พรรคมหาชน
พรรคมหาชน (อังกฤษ: Mahachon Party ตัวย่อ: MCP. พมช.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคราษฎร"[4] และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคมหาชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[5] เป็นพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากพรรคประชาธิปัตย์ มีจำนวนสมาชิกกว่า 1.18 ล้านคน[3] ประวัติยุคพรรคราษฎรพรรคราษฎร จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยมีคำขวัญว่า "พรรคราษฎร เพื่อราษฎร" มีสมชาย หิรัญพฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเป็น พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ มีเลขาธิการพรรค คือ มั่น พัธโนทัย[6] และหัวหน้าพรรคคนต่อมา คือ นายวัฒนา อัศวเหม แกนนำกลุ่มปากน้ำ
ยุคพรรคมหาชนพรรคมหาชน ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม ในปี พ.ศ. 2547 มีพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นแกนนำ โดยนโยบายพรรคมหาชนในระยะแรก ร่างโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งลาออกจากพรรค มาพร้อมกับพลตรีสนั่น นำเสนอนโยบายว่าเป็นพรรคทางเลือกที่สาม นอกเหนือจาก พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า พรรคตั้งขึ้นมาเพื่อแย่งชิงฐานเสียงของ พรรคไทยรักไทย ในภาคเหนือและภาคอีสาน และจะร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์ ในภายหลัง[7] เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และกำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่ ดร.ศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงสนับสนุนให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน ภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 พรรคมหาชนร่วมกับ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย ขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่าจะจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง พรรคจึงมีมติไม่ส่งผู้สมัคร วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย [8]
บุคลากรพรรคหัวหน้าพรรค
การเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พรรคราษฎรมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งเพียง 2 คน คือ เรวดี รัศมิทัต จากจังหวัดสมุทรปราการ กับ ชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล จากจังหวัดนครพนม และได้รับเลือกตั้งเพิ่มเติมอีกในการเลือกตั้งใหม่ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2544 คือ วิทยา บันทุปา จากจังหวัดอุบลราชธานี แต่ต่อมาถูก กกต.ตัดสินให้เลือกตั้งใหม่ และไม่ได้รับเลือกตั้งอีก
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคมหาชนส่งผู้สมัครลงการเลือกตั้งครั้งนี้ และได้มีการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรค คือ พาลินี งามพริ้ง พร้อมกับชูประเด็นความหลากหลายทางเพศ[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ประวัติการทำงานในรัฐสภาผลการเลือกตั้งทั่วไป
สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองพรรคมหาชนสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 อันเนื่องมาจากการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้เลิกพรรคมหาชน[13] หมายเหตุอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |