Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ย่านพระโขนง

ย่านพระโขนง
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พระโขนง และพื้นที่โดยรอบของย่าน

ย่านพระโขนง เป็นย่านบนถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ในอดีตเป็นตลาดริมน้ำ ต่อมาพัฒนาเป็นตลาดบก และเคยเป็นย่านที่รุ่งเรืองมากเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2519–2530 ปัจจุบันย่านพระโขนงกลับมาฟื้นฟูพัฒนาอีกครั้ง หลังสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เกิดคอนโดมีเนียมทำให้คนย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น

ประวัติ

ตลาดริมคลอง

เมื่อ พ.ศ. 2400 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองถนนตรง (ถนนพระรามที่ 4 ในปัจจุบัน) เชื่อมต่อบางนากับคลองผดุงกรุงเกษม ทำให้เกิดย่านการค้าบริเวณปากคลองถนนตรง หรือย่านพระโขนงในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นตลาดริมน้ำ มีตลาดสดตั้งอยู่ริมคลอง ผู้คนในตลาดเป็นคนไทยเชื้อสายจีน มีโรงเรียนจีนเป็นสถานศึกษา มีศาลเจ้าแม่ทับทิม พื้นที่รอบ ๆ ย่านพระโขนงเป็นที่สวนของชุมชนมุสลิมซึ่งตั้งรกรากมานานจนถึงปัจจุบัน[1]

ตัดถนนสุขุมวิท

ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิท จึงได้พัฒนาจากตลาดน้ำมาเป็นตลาดบก โดยคลองที่มีอยู่ถูกถมทำเป็นถนนหลายคลอง เรือนแถวไม้และโรงเรียนจีนก็ถูกปิดไป สร้างเป็นตึกแถวแทน พัฒนาเป็นศูนย์กลางบันเทิง ศูนย์กลางแฟชั่น และศูนย์กลางเครื่องใช้ไฟฟ้า

ย่านพระโขนงเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2519–2530 เคยรุ่งเรืองมาก[2] มีโรงเรียนสอนตัดเสื้อและเสริมสวย ห้างขายเครื่องใช้ไฟฟ้าเอดิสัน และมีห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ได้แก่ ห้างเวลโก้ ห้างอาเชี่ยน ห้างเอดิสัน[3] ห้างไทยไดมารู มีเมืองนีออน[4] มีโรงภาพยนตร์ชื่อดังถึง 6 แห่ง อย่าง พระโขนงเธียเตอร์ (บางข้อมูลระบุว่าเคยเป็นโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จุคนได้ถึง 2,000–3,000 ที่นั่ง) พระโขนงรามา โรงหนังเอเชีย เจ้าพระยาเธียเตอร์ ฮอลิเดย์ และลอนดอน[5] จนเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อ พ.ศ. 2526 ส่งผลทำให้เกิดการย้ายออกเป็นจำนวนมาก กิจการโรงหนังชั้นสองปิดตัว

ปัจจุบัน

ปัจจุบันย่านพระโขนงกลับมาฟื้นฟูพัฒนาอีกครั้ง เมื่อสถานีพระโขนง ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เปิดให้บริการ เกิดคอนโดมีเนียมทำให้คนย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น มีทั้งออฟฟิศทำงานสร้างสรรค์ คอมมูนิตี้มอลล์ที่เป็นพื้นที่สนับสนุนการทำงาน เช่น ซัมเมอร์ฮิลล์ ซัมเมอร์ฮับ และดับเบิลยู ดิสทริค[6] รวมถึงมี ตลาดสดพระโขนง หรือรู้จักกันในนาม ตลาดแสงทิพย์ ที่เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2503 แต่เดิมตลาดพระโขนงตั้งอยู่ในเขตพระโขนง ต่อมามีการแบ่งเขตการปกครองใหม่ทำให้ตลาดแห่งนี้มีพื้นที่อยู่ในเขตวัฒนา เจ้าของคือทายาทตระกูลตาปนานนท์ ตลาดพระโขนงยังประกอบด้วย ตลาดรุ่งอรุณ เจ้าของตลาดคือนายธัชชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ตลาดพระโขนงมีสินค้าขายปลีกและส่งประกอบด้วยอาหารสด อาหารแห้ง สินค้าอุปโภคบริโภค ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงภายในตลาดแห่งนี้ อาทิ ร้านข้าวหน้าเป็ด ร้านกาแฟโบราณ ร้านโรตีสายไหม ร้านขนมจีนแม่ชวน ฯลฯ[7]

หลัง พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ย่านตลาดพระโขนงได้กลายเป็นแหล่งชุมชนของชาวต่างชาติหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวเนปาล พม่า ไทใหญ่ กะเหรี่ยง ที่เข้ามาอยู่อาศัย ทำงานรับจ้างและค้าขาย โดยสัดส่วนประชากรพม่ามากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ[8]

กรรมสิทธิ์ที่ดิน

จากข้อมูลของสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 ย่านพระโขนงถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยเอกชนทั้งรายย่อยและรายใหญ่ 780 ราย แบ่งเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินรายใหญ่ 40 ราย และรายย่อย 740 ราย ถือกรรมสิทธิ์โดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์บริเวณใต้สะพานพระโขนง[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 พรนภา พรพันธุ์ไพบูลย์. "การฟื้นฟูย่านตลาดพระโขนง" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
  2. "หวนอดีต…คิดถึงอนาคต…ที่พระโขนง กับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น".
  3. "หวนอดีต...คิดถึงอนาคต...ที่พระโขนง กับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น | propholic.com propholic.com". 2018-09-26.
  4. รอเเย๊ะส์, อับดุล (2023-08-31). "ภาพในอดีตถนนสุขุมวิท บริเวณ เชิงสะพานพระโขนง พ.ศ 2523". Postjung.com.
  5. ""พระโขนง" จากเสน่ห์วันวานสู่ย่านศิลป์ร่วมสมัย".
  6. "สถานีพระโขนง ทำเลอยู่อาศัยที่ไม่ควรมองข้าม". realist.
  7. "แหล่งวัฒนธรรม คหกรรมศิลป์ เขตวัฒนา: ตลาดพระโขนง". โครงการจัดทำแผนที่แหล่งวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีชีวิต เขตวัฒนา.
  8. "ส่องย่านลิตเติ้ลเมียนมาใจกลางกรุงเทพฯ". วอยซ์.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9