การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 [2][3][4] ด้านเศรษฐกิจวันที่ 2 ตุลาคม 2557 หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสามเดือนแรก ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2557 ใช้เงินทั้งสิ้น 364,465.4 ล้านบาท ได้แก่ 1. การเร่งใช้เงินลงทุนของปีงบประมาณ 2557 ที่ค้างอยู่ 147,050 ล้านบาท เพื่อสร้างงาน 2. เร่งรัดทำสัญญาจ้างรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ 2558 ทั้งสิ้น 449,475 ล้านบาท เฉพาะในไตรมาสแรกของปีงบประมาณนี้ 149,146 ล้านบาท 3. เป็นมาตรการเร่งลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยใช้งบจากโครงการไทยเข้มแข็งและงบกลางสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินปี 2555-2557 ที่ยังไม่ได้จัดสรรรวม 23,000 ล้านบาท โดยเน้นการซ่อม สร้าง มากกว่าที่สนองตอบความต้องการของประชาชนจริง ๆ 4. ทบทวนเงินที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี 2548-2556 วงเงิน 24,900 ล้านบาท ให้แต่ละกระทรวงหาวิธีใช้จ่ายเอง หากไม่รู้ให้คืนมาส่วนกลางเพื่อจะเอาไปใช้ในไตรมาสต่อไป และ 5. ช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้ชาวนา วงเงิน 40,000 ล้านบาท โดยจะแจกเงินให้ชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ในปีนี้ ส่วนปีต่อไปให้เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว เงินที่ให้จะใช้สภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายไปก่อน แล้วรัฐบาลจะตั้งงบชดเชยให้ในปีหน้า รองนายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า "ที่รัฐบาลใช้เงินรอบนี้ 40,000 ล้านบาท ก็ดีกว่าไปขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวปีละ 250,000 ล้านบาท และทำแค่ปีเดียวเท่านั้น ไม่เรียกว่าเป็นโครงการประชานิยม เพราะไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง ตอนนี้ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ"[5] วันที่ 21 ตุลาคม 2557 พลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยอาจมีวงเงินสูงกว่า 2 ล้านล้านบาท และกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาขยายเวลาจาก 8 ปีเป็น 10 ปี[6] วันที่ 29 เมษายน 2558 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2558 รัฐบาลจัดตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย วันที่ 11 กันยายน 2558 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 27/2558 รัฐบาลจัดตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน วันที่ 15 กุมภาพันธุ์ 2559 รัฐบาลให้อำนาจ สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ [7]ตาม ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ 2559 โดยอ้างว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยประสบปัญหาการชะลอตัว วันที่ 22 มีนาคม 2559 คณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับเพดานสูงสุดของเงินเดือนทหารและตำรวจ เฉลี่ยคนละ 400-1,300 บาทต่อเดือน ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 โดยพลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของอัตราเงินเดือนจากการปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน[8] วันที่ 6 ตุลาคม 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 61/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาบุคลากรด้านการบิน ขยายอายุเกษียณนักบินเป็น 65 ปี วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 65/2559 เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม [9] รัฐบาลยังออกมาตรฐานช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อปี โดยให้บุคคลดังกล่าวมาลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อรับเงินช่วยเหลือจากรัฐเรียกว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ[10]และเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในบางจังหวัดสูงสุดเป็น 310 บาทต่อวัน ใน 7 จังหวัด[11] โครงการไทยนิยม ยั่งยืนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน มีเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต่าง ๆ มีการจัดชุดปฏิบัติงานมากกว่า 7,000 ชุด ดำเนินงานในทุกตำบล/เขต ของประเทศ โดยแต่ละชุดจะมีส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวม 7 - 12 คน (ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 21/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ)[12] โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ มีงบประมาณในการดำเนินการ 2,000 ล้านบาท[13] โดยทีมขับเคลื่อนจะลงพื้นที่ทั้งหมด 4 ครั้ง[14] หลังจากการประชุมชี้แจงแนวทางให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และวิทยากรระดับจังหวัด รวม 2,800 คน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน[15] ซึ่งโครงการมีกรอบงานที่สำคัญ 10 เรื่อง[16] คือ
มีการจัดตั้งสายด่วน "สายตรง ไทยนิยม" หมายเลข 1567 และ 1111 ทำงาน 24 ชั่วโมง เพื่อรับคำร้องเรียน ร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ และกระจายข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ โครงการดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าเป็นการหาเสียงปูทางก่อนเลือกตั้ง แต่รัฐบาลปฏิเสธ[14] ทางการทูตวันที่ 30 กันยายน 2557 มีแหล่งข่าวทางทูตว่า ความปรารถนาชัดแจ้งและดิ้นรนที่จะได้การรับรองจากตะวันตกผลักดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสวงการให้สัญญาณเชิงสัญลักษณ์มากกว่าการริเริ่มที่มีแก่นสาร ความผิดหวังกับวิธีที่กองทัพจัดการการทูตหลังรัฐประหารยังมาจากผู้ที่คัดค้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บุคคลเหล่านั้นรู้สึกว่ากองทัพล้มเหลวในความพยายามให้ความเชื่อมั่นแก่ชุมชนระหว่างประเทศในการวางผังสิ่งที่ประเทศไทยมีแผนทำในปีสองปีข้างหน้า การเดินทางเยือนประเทศจีนอย่างใหญ่โต รวมทั้งสมาชิกครอบครัวที่นั่งเครื่องบินพิเศษไป ทำให้เห็นว่า กองทัพไทยขาดความรู้หรือความละเอียดอ่อนในการติดต่อกับโลก โดยการแสดงความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่า พลเอกธนะศักดิ์สามารถสัมผัสมือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา จอห์น เคอร์รี ที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติหรือที่การประชุมสหรัฐ-อาเซียนในสมัยประชุมสหประชาชาติ แหล่งข่าวว่า "ฉะนั้นเมื่อคุณเคอร์รีไม่แสดงท่าทีผิวเผินและสัมผัสมือกับพลเอกธนะศักดิ์ดังที่ฝ่ายไทยต้องการ จึงกลายเป็นประเด็น เรากำลังเสียหน้า" แหล่งข่าวกระทรวงการต่างประเทศอีกแหล่งหนึ่งว่า พลเอกธนะศักดิ์พาดพิง "ประชาธิปไตย" 13 ครั้งในสุนทรพจน์เขา ขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามาพาดพิงเจ็ดครั้ง และนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด แคเมอรอนพาดพิง 10 ครั้ง การอ้างถึงประชาธิปไตยบ่อยครั้งกลายเป็นเรื่องขบขันในบรรดาสมาชิกชุมชนทางทูต ข้าราชการว่า "โชคดีที่ไม่มีคนไทยประท้วงต่อต้านรัฐประหารระหว่างพลเอกธนะศักดิ์อยู่ในนิวยอร์ก หาไม่แล้วคงเป็นเหตุการณ์น่าอดสูอย่างแท้จริง" วัลเดน เบลโล (Walden Bello) รองประธานสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน ว่า "พลเอกพูดถึงความจำเป็นสำหรับ "การเคารพหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม" โดยชัดเจนว่าไม่ตระหนักถึงการแฝงนัยลึก เหล่านี้เป็นสิ่งที่ระบอบทหารและผู้สนับสนุนในประเทศไทยเพิกเฉยและทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อบั่นทอนทำลายเป็นเวลาแปดปีมาแล้ว"[17] วันที่ 1 ตุลาคม 2557 คณะรัฐมนตรีอนุมัติเห็นชอบดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 2141 (ปี 2557) เกี่ยวกับการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือและคณะผู้เชี่ยวชาญภายใต้คณะกรรมการคว่ำบาตร[18] วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประณามไทยที่ส่งตัวผู้คัดค้านรัฐบาลจีนสองคนซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนแล้วกลับประเทศด้วยเหตุว่าไม่มีวีซา ทั้งสองมีกำหนดส่งตัวไปยังประเทศที่สามในอีกไม่กี่วันให้หลัง มีรายงานว่า หนึ่งในสองคนนี้ถูกจับและทรมาน[19] ด้านสิทธิมนุษยชน
รัฐบาลมีนโยบายจำกัดการแสดงออกทางการเมืองของทุกฝ่ายโดยใช้กฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2559 ประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติภายใต้ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 การแสดงออกทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์ ถือเป็นยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 การแสดงออกทางการเมืองมักมีความเห็นจากรัฐบาลว่า "มีเจตนาไม่บริสุทธิ์แอบแฝงทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยที่สูญเสียอำนาจ"[20]ข้อหาดังกล่าวต้องขึ้นศาลทหาร รวมถึงถูกตั้งข้อหาตามความผิดฐานขัดคำสั่งหรือประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และมักมีการแจ้งข้อหา ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพิ่มเติม การจับกุมและเรียกรายงานตัวส่วนใหญ่เน้นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พรรคเพื่อไทย จอน อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ นักวิชาการกลุ่ม สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย และผู้สนับสนุนคณะนิติราษฎร์ อาทิคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 และผู้ลงรายชื่อให้แก้กฎหมายดังกล่าว[21]เช่นเรียกรายงานตัว ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จับกุม ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน จับกุมบุคคลที่เรียกกลุ่มตัวเองว่า ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ บุคคลที่เจ้าหน้าที่สืบทราบและกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการละเมิดสถาบันกษัตริย์อาทิ นาย สิรภพ กรณ์อุรุษ[22] บุกรุกสำนักงานเว็บไซด์ประชาไท[23]รัฐบาลยังจัดตั้ง คณะกรรมการติดตามการป้องกันและปราบปรามกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการดังกล่าวประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559[24]โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการการหมิ่นสถาบันผ่านยูทูบและเฟซบุ๊ก[25]และจับกุมบุคคลที่หนีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่อยู่ต่างประเทศ อาทิกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่อยู่ต่างประเทศ รัฐบาลปิดกั้นเว็บไซด์ยูทูบ บางสถานีเช่น สถานีของ ดร.เสน่ห์ ถิ่นแสน ในเดือนตุลาคม 2559 ในเดือนเมษายน 2561 อัยการมีคำสั่งฟ้องบุคคล 41 ราย ในข้อหาขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเนื่องจากก่อการชุมนุมทางการเมือง คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ยังนับว่าเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกที่ ประกาศใช้กฎอัยการศึกยาวนานที่สุดในคณะรัฐมนตรีไทย นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 ยังเป็นคณะรัฐมนตรีที่ใช้ อำนาจตามประกาศ พรก. ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยาวนานที่สุดในคณะรัฐมนตรีไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศ (single gateway) เพื่อให้รัฐบาลสามารถสอดส่องทุกกิจกรรมออนไลน์ได้ โดยในเดือนสิงหาคม 2558 ได้ปรากฏเอกสารข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้ง single gateway โดยอ้างเหตุผลว่า "เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ต"[26] ประเด็นสำคัญหนึ่งที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาจต้องจัดการ คือ การเข้ารหัสลับ โดยการเข้ารหัสอาจทำให้รัฐบาลไม่สามารถเฝ้าสังเกตการไหลเข้าออกประเทศของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต แปลว่าประเทศไทยอาจสั่งห้ามการเข้ารหัสลับ ร่วมกับอุปกรณ์อำพรางอย่างเครือข่ายส่วนตัวเสมือนและทอร์[27] ในเดือนต่อมา นโยบายดังกล่าวได้รับการต่อต้านอย่างหนัก เนื่องจากเป็นการริดรอนสิทธิมนุษยชนและจะก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในวันที่ 30 กันยายน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศจำนวนมากได้เข้าโจมตีระบบเว็บไซต์ของทางราชการในรูปแบบ DDos จน 7 เว็บไซต์จนไม่สามารถใช้การได้เพื่อเป็นการประท้วง[28] อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้จัดตั้ง คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม[29]ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น ประธานคณะกรรมการ สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนดูเพิ่มที่ สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีการจับกุมบุคคลด้วยข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 44/2557 48/2557 49/2557 53/2557 และ 58/2557[30] เรียกบุคคลต้องสงสัยเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวให้มารายงานตัว[31] รัฐบาลแถลงว่า การดำเนินการของรัฐบาลภายใต้คดีที่นำขึ้นศาลทหารนั้นส่วนใหญ่ได้รับการประกันตัว[32] หรือได้รับประกันตัวในวงเงินประกันที่สูงมาก[33]พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ภายใต้รัฐบาลคณะนี้ คนไทย ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพถือว่าเป็นศัตรูกับรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[34]และจะถูกจับกุมดำเนินคดีในศาลทหาร โดยภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 มีผู้ถูกจำคุกในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยที่ระบุได้จำนวน 75 ราย ซึ่งเรื่องนี้นักวิชาการส่วนหนึ่งแสดงความไม่เห็นด้วยในการเพิ่มโทษในความผิดนี้ โดยเพิ่มความผิดฐานความผิดฐานขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้กับคนที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในอินเตอร์เน็ทที่ไม่มารายงานตัว รวมถึงการขึ้นศาลทหาร ในวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้สั่งลงโทษ จำคุก นาย จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน สื่อรายงานว่าเขาจำคุกเพราะการแชร์บทความของ บีบีซีไทย ที่เกี่ยวกับพระราชประวัติ [35]อย่างไรก็ตามไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นสาเหตุดังกล่าวเนื่องจากการตัดสินนั้นเป็นการพิจารณาคดีลับ ต่อมาได้มีการยกเลิกขึ้นศาลทหารตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2559[36] รัฐบาลโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกประกาศ คำสั่ง และ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวนมาก ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวม 211 ฉบับ โดยให้บังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560 กรณี นาย สมบัติ บุญงามอนงค์ ฝ่าฝืน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติว่า มีโทษ จำคุก 2 เดือน ปรับ 3000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา[37] ซึ่งเป็นหลักฐานว่าศาลฎีกาไทยยอมรับว่า ประกาศ คำสั่ง และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติว่าเป็นกฎหมาย จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จำนวนผู้ที่ถูกตำรวจตั้งข้อหาเท่ากับ 661 ราย[38] โดยในจำนวนนี้ตำรวจกล่าวหาว่าทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 มาตรา 116 พระราชบัญญัติประชามติมาตรา 61 วรรค 2 ฝ่าฝืนประกาศ คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ การประหารชีวิตได้เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลนี้ โดยเกิดในวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ภายหลังไม่มีการประหารชีวิตนานถึง 9 ปี[39] คนไทยส่วนหนึ่งเดินทางออกนอกประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจำคุกโดยศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชนรายงานตัวเลขผู้ลี้ภัยไปต่างประเทศรวม 23 ราย[40] อย่างไรก็ตามในวันที่ 8 มกราคม 2562 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านการประมง โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ให้ ใบเขียว กับประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม[41] ด้านสาธารณสุขกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ราย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ้นสภาพจากตำแหน่ง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่งตั้ง นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2559 หลังจากนั้นมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แต่งตั้ง ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ เป็นผู้จัดการกองทุน และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ราย[42]วันที่ 8 มีนาคม 2559 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ราย[43]และอนุมัติการลาออกของ นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ จากตำแหน่งรองประธานกรรมการคนที่สอง[44] พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้คนพิการที่ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถเลือกใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพทั่วหน้าหรือสิทธิประกันสังคมอย่างใดอย่างหนึ่งได้[45] คณะรัฐมนตรีมีแนวคิดให้ข้าราชการนั้นใช้ประกันสุขภาพของบริษัทเอกชน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของกรมบัญชีกลาง[46] เศรษฐกิจวันที่ 2 ตุลาคม 2557 พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ฝ่ายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการแจกเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาทว่า "ผมไม่อยากให้รัฐบาลรังเกียจนโยบายประชานิยม อย่ามองว่าเป็นสิ่งไม่ดี เพราะสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ก็เป็นประชานิยม แต่เป็นประชานิยมแบบกล้า ๆ กลัว ๆ เพราะกลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่าทำนโยบายประชานิยม จึงทำให้การช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะชาวนาทำได้ไม่เต็มที่ เขายังคงเดือดร้อนอยู่ เพราะเงินที่ใส่ลงไปไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุนค้าใช้จ่ายในการทำนา"[47] รัฐบาลพยายามดำเนินการทางเศรษฐกิจโดยเน้นให้ประชาชนมีเงินมากขึ้นเพื่อที่จะกระตุ้นการใช้จ่าย อาทิการลดภาษีสำหรับบุคคลที่ท่องเที่ยวภายในประเทศ[48] นาย ไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวถึงตัวเลขส่งออกการส่งออกของไทยเดือนมกราคม 2559 ที่ ติดลบ 8.91% หรือมีมูลค่า 15,711 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 และมูลค่าต่ำสุดในรอบ 50 เดือน[49] ตลอดปี 2559 ส่งออกไทยเติบโต 0.45%[50]ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ในปี 2559 ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 30.19 ของจีดีพี โดยมาจาก ภาคการทำเหมืองแร่และการทำเหมืองถ่านหิน ร้อยละ 2.79 ของจีดีพี และ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 27.43 ของจีดีพี ในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยโต 3.9% อัตราภาวะเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 0.66 % โดยมีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีแบบขาดดุลงบประมาณมากถึง 552,921.7 ล้านบาทสูงสุดในรอบ 11 ปีการบริโภคภาคเอกชน ต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 48.8 การใช้จ่ายภาครัฐ ต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 22.4 การลงทุนภาคเอกชน ต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 17.2 การส่งออกสุทธิต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 13.5 อัตราหนี้ครัวเรือน ต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 77 ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นในรอบ 5 ปี หนี้ครัวเรือนประเทศไทยลดลงในรอบ 11 ปี[51]การส่งออกไทยตลอดปี 2560 เติบโตถึง 9.90 % สูงสุดในรอบ 6 ปี[52] แม้ตัวเลขทางเศรษฐกิจดูดีขึ้นแต่อัตราการว่างงานภายใต้รัฐบาลนี้กับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2557 อัตราการว่างงานของประเทศไทยเท่ากับ 0.8 และเพิ่มขึ้นใน ปี 2559 เป็นอัตราว่างงาน 0.9 และ 2560 อัตราว่างงานตลอดปีเท่ากับ 1.0[53]เดือน กรกฎาคม 2561 สำนักงานประกันสังคมรายงานตัวเลขผู้ว่างงานในระบบประกันสังคม ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชนและพนักงานมหาวิทยาลัยว่ามากถึง 194,180 คน สูงสุดตั้งแต่ เดือน มกราคม 2557 ด้วยสาเหตุที่ไม่แน่ชัด[54] ในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 รัฐบาลกลางสหรัฐ ปรับอันดับการค้ามนุษย์ของไทยจากเทียร์ 3 เป็น เทียร์ 2 ที่ต้องจับตา[55] ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ที่ประชุมใหญ่สมาชิกกลุ่มต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิกมีมติให้ ประเทศไทยจะไม่ถูกกำหนดอยู่ในรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านฟอกเงิน[56] ในวันที่ 6 ตุลาคม 2560 องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ได้ประกาศถอดประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน[57] ในวันที่ 8 ธันวาคม 2560 มีการเปิดเผยรายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาว โดยธนาคารโลกได้สะท้อนว่าประเทศไทยอยู่ในระดับที่พ้นจากความยากจนมาแล้ว[58] ในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 นาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นาย โรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (United States Trade Representatives: USTR) ได้ประกาศปรับสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) จากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็นบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL)[59]องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้เปิดเผยรายงานการประเมินผลดัชนีนวัตกรรมโลกประจำปี 2561 โดยประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับที่ 51 ในปีที่แล้ว มาเป็นอันดับที่ 44 ในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 สำนักงบประมาณรายงานว่ารัฐบาลขาดดุลงบประมาณ จำนวนเงินรวม 552,921.7 ล้านบาทสูงสุดในรอบ 11 ปี[60] ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ค่าเงินบาทไทยเปิดตลาดที่ 