้นผู้ใหญ่
ระดับยศ[ 6]
ทหารบก
ทหารเรือ
ทหารอากาศ
ตำรวจ
จอมพล Field Marshal
จอมพล (Field Marshal )[ยกเลิกแล้ว โดยตำแหน่งสูงสุดแทนที่ด้วย จอมทัพไทย (Thai Commander) ซึ่งมีไว้ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยเท่านั้น]
จอมพลเรือ (Admiral of the Fleet )[ยกเลิกแล้วเช่นกัน,แทนที่ด้วยจอมทัพไทย]
จอมพลอากาศ (Marshal of the RTAF )[ยกเลิกแล้วเช่นกัน,เปลี่ยนเป็นจอมทัพไทย]
ไม่มียศจอมพลในข้าราชการตำรวจ
นายพล General
พลเอก (พล.อ.) (General )
พลเรือเอก (พล.ร.อ.) (Admiral )
พลอากาศเอก (พล.อ.อ.) (Air Chief Marshal )
พลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) (Police General )
พลโท (พล.ท.) (Lieutenant General )
พลเรือโท (พล.ร.ท.) (Vice Admiral )
พลอากาศโท (พล.อ.ท.) (Air Marshal )
พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) (Police Lieutenant General )
พลตรี (พล.ต.) (Major General )
พลเรือตรี (พล.ร.ต.) (Rear Admiral )
พลอากาศตรี (พล.อ.ต.) (Air Vice Marshal )
พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) (Police Major General )
พลจัตวา (พล.จ.) (Brigadier General )
พลเรือจัตวา (พล.ร.จ.) (Commodore )
พลอากาศจัตวา (พล.อ.จ.) (Air Commodore )
ไม่มียศพลจัตวาในข้าราชการตำรวจ
อัตราเงินเดือนข้าราชการทหาร-ตำรวจทุกระดับชั้น
นายทหารชั้นประทวน
อัตราค่าจ้าง
ชั้นยศ
ป.1
นายสิบทหารบก+ตำรวจ และจ่าทหารเรือ +ทหารอากาศ (C1)
ป.2
(ร่วมจ่าสิบเอกทหารรักษาพระองค์ด้วย)
จ่าทหารบก+ตำรวจ
และพันจ่าทหารเรือ+ทหารอากาศ (C2)
ป.3
จ่าสิบเอก (พิเศษ)
พันจ่าเอก (พิเศษ) พันจ่าอากาศเอก (พิเศษ) และดาบตำรวจ
นายทหารชั้นสัญญาบัตร
อัตรา
ชั้นยศ
น.1
ร้อยตรี-ร้อยเอก.
เรือตรี-เรือเอก
เรืออากาศตรี-เรืออากาศเอก(C5
น.2
พันตรี
นาวาตรี
นาวาอากาศตรี (C6)
น.3
พันเอก
นาวาโท
นาวาอากาศโท (C7)
น.4
พันเอก
นาวาเอก
นาวาอากาศเอก (C8)
น.5
พันเอก (พิเศษ)
นาวาเอก (พิเศษ)
นาวาอากาศเอก (พิเศษ) (C9 [อำนวยการสูง])
น.6
พลตรี
พลเรือตรี
พลอากาศตรี (C9 [อำนวยการสูง-บริหารต้น])
น.7
พลโท
พลเรือโท
พลอากาศโท (บริหารสูง)
น.8
พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก (บริหารสูง)
น.9
พลเอก (พิเศษ)
พลเรือเอก (พิเศษ)
พลอากาศเอก (พิเศษ) (บริหารสูง)
หมายเหตุ : ตำแหน่งด้านหลังเป็นการเทียบระดับข้าราชการทหารกับข้าราชการพลเรือน(เทียบตามสายสะพาย)
อัตราเงินเดือนของตำรวจชั้นประทวน และสัญญาบัตร
อัตรา
ชั้นยศ
พ.1
พลตำรวจ
ป.1
สิบตำรวจตรี-สิบตำรวจเอก
ป.2
จ่าสิบตำรวจ
ป.3
ดาบตำรวจ
ส.1
ร้อยตำรวจตรี-ร้อยตำรวจเอก
ส.2
พันตำรวจตรี-พันตำรวจโท (สารวัตร,ผบ.ร้อย)
ส.3
พันตำรวจโท (รองผู้กำกับการ)
ส.4
พันตำรวจเอก (ผู้กำกับการ)
ส.5
พันตำรวจเอก (พิเศษ) (รองผู้บังคับการ)
ส.6
พลตำรวจตรี (ผู้บังคับการ-รองผู้บัญชาการ)
ส.7
พลตำรวจโท (ผู้บัญชาการ-ผู้ช่วย ผบ.ตร.)
ส.8
พลตำรวจเอก (รอง ผบ.ตร.)
