เพาล์ ไฮเซอ
เพาล์ โยฮัน ลูทวิช ฟ็อน ไฮเซอ (เยอรมัน: Paul Johann Ludwig von Heyse; 15 มีนาคม ค.ศ. 1830 – 2 เมษายน ค.ศ. 1914) เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวเยอรมันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. 1910[1] ฟ็อน ไฮเซอ เป็นบุตรของคาร์ล วิลเฮ็ล์ม ลูทวิช ไฮเซอ นักนิรุกติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง และยูเลีย ซาลิง บุตรีผู้มาจากตระกูลชาวยิวที่มีหน้ามีตาและมีความเกี่ยวดองกับช่างอัญมณีประจำราชสำนัก ฟ็อน ไฮเซอ ศึกษาภาษาคลาสสิกในเบอร์ลิน และย้ายไปบ็อนเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะและภาษากลุ่มโรมานซ์ หลังจากนั้นก็แปลงานกวีนิพนธ์ของกวีอิตาลีหลายคน และเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายที่ได้รับการตีพิมพ์หลายเรื่อง แต่เรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเรื่อง คินเดอร์แดร์เว็ลท์ ("ยุวชนของโลก", ค.ศ. 1873) ในเบอร์ลิน ฟ็อน ไฮเซอ เป็นสมาชิกของสมาคมกวี ทุนเนิลอือเบอร์แดร์ชเปร ("อุโมงค์ข้ามแม่น้ำชเปร") และในมิวนิกก็เป็นสมาชิกของสมาคมกวี ดีโครโคดีเลอ ("เจ้าจระเข้") พร้อมกับเอมานูเอล ไกเบิล ฟ็อน ไฮเซอ เขียนหนังสือ กวีนิพนธ์ และบทละครราว 60 เรื่อง ผลงานจำนวนมากทำให้ฟ็อน ไฮเซอ กลายเป็นผู้นำในบรรดานักวิชาการหรือปัญญาชนเยอรมัน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1910 ในฐานะ
เวียร์เซิน ผู้ตัดสินคนหนึ่งของคณะกรรมการโนเบล กล่าวว่า "เยอรมนีไม่มีอัจฉริยะทางด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่เกอเทอ" อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|