31.29 บาทต่อดอลลาห์ แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 4 ปี 3 เดือน[61] ในวันที่ 29 มิถุนายน 2561 รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ปรับอันดับการค้ามนุษย์ของไทยจากเทียร์ 2 ที่ต้องจับตา เป็น เทียร์ 2[62] ในวันที่ 5 ตุลาคม 2561 เวทีการประชุมภาคีอนุสัญญา ไซเตส ครั้งที่ 17 ประเทศไทยได้รับการพิจารณา ให้พ้นจากบัญชีดำลักลอบค้าช้างผิดกฎหมาย[63] ในวันที่ 8 มกราคม 2562 คณะกรรมาธิการยุโรป ให้ “ใบเขียว” หรือการถูกระบุว่า เป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม[64] ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2562 องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ได้รับรองมาตรฐานการบินของไทยว่าเท่าเทียบระดับสากล[65] ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 สถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ ไอเอ็มดี จัดความสามารถในการแข่งขันของไทย สูงสุดในรอบ 15 ปี อยู่ที่อันดับที่ 25 ของโลก [66]ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมูลค่าการซื้อขาย 204,855.67 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์[67] ความขัดแย้งในรัฐบาลเป็นทีทราบกันว่า หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล[68]มีความขัดแย้งกับ ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม สื่อมวลชนรายงานข่าวว่าเขาขู่หากไม่ปลดจะยกทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจออกทั้งหมดจนในที่สุดในการปรับคณะรัฐมนตรีมีการปรับหม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล ออกจากทุกตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี เขายังปรับคณะรัฐมนตรีในส่วนเศรษฐกิจใหม่ทั้งหมด[69]และให้ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เป็นปลัดกระทรวงพลังงานตามเดิม ภายหลังจากที่ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล พ้นจากตำแหน่งในรัฐบาลไป เขาและบุตรชาย หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล[70]ได้กล่าวโจมตีรัฐบาลในหลายครั้งหลายโอกาส[71] การสื่อสารมวลชนภายหลังที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติทำการรัฐประหาร สิทธิและเสรีภาพของสื่อสารมวลชนก็เริ่มถดถอยลง นายกรัฐมนตรีกล่าวหาว่าการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่ออย่างเกินขอบเขตและมากเกินไปโดยปราศจากความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ ก่อให้เกิดความขัดแย้งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยและกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน[72] สิ่งที่เกิดขึ้นในภายใต้การบริหารของคณะรัฐมนตรีคือ สื่อสิ่งพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ ต่างปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก[73] ขณะที่รัฐบาลเข้าบริหารประเทศซึ่งส่วนหนึ่งเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเทคโนโลยีสารสนเทศ บางเหตุการณ์เช่นสำนักพิมพ์บ้านเมืองถูกเผายังคงเป็นปริศนาที่ไม่มีคำตอบโดยตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นเหตุไฟฟ้าลัดวงจร[74]สถานีโทรทัศน์ที่ปิดตัวลงอาทิ มันนีแชนแนล รัฐบาลมีการสื่อสารที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการฟ้องร้องและจับกุมบุคคลที่หมิ่นสถาบันกษัตริย์ ทำให้สื่อมวลชนรวมถึงประชาชนทั่วไประมัดระวังอย่างมากในการนำเสนอเพราะมีโทษจำคุก ตัวอย่างเช่นตำรวจได้จับกุมบุคคลที่กระจายข่าวสารจากเฟซบุ๊ก ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวส่งผลให้ นาย ปณีต จิตต์นุกูลศิริ จำคุกในวันที่ 4 พฤษภาคม 2560[75] ภาพลักษณ์ของรัฐบาลเผด็จการทหารนั้น ได้ถูกทำให้ดูอ่อนลง พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้นำนักร้อง[76]และนักแสดงจำนวนมากเข้าพบหัวหน้าคณะรัฐประหารในฐานะนายกรัฐมนตรี สื่อมวลชนได้เรียกผู้นำเผด็จการทหารอย่างน่าเอ็นดูว่า "ลุงตู่"[77] การสื่อสารมวลชนได้ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดผ่านกสทช. ที่ทำการปิดสื่อเป็นระยะๆ[78] นับได้ว่าตั้งแต่ประเทศไทยมีการรัฐประหารมา 13 ครั้ง อาจกล่าวได้ว่านักข่าวและนักหนังสือพิมพ์ยอมให้กับอำนาจของรัฐบาลทหารอย่างมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในประเทศไทย เนื่องจากการรัฐประหารครั้งที่ผ่านๆมา ไม่เคยปรากฏมาก่อนที่สื่อมวลชนเรียกผู้นำในการยึดอำนาจว่า ลุง ซึ่งเป็นคำนับญาติที่หมายถึงพี่ชายของบิดา รัฐบาลพยายามที่จะปิดสื่อวิทยุชุมชน และก่อตั้งกลุ่มลูกเสือไซเบอร์เพื่อแทรกแซงการสื่อสารทางสื่อสังคมออนไลน์ โดย กองทัพบกเปิด ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559[79]รวมถึงการออก พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 ในปี 2561 รัฐบาลประกาศว่าจะสร้างนักรบไซเบอร์[80] ในขณะที่กิจการวิทยุอาสาสมัคร ได้เปิดเพลงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ เพลง ออลด์แลงไซน์ ที่แต่งใหม่ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยนำเด็กมาร้องเพลง ให้ชื่อเพลงว่า เพลงวันพรุ่งนี้ โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ใหญ่ละอายแก่ใจที่ไม่สามัคคีกันทั้ง ๆ ที่ ผู้ใหญ่ สอนให้เด็กสามัคคีกัน[81] โดยสรุปการสื่อสารมวลชนภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นมองว่าเด็ก ผู้ใหญ่ และประชาชน จำนวนหนึ่ง ไร้วุฒิภาวะ ไร้จิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ขาดระเบียบวินัย ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่รักชาติ รักสนุกมากเกินไป จนไม่รู้จักหน้าที่[82]ซึ่งไม่ได้มองว่า ทหารไทยเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการเมืองไทยหรือเป็นคู่ขัดแย้งในสังคมไทย ในขณะที่ประชาชนมองว่าทหารไทยเป็นคู่ขัดแย้งไม่ได้เป็นตัวเอกในหลายกรณีดังเช่นที่ พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ กล่าวเกี่ยว จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา ผู้ก่อเหตุ เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 ว่า วินาทีที่ลั่นไก เขาคืออาชญากร ไม่ใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว[83]ทั้งๆที่ จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา เป็นทหารบกมาหลายปี ความมั่นคงรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยอาศัยมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญ[84]จัดการแต่งตั้งผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ลงไปทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาซึ่งเรื่องนี้ถูกวิจารณ์ว่าไม่ต่างกับทักษิณ ชินวัตร ที่จัดตั้ง ครม.ส่วนหน้า อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นครั้งแรกที่ รัฐบาลแต่งตั้งให้น้องชายของ พลเอกธีรชัย นาควานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้แก่ พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 นับเป็นครั้งแรกที่น้องชายอดีตผู้บัญชาการทหารบกรับตำแหน่งรับผิดชอบ พื้นที่ที่เกิดปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ภายหลังที่เกิด เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 เหตุระเบิดที่จังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2560 เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562 การโจมตียะลา พ.ศ. 2562 เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 รัฐบาลถูกวิจารณ์ว่าบกพร่องด้านความมั่นคงเนื่องจากเป็นรัฐบาลทหารที่ไม่สามารถยับยั้งการก่อการร้ายในประเทศไทย ได้ การสืบทอดอำนาจในปี 2561 รัฐบาลได้แต่งตั้ง อดีตบุคคลสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังชล ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ นาย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สกลธี ภัททิยกุล สนธยา คุณปลื้ม และ อิทธิพล คุณปลื้ม บุคคลสำคัญของรัฐบาลอาทิ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางไปพบ เนวิน ชิดชอบ อนุทิน ชาญวีรกูล และ เมื่อถามพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่ามีความสนิทส่วนตัวกับนายเสนาะหรือไม่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ออกมาระบุว่าตนเองสนิทสนมกับ เสนาะ เทียนทอง[85] วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันค้ำจุนอำนาจของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติหมดอำนาจ[86] สมาชิกเกือบครึ่งมาจากองค์การตามรัฐธรรมนูญที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติจัดตั้งขึ้น (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 1 และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ทั้งยังมีอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคพลังประชารัฐ และเครือญาตินักการเมืองพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์[87] เชิงอรรถ
อ้างอิง
|