ส.9
พลตำรวจเอก ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หมายเหตุ
การเทียบยศ ของทหารและตำรวจไทยเป็นภาษาอังกฤษ จะอ้างอิงกับยศของกองทัพสหรัฐอเมริกา (บางเหล่าทัพใช้การเทีบบยศคล้ายยศของกองทัพสหราชอาณาจักร เช่น กองทัพอากาศ)
ยศชั้นสัญญาบัตรที่ยังไม่มีพระบรมราชโองการพระราชทานยศ ให้มีคำว่า "ว่าที่" (Acting) นำหน้ายศนั้น
ยศจอมพลเป็นยศเฉพาะข้าราชการทหารเท่านั้น (ตำรวจนั้นเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน จึงไม่มียศชั้นนี้) ปัจจุบันยศนี้ยังคงไว้เช่นเดียวกับชั้นพลจัตวา แต่ไม่มีการแต่งตั้งเพิ่ม มีเพียงแต่อัตราเงินเดือนชั้นจอมพล หรือ น.9 เท่านั้น เนื่องจากในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ทางราชการได้ดำริว่า ยศจอมพลควรเป็นพระยศเฉพาะสำหรับองค์จอมทัพ เช่นเดียวกับธรรมเนียมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงกลาโหม จึงมิได้ดำเนินการขอพระราชทานยศจอมพลให้แก่ผู้บัญชาการเหล่าทัพคนใดอีกเลย ปัจจุบันชั้นยศจอมพลในประเทศไทย จึงมีเฉพาะสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากมีสงคราม เกิดขึ้นก็อาจจะมีการแต่งตั้งจอมพลอีกครั้งก็ได้ เพราะในต่างประเทศถือว่าชั้นยศนี้มีอำนาจคุมกำลังทหารทั้งหมด ปัจจุบันคณะรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนอัตราเงินเดือนชั้นจอมพลเป็นอัตราเงินเดือนชั้นพลเอกพิเศษแทน[ 7] [ยศที่เทียบเท่าเช่น จอมทัพไทย]
ยศนายดาบทหารในขณะนี้ยังไม่มีการยกเลิกชั้นยศ แต่ไม่มีการแต่งตั้งชั้นยศนี้เพิ่มเติม
สำหรับทหารเรือ ตั้งแต่ชั้นยศพันจ่าตรีขึ้นไป ในเครื่องแบบสีขาวและสีกากี ประดับยศไว้บริเวณอินทรธนู และในเครื่องแบบสีน้ำเงินดำ ประดับยศเป็นแถบดิ้นสีทองบริเวณปลายแขนเสื้อ
ยศพลอาสาสมัคร มียศเทียบเท่ากับ พลทหาร หรือ อาสาสมัครทหารพราน แต่ พลอาสาสมัคร คือ ข้าราชการทหารประจำการ ไม่ใช่ทหารเกณฑ์ หรือ อาสาสมัคร ดังเช่น อาสาสมัครทหารพราน ซึ่ง จะได้รับเงินเดือนระดับ พ.2[ 8] และ ยศพลตำรวจสมัคร มียศเทียบเท่ากับ พลตำรวจพิเศษ ซึ่งสูงกว่าพลตำรวจ และ จะได้รับเงินเดือนระดับ พ.2[ 9]
เชิงอรรถ
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
ผู้บัญชาการ เหล่าทัพ หน่วยทหาร วิทยาลัย/โรงเรียน
หน่วยงานอื่น กำลังกึ่งทหาร กำลังพลสำรอง ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แอฟริกา
อเมริกา
อเมริกาเหนือ
กัวเตมาลา
คอสตาริกา
คิวบา (กองทัพบก , กองทัพเรือ , กำลังกึ่งทหาร )
เบลีซ
สาธารณรัฐโดมินิกัน
แคนาดา (กำลังกึ่งทหาร: หน่วยยามฝั่ง , ตำรวจ , รัฐทัณฑ์ , พยาบาลเซนต์จอห์น )
จาเมกา
ตรินิแดดและโตเบโก
นิการากัว
บาร์เบโดส
บาฮามาส
เบลิซ
เม็กซิโก (กองทัพบก , กองทัพเรือ )
สหรัฐ (สัญญาบัตร: กองทัพบก , นาวิกโยธิน , กองทัพเรือ , กองทัพอากาศ , หน่วยยามฝั่ง ) (ประทวน: กองทัพบก , นาวิกโยธิน , กองทัพเรือ , กองทัพอากาศ , หน่วยยามฝั่ง )
เอลซัลวาดอร์
เฮติ
ฮอนดูรัส
อเมริกาใต้ การเปรียบเทียบ
เอเชีย
กัมพูชา
กาตาร์
เกาหลี (จักรวรรดิ์เกาหลี, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้)
คาซัคสถาน
คีร์กีซสถาน
คูเวต
จอร์แดน
จีน (บก , เรือ , อากาศ )
สาธารณรัฐจีน (กำลังกึ่งทหาร : ตำรวจ , รัฐทัณฑ์ , ดับเพลิง , ศุลกากร )
ซาอุดีอาระเบีย
ซีเรีย
ญี่ปุ่น
ติมอร์-เลสเต
เติร์กเมนิสถาน
ทาจิกิสถาน
ไทย
เนปาล
บรูไน
บังกลาเทศ
บาห์เรน
ปากีสถาน
ปาเลสไตน์
พม่า
ฟิลิปปินส์
ภูฏาน
มองโกเลีย
มัลดีฟส์
มาเลเซีย (กำลังกึ่งทหาร : ตำรวจ , ราชทัณฑ์ , ดับเพลิง , ศุลกากร ,พยาบาลเซนต์จอห์น )
เยเมน
ลาว (กองทัพประชาชน )
เลบานอน
เวียดนาม
ศรีลังกา
สิงคโปร์ (กำลังกึ่งทหาร : ตำรวจ , รัฐทัณฑ์ , ดับเพลิง , ศุลกากร , พยาบาลเซนต์จอห์น )
อัฟกานิสถาน
อินเดีย
อินโดนีเซีย
อิรัก
อิสราเอล
อิหร่าน (กองทัพบก , กองทัพเรือ , กองทัพอากาศ )
อุซเบกิสถาน
โอมาน
อดีต การเปรียบเทียบ
กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
ตำรวจ
ยุโรป
อดีต การเปรียบเทียบ
กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
ตำรวจ
โอเชียเนีย
การเปรียบเทียบ
กองทัพบก
กองทัพอากาศ
ตำรวจ
เครือรัฐเอกราช
กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
ตำรวจ
เครือจักรภพ แห่งประชาชาติ
กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
ตำรวจ
นาโต
กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
ตำรวจ