โซลเซนิตซิน กับประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน (2007)
อะเลคซันดร์ อีซาเยวิช โซลเซนิตซิน (รัสเซีย : Александр Исаевич Солженицын )เป็นนักเขียนนวนิยาย , นักเขียนบทละคร และ นักประวัติศาสตร์ คนสำคัญชาวรัสเซีย โซลเซนิตซิน
งานเขียนของโซลเซนิตซินทำให้โลกทราบถึงความทารุณของระบบค่ายแรงงานกูลัก (Gulag) ในสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะในเรื่อง The Gulag Archipelago (ไทย: เกาะกูลาก ) และ One Day in the Life of Ivan Denisovich (ไทย: วันหนึ่งในชีวิตของอิวาน เดนิโซวิค ) ซึ่งเป็นงานสองชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของโซลเซนิตซิน งานเขียนอันสำคัญเหล่านี้เป็นผลทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1970 หลังจากนั้นโซลเซนิตซินก็ลี้ภัยจากสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1974 ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 โซลเซนิตซินก็ได้รับรางวัลเทมเพิลทัน โซลเซนิตซินกลับไปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1994
งานที่ได้รับการตีพิมพ์และปาฐกถา
The Solzhenitsyn Reader: New and Essential Writings, 1947-2005 , ตรวจแก้โดยเอ็ดเวิร์ด อี. เอริคสัน จูเนียร์ และแดเนียล เจ. มาโฮนี (2009) - (ไทย: อ่านโซลเซนิตซิน: งานเขียนใหม่และงานเขียนสำคัญ )
A Storm in the Mountains - (ไทย: พายุบนภูเขา )
One Day in the Life of Ivan Denisovich (1962; นวนิยายขนาดสั้น ) - (ไทย: วันหนึ่งในชีวิตของอิวาน เดนิโซวิค )
An Incident at Krechetovka Station (1963; นวนิยายขนาดสั้น ) - (ไทย: เหตุการณ์ที่สถานีเครเชทอฟคา )
Matryona's Place (1963; นวนิยายขนาดสั้น ) - (ไทย: บ้านของมาทริโยนา ) เรื่องที่บรรยายโดยอดีตนักโทษกูลากผู้เป็นครูสอนคณิตศาสตร์ผู้ได้เช่าห้องที่อยู่ในสภาพที่โทรมจากมาทริโยนา
For the Good of the Cause (1964; นวนิยายขนาดสั้น ) - (ไทย: เพื่อเหตุผลที่ดี )
The First Circle (1968; novel) - (ไทย: ภูมิแรก ) ตั้งตามชื่อภูมิแรกซึ่งคือนรกภูมิในไตรภูมิดานเต [ 1] โดยดานเต อลิเกียริ
Cancer Ward (1968; นวนิยาย ) - (ไทย: คนเป็นมะเร็ง ) นวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติเกี่ยวกับกลุ่มผู้เป็นโรคมะเร็งในอุซเบกิสถานในปี ค.ศ. 1955 หลังสมัยการปกครองของสตาลิน
The Love-Girl and the Innocent (1969; บทละคร ) หรือ The Prisoner and the Camp Hooker หรือ The Tenderfoot and the Tart - (ไทย: โสเภณีและผู้บริสุทธิ์ ) บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาทิตย์หนึ่งในค่ายนักโทษโซเวียตในสมัยสตาลิน
Nobel Prize delivered speech (1970; บทปาฐกถา) บทปาฐกถาสำหรับสถาบันสวีเดน ที่เป็นงานเขียนที่มิได้กล่าวจริงที่สถาบัน
August 1914 (1971; นวนิยายประวัติศาสตร์ ) ที่มาของประวัติศาสตร์การกำเนิดและการก่อตั้งสหภาพโซเวียต หัวใจนวนิยายอยู่ที่การพ่ายแพ้อันยับเยินยุทธการแทนเนนเบิร์ก ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 และความขาดประสิทธิภาพของผู้นำทางการทหาร ตามด้วย งานอื่นที่มีชื่อเรื่องคล้ายคลึงกัน
The Gulag Archipelago (สามเล่ม) (1973–1978; ประวัติศาสตร์) (ไทย: เกาะกูลาก ) ไม่ใช่งานบันทึกชีวประวัติแต่เป็นประวัติของขบวนการก่อตั้งและบริหารรัฐตำรวจ ในสหภาพโซเวียต
Prussian Nights (1951, ตีพิมพ์ครั้งแรก 1974; กวีนิพนธ์) (ไทย: คืนปรัสเซีย ) บรรยายการเดินทางของกองทัพโซเวียตข้ามปรัสเซียตะวันออกที่โซลเซนิตซินได้เห็นเหตุการณ์การข่มขืนและการฆาตกรรม
Aleksandr Solzhenitsyn's speech บทปาฐกที่งานเลี้ยงรับรองในการมอบรางวัลโนเบลในสต็อกโฮล์มเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1974
A Letter to the Soviet leaders , (1974) (ไทย: จดหมายถึงผู้นำโซเวียต ), ISBN 0-06-013913-7
The Oak and the Calf (1975) บันทึกความพยายามตีพิมพ์งานเขียนในโซเวียน
Lenin in Zürich (1976) (ไทย: เลนินในซูริค )
Warning to the West (1976; ปาฐกถา 5 บท) (ไทย: คำเตือนต่อโลกตะวันตก )
Harvard Commencement Address (1978) link (ไทย: บทปาฐกถาในงานรับปริญญาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด )
The Mortal Danger: Misconceptions about Soviet Russia and the Threat to America (1980) (ไทย: มหาอันตราย: ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโซเวียตรัสเซียและอันตรายต่อสหรัฐอเมริกา )
Pluralists (1983; โบรชัวร์การเมือง)
November 1916 (1983; นวนิยายในชุด The Red Wheel )
Victory Celebration (1983) (ไทย: ฉลองชัยชนะ )
Prisoners (1983) (ไทย: นักโทษ )
Godlessness, the First Step to the Gulag. (1983) (ไทย: ไร้พระเจ้า, ก้าวแรกไปสู่กูลาก ) บทรับรางวัลเทมเพิลทัน ในลอนดอนเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1983
August 1914 (1984; นวนิยาย, ฉบับขยายเต็มที่)
Rebuilding Russia (1990) - (ไทย: สร้างรัสเซียใหม่ )
March 1917 (1990)
April 1917
The Russian Question (1995) - (ไทย: ปัญหารัสเซีย )
Invisible Allies [ 2] (1997) - (ไทย: พันธมิตรไม่มีตัวตน )
Russia under Avalanche (Россия в обвале ,1998; โบรชัวร์การเมือง) เนื้อหาภาษารัสเซีย (ไทย: รัสเซียใต้กองปัญหา )
Two Hundred Years Together (2003) - (ไทย: สองร้อยปีร่วมกัน ) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรัสเซีย-ยิวตั้งแต่ ค.ศ. 1772, ปฏิกิริยาหลายมุมมองจากผู้อ่าน[ 3] [ 4] [ 5]
อ้างอิง
ค.ศ. 1901–1925 (พ.ศ. 2444–2468) ค.ศ. 1926–1950 (พ.ศ. 2469–2493) ค.ศ. 1951–1975 (พ.ศ. 2494–2518) ค.ศ. 1976–2000 (พ.ศ. 2519–2543) ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ ศิลปิน ประชาชน อื่น ๆ