มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา (อังกฤษ: Chalermkarnchana University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตั้งอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ และถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกในจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2547 และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย ในชื่อว่า "มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา" เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557[2] ปัจจุบัน นอกจากการเรียนการสอนในจังหวัดศรีสะเกษ แล้ว ยังมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะเป็นวิทยาเขตหรือศูนย์ในจังหวัดตามภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ได้มีการจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ประวัติมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2547[3] มฉน.ศรีสะเกษ ตั้งอยู่เลขที่99 ถนนศรีสะเกษ-วารินฯ หมู่ 6 ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา มีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นนายกสภาวิทยาลัย และ ดร.สุชีราภรณ์ ธุวานนท์ เป็นผู้รับใบอนุญาตและอธิการบดี ได้เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา โดยเปิดทำการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรบริหารศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการเปิดทำการสอนในหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต และเปิดทำการสอนในระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารการศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรนิเทศการศึกษามหาบัณฑิต ถัดมาในปี พ.ศ. 2549 ได้เปิดสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทเพิ่มเติมอีก 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) และหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน)และเปิดสอนในหลักสูตรใหม่ๆอยู่เรื่อยๆตามการพัฒนาของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีอาคารเรียนและตึกแบบสถาปัตยกรรมยุโรปมีชื่อเสียงดังไปทั่วโลก มีหลักสูตรการเรียนแบบประเทศอังกฤษแห่งแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาจาก “วิทยาลัย” เป็น "มหาวิทยาลัย" สถานที่ตั้งวิทยาเขตกลางตั้งอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ และมีสถานที่ตั้งในภูมิภาค 7 วิทยาเขต
การเดินทางสู่มหาวิทยาลัยจังหวัดศรีสะเกษมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองศรีสะเกษประมาณ 9 - 11 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ไปทางจังหวัดอุบลราชธานี) และทางรถไฟ สามารถเดินทางโดยรถไฟหรือขบวนรถท้องถิ่นมาลงบริเวณที่หยุดรถไฟเฉลิมกาญจนา ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยได้ หรือรถตู้รถประจำทาง รถสองแถวมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา-เมืองศรีสะเกษ ตรามหาวิทยาลัยเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ประกอบด้วย มงกุฎ หมายถึง รางวัลแห่งความเป็นเลิศในด้านวิชาการ ด้านทักษะเชิงวิชาชีพ และด้านคุณธรรม ในวงมีวงแหวนล้อมรอบภายในอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า “มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา CHALERMKARNCHANA UNIVERSITY” รอบนอกวงกลมมีปรัชญาของมหาวิทยาลัย “BUILDING A FUTURE OF EXCELLENCE” เครื่องหมายของมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จึงหมายถึง การเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเปรียบประดุจ เช่น ทองคำ โดยมุ่งผลิตพัฒนากำลังคนในระดับปริญญาให้มีความเป็นเลิศในด้านอัจฉริยะ ด้านทักษะในเชิงวิชาชีพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านคุณธรรม สีประจำมหาวิทยาลัยสี แดง ขาว น้ำเงิน ซึ่งมีความหมายดังนี้
เพลงประจำมหาวิทยาลัย
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยต้นดอกหอมนวล หรือ ต้นดอกลำดวน ทั้งนี้ดอกลำดวนได้ชื่อว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ การทำ MOU กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับ Keuka College ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา เมื่อ วิทยาลัยคูก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา (Keuka College) ได้ตอบรับจับมือประสานหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถนำหน่วยกิตการเรียนระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยคูก้า ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทันที ซึ่งสามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้เช่นกัน โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปศึกษาต่ออเมริกา ตั้งแต่ปี 1 แต่สามารถเรียนที่มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา 3 ปี ไปศึกษาต่อปีที่ 4 เกี่ยวกับวิชาสหกิจศึกษาเพื่อฝึกการทำงานภาคปฏิบัติโดยตรง ที่วิทยาลัยคูก้า ประเทศสหรัฐอเมริกาเพียง 1 ปี ก็สามารถจบได้ปริญญาตรีจากวิทยาลัยคูก้า ประเทศสหรัฐอเมริกาอีก 1 ใบ ได้เช่นกัน หลักสูตร
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัย
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |