หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล
ร้อยตรี หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ชื่อเล่น ปลื้ม พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 และความรู้ความสามารถในการเป็นพิธีกร ทั้งเรื่องประเด็นข่าวเศรษฐกิจ และต่างประเทศอีกด้วย ประวัติหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล เกิดวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2519 เป็นบุตรชายของหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์และรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กับปอลิน อินทสุกิจ ชีวิตส่วนตัว หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์สมรสกับณัฐรดา อภิธนานนท์ ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องสกุณตลาบอลรูม โรงแรมเพนนินซูล่า[3] แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยมีบุตร 1 คนชื่อ ด.ช.กริชกุลธร เทวกุล ณ อยุธยา มีชื่อเล่นว่า "เจ็ม" การศึกษา
ผลงานงานราชการ
งานสื่อสารมวลชน
งานเพลง
งานภาพยนตร์
บทบาททางการเมืองม.ล.ณัฏฐกรณ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่าในชีวิตของตนอยากที่จะเล่นการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้ทำการเปิดตัวเป็นผู้สมัครคนแรก ๆ แต่ยังไม่ทันได้ลงรับสมัครจริง เมื่อทราบว่าคะแนนความนิยมตามโพลล์ยังห่างจากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มากนัก จึงได้ถอนตัวไป[8] ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 ซึ่ง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้หมายเลข 8 มีคะแนนนำมาเป็นลำดับที่หนึ่งตามโพลล์แค่ในช่วงต้น ผลการเลือกตั้งสุดท้ายได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 3 ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552 ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ซึ่งมีบทบาทเป็นสื่อสารมวลชน ได้วิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มแนวร่วมอย่างรุนแรงตลอด[9] และวิจารณ์บทบาทการทำหน้าที่ของ นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร อย่างรุนแรง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ มีบทบาทในการเสนอแนะแนวคิดให้กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[10]และได้ออกมาตอบโต้แทนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติถึงกรณีผังล้มเจ้า [11]ผ่านทางวอยซ์ทีวี เขาออกขอโทษประชาชนกรณีวาทกรรม คอรัปชั่นไม่ใช่อุปสรรคในการพัฒนาประเทศ[12] ในปี พ.ศ. 2559 เขาวิจารณ์ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ อาจอยู่เบื้องหลัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่สั่งฟ้อง นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำลังเชือดไก่ให้ลิงดู[13]ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สั่งให้เขาถูกพักงานกับ วอยซ์ทีวี [14]ตามที่ทาง วอยซ์ทีวี เสนอส่งผลให้เขาเป็นอดีตพิธีกร ทุกรายการของ วอยซ์ทีวี ทันที จนกระทั่งครบกำหนดพักงาน เขากลับมาทำงานเป็นพิธีกรอีกครั้ง ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในปี พ.ศ.2565 เขาถูกฟ้องร้องโดยอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เนื่องจากได้แสดงความคิดเห็นในรายการ The Daily Dose Live ยามเช้า โดยมีการเรียกชื่อพรรคภูมิใจไทยในลักษณะประชดประชันว่า"พรรคกัญชา" ซึ่งเป็นการพูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์นโยบายกัญชาเสรีของรัฐบาลและมองว่ากัญชาควรให้กลับไปเป็นยาเสพติดเช่นเดิม โดยนายศุภชัย ใจสมุทร แถลงข่าวว่าจะเรียกร้องให้สมาชิกพรรคทั่วราชอาณาจักรฟ้องในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา (ซึงเป็นลักษณะเดียวกับกรณีที่ให้สมาชิกพรรคแจ้งความเอาผิดผู้ดำเนินรายการ "เนชั่นสุดสัปดาห์" เมื่อปลายปี พ.ศ. 2562 [15]) [16] โดยเขาได้งดจัดรายการรอบเช้าเพื่อไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาดังกล่าวตามหมายเรียกซึ่งติดอยู่หน้าบ้าน[17][18] ความขัดแย้งกับนายสรยุทธ สุทัศนะจินดาในกลางปี พ.ศ. 2550 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางช่อง 3 โดย นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรและผู้จัดรายการได้เชิญชวน ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ให้มาเป็นหนึ่งในพิธีกรร่วมด้วย แต่หลังจากทำหน้าที่นี้ได้ไม่นาน ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ก็ได้ถอนตัวออกไป โดยให้เหตุผลว่านายสรยุทธไม่เคยให้เกียรติตนรวมทั้งไม่ชอบในการนำเสนอข่าวของนายสรยุทธด้วย แต่กระนั้น ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ก็ยังคงทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวทางช่อง 3 เหมือนเดิม[19][20] ลำดับสาแหรก
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล |