กลุ่มงูเห่ากลุ่มงูเห่า เป็นคำศัพท์ทางการเมือง สำหรับเรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ลงมติขัดแย้งกับมติของพรรคการเมืองต้นสังกัด เพื่อให้ได้ผลประโยชน์จากฝ่ายที่ลงคะแนนให้ หรือการไม่ย้ายพรรคตามสมาชิกส่วนมากภายหลังจากเกิดการยุบพรรค เป็นต้น โดยโอกาสที่จะเกิดกลุ่มงูเห่ามากที่สุดนั้น จะเกิดในช่วงรัฐบาลที่มีจำนวนเสียงในสภาระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่ห่างกันมากนัก หรือที่เรียกกันว่า "เสียงปริ่มน้ำ" กลุ่มงูเห่ามีที่มาจากคำเปรียบเปรยของสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทยในขณะนั้น ที่เปรียบตัวเองเป็นเหมือนชาวนาที่ถูกงูเห่ากัดในนิทานอีสป[1] ซึ่งในประวัติศาสตร์การเมือง มีกลุ่มงูเห่าอยู่หลายครั้ง ดังนี้ กลุ่มงูเห่าพรรคประชากรไทยเหตุการณ์เกิดขึ้น หลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ปลายปี พ.ศ. 2540 และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมมีมติจะสนับสนุนให้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมตรีแทน ด้วยเสียงของพรรคความหวังใหม่ (125 เสียง) พรรคชาติพัฒนา (52 เสียง) พรรคประชากรไทย (18 เสียง) และ พรรคมวลชน (2 เสียง) รวม 197 เสียง ขณะที่พรรคฝ่ายค้านเดิม นำโดย พรรคประชาธิปัตย์ (123 เสียง) ต้องการสนับสนุนให้ชวน หลีกภัย โดยร่วมกับ พรรคชาติไทย (39 เสียง) พรรคเอกภาพ (8 เสียง) พรรคพลังธรรม (1 เสียง) พรรคไท (1 เสียง) และพรรคร่วมรัฐบาลสมัย พล.อ.ชวลิต 2 พรรค ได้แก่ พรรคกิจสังคม (20 เสียง) และ พรรคเสรีธรรม (4 คน) รวมได้ 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเดิม อยู่เพียง 1 เสียง พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงได้ชักชวน สส.กลุ่มปากน้ำ ของวัฒนา อัศวเหม จากพรรคประชากรไทย จำนวน 13 คนเข้ามาสนับสนุน รวมเป็น 209 เสียง และทำให้ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเดิม เหลือเพียง 184 เสียง ทำให้ ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย เนื่องจากสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย มีมติพรรคไม่ให้กลุ่มของวัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้สมัครที่เดิมเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล กลับต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน โดยเหลือ สส. ในสังกัดเพียง 4 คน หากไม่นับตัวเอง คือ สุมิตร สุนทรเวช น้องชายของสมัคร, ลลิตา ฤกษ์สำราญ, ห้างทอง ธรรมวัฒนะ และ สนิท กุลเจริญ อย่างไรก็ดี หลังจากมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ซึ่งเป็น 1 ในสมาชิกที่สนับสนุนชวน ก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง สส. ทันที หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ตนเองเป็นเหมือน ชาวนา ในนิทานอีสป เรื่อง "ชาวนากับงูเห่า" ที่เก็บงูเห่าที่กำลังจะตายจากความหนาวเย็น มาไว้ในอกเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่น แต่ต่อมา งูเห่า นั้นก็ฉกชาวนาตาย ซึ่งสมัครเปรียบเทียบงูเห่า กับแกนนำของ สส. ทั้ง 12 คน โดยเฉพาะ สส. กลุ่มปากน้ำ ของวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเดิมสังกัดพรรคชาติไทย แต่หลังจากมีความขัดแย้งกับ บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค จึงไม่มีพรรรคสังกัด จนในที่สุดมาเข้าสังกัด พรรคประชากรไทยที่มีสมัครเป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาก็มีการกระทำ ที่ขัดต่อมติพรรคดังกล่าว ทำให้ต่อมา สื่อมวลชนเรียก สส. 12 คนนี้ตามคำพูดของสมัครว่า "กลุ่มงูเห่า" อยู่เป็นเวลานาน ต่อมาพรรคประชากรไทยตอบโต้โดยมีมติขับสมาชิกกลุ่มนี้ออกจากพรรค ซึ่งจะส่งผลให้สิ้นสภาพ สส. และกลุ่มงูเห่าได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตัดสินว่าการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามมติพรรคหรือไม่ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัย ที่ 1/2542 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ว่า สมาชิกภาพของกลุ่มงูเห่าไม่ได้สิ้นสุดลง เนื่องจาก สส. มีความเป็นอิสระ ที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามมติพรรค และมติขับไล่ออกจากพรรคเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ สส. ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ สส. ทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และสามารถหาพรรคใหม่สังกัดได้ โดยต่อมากลุ่มนี้ได้ย้ายไปสังกัดพรรคราษฎร (ต่อมาคือพรรคมหาชน) หลังพรรคประชาธิปัตย์ จัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ แกนนำกลุ่ม สส. ดังกล่าวได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชวน หลีกภัย 4 ตำแหน่ง คือ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, วัฒนา อัศวเหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, ประกอบ สังข์โต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และ ยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเวลาต่อมา วัฒนา อัศวเหม แกนนำกลุ่มงูเห่า ถูกดำเนินการตรวจสอบ กรณีพัวพันกับการทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน สมาชิกกลุ่มงูเห่า 13 คนย้ายไปสังกัดพรรคราษฎร
ย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา
ย้ายไปสังกัดพรรคเสรีธรรมลาออกทันทีหลังแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
กลุ่มงูเห่าพรรคพลังประชาชน (กลุ่มเพื่อนเนวิน)ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 หลังจาก สมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งใหม่ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 โดยมีความขัดแย้งกันระหว่างการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดย เนวิน ชิดชอบ ต้องการเสนอชื่อสมัคร สุนทรเวชอีกครั้ง แต่คนในพรรคกลุ่มหนึ่งต้องการเสนอชื่อ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แทน สุดท้ายผู้ที่ถูกเสนอชื่อก็เป็นสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนเมื่อการยุบพรรคพลังประชาชน เนวิน ชิดชอบจึงนำ สส. กลุ่มเพื่อนเนวิน ทั้ง 23 คน ย้ายไปรวมกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย ตั้งพรรคภูมิใจไทยขึ้น และลงมติเลือกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนเกิดวลีทางการเมืองขึ้นมาว่า "มันจบแล้วครับนาย"[1][3] สมาชิกกลุ่มงูเห่า 24 คน
กลุ่มงูเห่าพรรคอนาคตใหม่กลุ่มงูเห่าของพรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้นในช่วงแรก เนื่องจากมี สส.ในพรรคลงมติในสภาสวนกับมติของพรรคอยู่หลายครั้ง จึงเป็นเหตุให้ถูกขับออกจากพรรค โดยระยะแรกมี 4 คน ดังนี้
ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ก็มีกลุ่ม สส.ที่ไม่ได้ย้ายตามพรรคไปยังพรรคก้าวไกล และไปสังกัดพรรคร่วมรัฐบาลแทน[4]
โดยคนที่ 1 - 8 ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ส่วนคนที่ 9 ย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคภูมิใจไทย และพรรครวมไทยสร้างชาติตามลำดับ และคนที่ 10 ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา กลุ่มงูเห่าพรรคก้าวไกลหลังจากย้ายมาจากพรรคอนาคตใหม่ ก็เกิดเหตุงูเห่าขึ้นอีก หลังลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีอนุทิน ชาญวีรกูล และ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในการลงอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ภายหลังการลงมติในครั้งนั้นได้มี สส. ที่มีพฤติกรรมงูเห่าเพิ่มอีกหนึ่งคนคือ เกษมสันต์ มีทิพย์ สส. บัญชีรายชื่อ โดยพรรคมีมติลงโทษห้ามร่วมงานทุกกิจกรรมของพรรค โดยไม่มีการขับออกแบบกลุ่มงูเห่าพรรคอนาคตใหม่ก่อนหน้านี้[5] ต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยทั้งหมด กลุ่มงูเห่าพรรคเพื่อไทยพรรคเพื่อไทยมีมติขับ สส.ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค 2 ราย[6] ได้แก่
กลุ่มงูเห่าพรรคประชาธิปัตย์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2566 รอบที่ 3 มี สส. ของพรรคประชาธิปัตย์จำนวน 16 คน ลงมติ "เห็นชอบ" ให้เศรษฐา ทวีสิน บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อจากพรรคเพื่อไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งสวนทางกับมติพรรคที่ให้งดออกเสียง และ/หรือ ไม่เห็นชอบ ดังนี้[7]
กลุ่มงูเห่าพรรคไทยสร้างไทยในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567 เพื่อลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มี สส. ของพรรคไทยสร้างไทยจำนวน 3 คน ลงมติ "รับหลักการ" ร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งสวนกับมติของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ให้ลงมติ "ไม่รับหลักการ" ดังนี้[8]
ส่งผลให้ในวันถัดมา (6 มกราคม) ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการพรรคในขณะนั้น ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบ โดยมีผลทันที[9] อย่างไรก็ตาม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แทนเศรษฐา ทวีสิน ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอน ผลปรากฏว่า สส. พรรคไทยสร้างไทยทั้งหมดซึ่งมี 6 คน ลงมติ "เห็นชอบ" ให้แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสวนกับมติของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ให้ลงมติ "งดออกเสียง" หรือ "ไม่เห็นชอบ" ในเวลาต่อมา ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตัวเองและ ส.ส. อีก 5 คนที่โหวตให้แพทองธารนั้นไม่ใช่งูเห่าแต่ที่โหวตให้ก็เพราะประเทศต้องมีนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ พร้อมกับประกาศว่าพรรคไทยสร้างไทยยังเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านเหมือนเดิม[10] แต่ในเวลาต่อมา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทยได้ทำการเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อพิจารณาการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าว[11] และเมื่อเวลา 16:30 น. คุณหญิงสุดารัตน์ได้แถลงข่าวขอโทษประชาชนและพรรคร่วมฝ่ายค้าน รวมถึงแถลงมติของกรรมการบริหารพรรค โดยให้คณะกรรมการจริยธรรมของพรรคสอบสวนการกระทำของทั้ง 6 คน และมีข้อสรุปในเบื้องต้นว่าจะไม่ให้ดำรงตำแหน่งในสัดส่วนของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร จนกว่าผลสอบสวนจะแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการวินัยและจริยธรรมของพรรคไทยสร้างไทยมีมติให้ขับ สุภาพร สลับศรี สส.ยโสธร ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค เนื่องจากโหวตสวนมติพรรคและฝ่าฝืนอุดมการณ์พรรคหลายครั้ง[12] อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติขับออกจากพรรคอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด อ้างอิง
|