เทโอดอร์ ม็อมเซิน |
---|
|
เกิด | 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1817(1817-11-30) การ์ดิง ดัชชีชเลสวิช |
---|
เสียชีวิต | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903(1903-11-01) (85 ปี) ชาร์ล็อทเทินบวร์ค จักรวรรดิเยอรมัน |
---|
อาชีพ | นักประวัติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ นักโบราณคดี |
---|
สัญชาติ | เยอรมัน |
---|
แนว | ประวัติศาสตร์ การเมือง |
---|
ผลงานที่สำคัญ | ประวัติศาสตร์ของโรม รัฐธรรมนูญโรมัน |
---|
คริสทีอัน มัททีอัส เทโอดอร์ ม็อมเซิน (เยอรมัน: Christian Matthias Theodor Mommsen; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1817 – 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903) เป็นนักวิชาการคลาสสิก นักประวัติศาสตร์ นักกฎหมาย นักข่าว นักการเมือง นักโบราณคดีชาวเยอรมัน[1] ถือกันว่าม็อมเซินเป็นนักวิชาการคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผลงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรมันยังคงมีความสำคัญในระดับพื้นฐานในการวิจัยจนแม้ในปัจจุบัน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. 1902[2]
ผลงานที่สำคัญ
- Römische Geschichte (ประวัติศาสตร์ของโรม) งานชิ้นนี้ครอบคลุมประวัติศาสตร์ทั้งหมดของสาธารณรัฐโรมัน (มีแผนที่จะเขียนประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้เขียน) ตีพิมพ์เป็น 3 เล่มจบ ระหว่าง ค.ศ. 1854–1856 เล่าถึงประวัติศาสตร์โรมัน จนถึงปลายสมัยสาธารณรัฐโรมัน และการปกครองของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งมอมเซนถือว่าเป็นรัฐบุรุษที่มีพรสวรรค์คนหนึ่ง
- Römisches Staatsrecht (รัฐธรรมนูญโรมัน) จัดพิมพ์เป็น 3 เล่ม และได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการวิจัยประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ความจริงแล้วชาวโรมันไม่ได้บันทึกรัฐธรรมนูญเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มอมเซนเป็นผู้รวบรวมเอาไว้แล้วเป็นครั้งแรก ตีพิมพ์ระหว่าง ค.ศ. 1871–1888
- Römisches Strafrecht (กฎหมายอาญาโรมัน) นับเป็นงานชิ้นใหญ่ชิ้นสุดท้ายของม็อมเซิน ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1899
ม็อมเซินยังเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาจารึกบนศิลาและไม้อีกด้วย เรียกว่า "อภิลิขิต" (epigraphy) เขาเสียชีวิตก่อนครบรอบวันเกิดเพียง 4 สัปดาห์ คือเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903 อายุได้เกือบ 86 ปีเต็ม โดยได้ศึกษาและค้นคว้าอย่างจริงจังและทุ่มเทตลอดชีวิต
ม็อมเซินเป็นนักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเพียงหนึ่งในจำนวนน้อยนิด ที่ไม่ได้แต่งบทกวีหรือนวนิยาย
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|
---|
ค.ศ. 1901–1925 (พ.ศ. 2444–2468) | |
---|
ค.ศ. 1926–1950 (พ.ศ. 2469–2493) | |
---|
ค.ศ. 1951–1975 (พ.ศ. 2494–2518) | |
---|
ค.ศ. 1976–2000 (พ.ศ. 2519–2543) | |
---|
ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน) | |
---|