นิวอัมสเตอร์ดัม (จังหวัดสมุทรปราการ)
นิวอัมสเตอร์ดัม (อังกฤษ: New Amsterdam) ในอดีตเคยเป็นสถานีการค้าของชาวฮอลันดาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นคลังสินค้าและท่าเรือขนถ่ายสินค้า ปัจจุบันตั้งอยู่ใน หมู่ 1 ซอยสุขสวัสดิ์ 55 ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สภาพในปัจจุบันไม่หลงเหลือสิ่งก่อสร้าง เป็นที่อยู่อาศัย[1] ประวัติชาวฮอลันดาได้เข้ามาค้าขายกับไทยในสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ พ่อค้าที่มีความดีความชอบกับทางราชการแผ่นดินหลายอย่าง สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณเหนือคลองปลากด ใช้เป็นที่ตั้งคลังสินค้าและเป็นที่อาศัยของเจ้าหน้าที่เป็นสถานที่งดงามและมีเครื่องใช้ที่จําเป็นและทันสมัย จนถึงกับมีการยกย่องในหมู่ชาวฮอลันดาว่าเป็นเมือง "นิวอัมสเตอร์ดัม" (New Amsterdam)[2] มีบันทึกที่กล่าวถึงนิวอัมสเตอร์ดัมของชาวต่างประเทศหลายรายที่เดินทางเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น โยส เซาเตน กล่าวว่า
[3] เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ นายแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งเข้ามากรุงศรีอยุธยากับคณะทูตฮอลันดาใน พ.ศ. 2223 ในสมัยพระเพทราชา ได้บันทึกถึงช่วงมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ว่า
[4] บันทึกการเดินทางของเรือดีไลต์ โดย กัปตันจอห์น สมิท ในภารกิจของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีนว่า
[4] บันทึกของคณะสงฆ์ไทยที่เดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปลังกาทวีปใน พ.ศ. 2294 สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้บันทึกไว้ว่า
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ทั้งเมืองสมุทรปราการและเมืองนิวอัมส์เตอร์ดัมได้ถูกกองทัพพม่าทำลาย จนไม่มีผู้อาศัย ในสมัยกรุงธนบุรีมีการรื้ออิฐจากนิวอัมสเตอร์ดัมที่ถูกทิ้งร้างมาสร้างกรุงธนบุรี อีกทั้งบริเวณนั้นก็เป็นคุ้งน้ำเจ้าพระยาที่ถูกน้ำพุ่งเซาะ ตลิ่งพังลงน้ำไปทุกปี ตึกวิลันดาและนิวอัมสเตอร์ดัมก็คงจมลงไปอยู่ก้นแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ไม่เหลือร่องรอยไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นแล้ว เฮนรี เบอร์นี ทูตอังกฤษที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้กล่าวว่า ตึกวิลันดาที่บางปลากดได้พังทลายลงน้ำ[5] จากการสำรวจบ้างก็คาดว่าคงอยู่แถวบริษัทกระจกไทยอาซาฮี ที่ปากคลองบางปลากด[4] อาคารจากการศึกษาเปรียบเทียบกับสภาพของสถานีการค้าของฮอลันดาที่พระนครศรีอยุธยาที่สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง อาคารเหล่านี้ประกอบด้วยโรงเก็บสินค้า ห้องอยู่อาศัย ห้องโถงต่าง ๆ และหอสังเกตการณ์เดินเรือ สภาพของสถานีสินค้าของฮอลันดาบริเวณปากน้ำจึงไม่น่าจะต่างกันมากมายนัก[6] จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) อัครมหาเสนาบดีผู้รับใช้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ ได้กีดกันการค้าของฮอลันดาจนต้องย้ายฐานออกไปจากกรุงสยามไปพักหนึ่ง ภายหลังเมื่อการค้ากับเมืองสยามลดน้อยลงจึงทอดทิ้งคลังสินค้าและชุมชนบริเวณนี้ไป จนปัจจุบันไม่พบร่องรอยหลักฐานหลงเหลืออยู่[7] จากบันทึกของเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ บันทึกไว้ด้วยว่า โกดังสินค้าและสำนักงานของนิวอัมสเตอร์ดัมนี้สร้างด้วยไม้ไผ่ แต่ในบันทึกของคณะสงฆ์ในอีก 61 ปีต่อมา บอกว่าเป็นตึกวิลันดา จึงสันนิษฐานว่าคงสร้างเป็นอาคารถาวรภายหลัง[4] อ้างอิง
|