ถนนนิตโย
ถนนนิตโย หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 สายอุดรธานี–นครพนม เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก เชื่อมต่อจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนมเข้าด้วยกัน โดยชื่อ“นิตโย”ได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายโสภณ นิตตะโย อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางชุมแพ โดยมีระยะทางรวมประมาณ 240.746 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 15 รายละเอียดของเส้นทางถนนนิตโยเริ่มจากบริเวณห้าแยกวงเวียนน้ำพุ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนทหาร ถนนอุดรดุษฎี ถนนอดุลยเดช และถนนโพศรีทั้งฝั่งทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของวงเวียน (ถนนทหาร และถนนอุดรดุษฎี เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีเส้นทางไปทางทิศตะวันออก ในช่วงแรกมีชื่อว่าถนนโพศรี และเปลี่ยนเป็นชื่อถนนนิตโยเมื่อข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเทศบาลตำบลหนองบัวในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ผ่านอำเภอหนองหาน อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง และเข้าสู่เขตจังหวัดสกลนครที่อำเภอสว่างแดนดิน ผ่านอำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมืองสกลนคร เทศบาลตำบลท่าแร่ อำเภอกุสุมาลย์ และเข้าสู่เขตจังหวัดนครพนมที่อำเภอเมืองนครพนมไปบรรจบเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ถนนสุนทรวิจิตร) ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 240.746 กิโลเมตร ถนนนิตโยเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-ธาตุนาเวง-นครพนม"[1] ได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายโสภณ นิตตะโย อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางชุมแพ[1] แต่เดิมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรเท่านั้น โดยได้เริ่มขยายเป็น 4 ช่องจราจรในช่วงอำเภอเมืองอุดรธานีถึงอำเภอหนองหาน, อำเภอพรรณานิคมถึงบ้านท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร และช่วงท่าอากาศยานนครพนมถึงอำเภอเมืองนครพนม ต่อมาช่วงอำเภอพังโคนถึงอำเภอพรรณานิคมได้รับการขยายเป็นช่วงแรก และช่วงอำเภอหนองหานถึงอำเภอพังโคน และช่วงบ้านท่าแร่ถึงท่าอากาศยานนครพนมได้รับการขยายจนแล้วเสร็จตลอดสายในปี พ.ศ. 2564[2] รายชื่อทางแยก
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|