Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ฌ็อง-ปอล ซาทร์

ฌ็อง-ปอล ซาทร์
ฌ็อง-ปอล ซาทร์ ในปีค.ศ.1967
เกิดJean-Paul Charles Aymard Sartre
21 มิถุนายน ค.ศ. 1905(1905-06-21)
ปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
เสียชีวิต15 เมษายน ค.ศ. 1980(1980-04-15) (74 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ศิษย์เก่าเอกอลนอร์มอลซูว์เปรีเยอร์, มหาวิทยาลัยปารีส[1] (B.A., M.A.)[2]
คู่รักซีมอน เดอ โบวัวร์ (1929–1980; เขาเสียชีวิต)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
มีอิทธิพลต่อAron, อาลแบร์ กามูว์, ซีมอน เดอ โบวัวร์, Fanon, เช เกบารา, Laing, เออร์วิง กอฟฟ์แมน, Merleau-Ponty, Gorz, Deleuze, Jeanson, เรอเน เลโบวิตซ์, ฌาคส์ ลากอง, แฮโรลด์ พินเทอร์, Rancière, อาแล็ง บาดียู, ปิแอร์ บูร์ดิเยอ, van Fraassen, จูดิธ บัตเลอร์
ได้รับอิทธิพลจากเซอเรน เคียร์เคอกอร์,[3] ซีมอน เดอ โบวัวร์, Flaubert, เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล, มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์, เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล, อ็องรี แบร์กซอน, Kojève, Bachelard, คาร์ล มาคส์, Stekel, Merleau-Ponty, Nizan, Levinas, มาร์แซล พรุสต์, หลุยส์-เฟอร์ดินานด์ เซลีน, อ็องรี เลอแฟฟวร์,[4] ฌ็อง-ฌัก รูโซ[5]
ลายมือชื่อ
ฌ็อง-ปอล ซาทร์

ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (ฝรั่งเศส: Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว

ประวัติ

ฌ็อง-ปอล ซาทร์ เข้ารับการศึกษาที่ เอโกล นอร์มาล ซูเปรีเยอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1924 – ค.ศ. 1929 เมื่อเรียนจบ ก็ได้เป็นอาจารย์สาขาปรัชญาที่ เลอ แอร์ฟ เมื่อปี ค.ศ. 1931 ซาทร์สูญเสียบิดาตั้งแต่วัยเยาว์ และเติบโตในบ้านของตา ชื่อ คาร์ล ชไวทเซอร์ (ผู้เป็นลุงของอัลเบิร์ต ชไวทเซอร์) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์

ระหว่างปี 1931 - 1945 ซาทร์ได้สอนหนังสือหลายที่ รวมทั้งในอังกฤษ และสุดท้ายก็กลับมาที่ปารีส มีสองครั้งที่อาชีพของเขาถูกขัดขวาง ครั้งหนึ่ง เมื่อต้องศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ในกรุงเบอร์ลิน และครั้งที่สองเมื่อต้องเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939 ครั้นปีต่อมาถูกจับเป็นเชลย และอีกปีถัดมาก็ได้รับการปลดปล่อย

ช่วงเวลาที่สอนหนังสือนั้น ซาทร์ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง La Nausee, 1938 เป็นครั้งแรกที่ทำให้เขามีชื่อเสียง นวนิยายเรื่องนี้เขียนในรูปบันทึกประจำวัน เล่าถึงความรู้สึกชิงชัง เมื่อเผชิญหน้ากับโลกของทางวัตถุ ไม่เพียงแต่โลกของคนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการรับรู้ถึงตัวของเขาด้วย

ซาทร์ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาเยอรมัน ชื่อเอดมุนด์ ฮุสเซล และนำมาใช้ด้วยทักษะอันเลิศในผลงานพิมพ์ 3 เล่ม คือ L'Imagination (1936; จินตนาการ), Esquisse d'une théorie des émotions (1939; ร่างทฤษฎีแห่งอารมณ์) และ L'Imaginaire : Psychologie phénoménologique de l'imagination (1940; จิตวิทยาแห่งจินตนาการ) แต่ทว่าใน L'Être et le néant (1943; ความมีอยู่ และความไม่มีอะไร)ซาทร์กำหนดฐานะของจิตสำนึกมนุษย์ หรือความไม่มีอะไร (néant) ไว้ตรงข้ามความมีอยู่ หรือความเป็นสิ่งของ (être)

ซาทร์เริ่มเขียนนวนิยายชุด 4 เล่ม เมื่อปี 1945 ชื่อ Les Chemins de la liberté อีก 3 เล่ม คือ L'Âge de raison (1945; ยุคแห่งเหตุผล), Le Sursis (1945; ) และ La Mort dans l'âme (1949;เหล็กในวิญญาณ) หลังพิมพ์ครั้งที่ 3 ซาทร์ก็เปลี่ยนใจหันกลับไปสู่บทละครอีก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาทร์เขียนโจมตีความยะโสของมนุษย์ และเสรีภาพของปัจเจกชน ซาทร์ได้เปลี่ยนความสดใสไปสู่แนวคิดของความรับผิดชอบของสังคมหลายปีแล้ว ที่เขาแสดงความใสใจคนรวย และคนที่ไม่มีมรดกทุกชนิด ขณะเป็นครูเขาปฏิเสธไม่ยอมผูกเน็คไท ราวกับเขาจะเช็ดชนชั้นทางสังคมให้สลายไปด้วยเน็คไท และเข้าใกล้พวกคนใช้แรงงานมากขึ้น ในงานเรื่อง L'Existentialisme est un humanisme (1946;) ตอนนี้เสรีภาพแสดงนัยของความรับผิดชอบทางสังคม ในนวนิยายและบทละครเรื่องต่างๆ ของเขา

ซาทร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นในสื่อของเขาระหว่างช่วงสงคราม และบทละครใหม่ ก็ตามติดมาเรื่อยๆ ได้แก่ Les Mouches (ออกแสดง 1943), Huis- clos (1944) Les Mains Sales (1948) Le Diable et le bon dieu (1951) และ Les Séquestres d'Altona (1959)บทละครทั้งหมด จะเน้นที่พฤติกรรมก้าวร้าวดั้งเดิมของมนุษย์ต่อมนุษย์ ซึ่งดูเหมือนมีแต่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ตามคำสารภาพของซาตร์เอง จุดมุ่งหมายนั้นไม่มีเรื่องศีลธรรมของการใช้ทาสเลย

กิจกรรมทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาทร์มีความสนใจอย่างกระตือรือร้นต่อชนวนการทางการเมืองในฝรั่งเศส และโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย ก็ประกาศชัดมากขึ้น เขาเป็นผู้นิยมสหภาพโซเวียตอย่างยิ่ง แม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตาม

ในปี 1954 ซาตร์เดินทางไปโซเวียต ประเภทแถบสแกนดิเนเวีย แอฟริกา สหรัฐอเมริกา และคิวบา เมื่อรัสเซียนำรถถังบุกกรุงบูดาเปส ในปี 1956 ความหวังของซาทร์ที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ก็พังครืนอย่างน่าเศร้า เขาเขียนบทความขนาดยาว ใน Les Temps Modernes เรื่อง Le Fantôme de Staline ซึ่งตำหนิการแทรกแซงของรัสเซีย และการยอมรับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส

ซาทร์ได้ร่วมมือกับซีมอน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir) เขียนเรื่อง Mémoires d'une jeune fille rangée,1958 และเรื่อง La Force de l'âge, 1960-2 โดยได้เล่าถึงชีวิตของซาทร์ จากสมัยนักเรียน จนถึงกลางศตวรรษที่ 50 ใน École Normale Supérieure ในภายหลังเขาได้พบผู้คนมากมาย ที่มีจุดมุ่งหมายจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ในจำนวนนี้ได้แก่ แรมง อารง (Raymond Aron) มอริส แมร์โล-ปงตี (Maurice Merleau-Ponty), ซีมอน แวย์ (Simone Weil), แอมานุแอล มูนีเย (Emmanuel Mounier), ฌ็อง อีปอลิต (Jean Hippolyte) และโกลด เลวี-สโทรส (Claude Levi-Strauss)

ผ่านไปหลายปี ทัศนคติเชิงวิจารณ์นี้เปิดทางสู่รูปแบบของสังคมนิยมแบบซาทร์ ซึ่งจะพบการแสดงออกในผลงานใหญ่ชิ้นใหม่ ชื่อ Critique de la raison dialectique (1960) ซาทร์ได้ดำเนินการตรวจสอบเชิงวิจารณ์ถึงวิภาษวิธีแบบมากซ์ และค้นพบว่า ไม่มีความยั่งยืนในรูปแบบที่โซเวียตใช้

งานเขียนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย

  1. คนไม่มีเงา (กรุงเทพฯ: ดวงกมล, 2517).
  2. เพียงความใกล้ชิด (Intimacy) แปลโดย น. ชญานุตม์ (กรุงเทพฯ: กอไผ่, 2526).
  3. รวมเรื่องสั้น ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ บรรณาธิการโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี (กรุงเทพฯ: ดวงกมลวรรณกรรม, 2536).

ดูเพิ่ม

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Annie Cohen-Solal, Sartre 1905-80, 1985.
  • Simone de Beauvoir, Adieux: A Farewell to Sartre, New York: Pantheon Books, 1984.
  • Thomas Flynn, Sartre and Marxist Existentialism: The Test Case of Collective Responsibility, Chicago: University of Chicago Press, 1984.
  • John Gerassi, Jean-Paul Sartre: Hated Conscience of His Century, Volume 1: Protestant or Protester?, University of Chicago Press, 1989. ISBN 0-226-28797-1.
  • R. D. Laing and D. G. Cooper, Reason and Violence: A Decade of Sartre's Philosophy, 1950-1960, New York: Pantheon, 1971.
  • Suzanne Lilar, A propos de Sartre et de l'amour, Paris: Grasset, 1967.
  • Axel Madsen, Hearts and Minds: The Common Journey of Simone de Beauvoir and Jean-Paul Sartre, William Morrow & Co, 1977.
  • Heiner Wittmann, L'esthétique de Sartre. Artistes et intellectuels, translated from the German by N. Weitemeier and J. Yacar, Éditions L'Harmattan (Collection L'ouverture philosophique), Paris 2001.
  • Elisabeth Roudinesco, Philosophy in Turbulent Times: Canguilhem, Sartre, Foucault, Althusser, Deleuze, Derrida, Columbia University Press, New York, 2008.
  • Jean-Paul Sartre and Benny Levy, Hope Now: The 1980 Interviews, translated by Adrian van den Hoven, Chicago: University of Chicago Press, 1996.
  • P.V. Spade, Class Lecture Notes on Jean-Paul Sartre's Being and Nothingness. 1996.
  • Jonathan Webber The existentialism of Jean-Paul Sartre, London: Routledge, 2009
  • H. Wittmann, Sartre und die Kunst. Die Porträtstudien von Tintoretto bis Flaubert, Tübingen: Gunter Narr Verlag, 1996.
  • H. Wittmann, Sartre and Camus in Aesthetics. The Challenge of Freedom.Ed. by Dirk Hoeges. Dialoghi/Dialogues. Literatur und Kultur Italiens und Frankreichs, vol. 13, Frankfurt/M: Peter Lang 2009 ISBN 978-3-631-58693-8
  • Wilfrid Desan, The Tragic Finale: An Essay on the philosophy of Jean-Paul Sartre (1954)
  • BBC (1999). "The Road to Freedom". Human, All Too Human.
  • Pink Floyd and Philosophy "Careful with that Axiom Eugene" by George A. Reisch Chicago: Open Court Publishing Company, 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

By Sartre

On Sartre

[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ Sartre, Jean Paul}
ชื่ออื่น
รายละเอียดโดยย่อ French philosopher
วันเกิด 21 มิถุนายน ค.ศ. 1905(1905-06-21)
สถานที่เกิด Paris
วันตาย 15 เมษายน พ.ศ. 1980
สถานที่ตาย Paris
  1. At the time, the ENS was part of the University of Paris according to the decree of 10 November 1903.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Schrift
  3. 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SEP
  4. Ian H. Birchall, Sartre against Stalinism, Berghahn Books, 2004, p. 176: "Sartre praised highly [Lefebvre's] work on sociological methodology, saying of it: 'It remains regrettable that Lefebvre has not found imitators among other Marxist intellectuals'."
  5. "Sartre's Debt to Rousseau" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2 March 2010.
  6. Sartre, J.-P. 2004 [1937]. The Transcendence of the Ego. Trans. Andrew Brown. Routledge, p. 7.
  7. Siewert, Charles, "Consciousness and Intentionality", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Fall 2011 Edition), Edward N. Zalta (ed.).
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9