Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

โซเฟีย

โซเฟีย

София
เมืองหลวง
ธงของโซเฟีย
ธง
ตราราชการของโซเฟีย
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Ever growing, never aging[1]
(Расте, но не старее)
โซเฟียตั้งอยู่ในบัลแกเรีย
โซเฟีย
โซเฟีย
ที่ตั้งของโซเฟีย
โซเฟียตั้งอยู่ในยุโรป
โซเฟีย
โซเฟีย
โซเฟีย (ยุโรป)
พิกัด: 42°42′N 23°20′E / 42.70°N 23.33°E / 42.70; 23.33
ประเทศ บัลแกเรีย
จังหวัดนครหลวงโซเฟีย
ตั้งถิ่นฐานในยุคโบราณ7,000 ปีก่อนคริสตกาล[3]
นีโอลิทิกเข้ามาตั้งถิ่นฐาน5,500–6,000 ปีก่อนคริสตกาล[4]
เทรเชียนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน1400 ปีก่อนคริสตกาล[5][6]
ภายใต้การปกครองของโรมันค.ศ. 46 (เซอร์ดิกา)[7]
ภายใต้การครอบครองของกรุมค.ศ. 809 (เซรเดตส์)[7]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรียอร์ดันกา ฟันดาคอวา (GERB)
พื้นที่
 • เมืองหลวง492 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[10]5,723 ตร.กม. (2,210 ตร.ไมล์)
ความสูง[11]500–699 เมตร (1,640–2,293 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2019)
 • เมืองหลวงเพิ่มขึ้น 1,242,568[2] คน
 • ความหนาแน่น2,526 คน/ตร.กม. (6,540 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมืองลดลง 1,549,090[9] คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง271 คน/ตร.กม. (700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑลลดลง 1,678,041[8] คน
เดมะนิมโซฟีอัน (อังกฤษ)
Софиянец/โซฟียาเน็ตส์ (บัลแกเรีย)
เขตเวลาUTC+02:00 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+03:00 (EEST)
รหัสพื้นที่(+359) 02
ทะเบียนรถC, CA, CB
เว็บไซต์www.sofia.bg

โซเฟีย (/ˈsfiə, ˈsɒf-, sˈfə/ SOH-fee-ə-,_-SOF;[12][13] บัลแกเรีย: София, อักษรโรมัน: Sofiya,[14][15]) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศบัลแกเรีย นครตั้งอยู่บริเวณตีนภูเขาวีตอชาทางภาคตะวันตกของประเทศ และตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของคาบสมุทรบอลข่าน จึงถือเป็นนครทางผ่านที่สำคัญบนเส้นทางระหว่างทะเลดำกับทะเลเอเดรียติก นอกจากนี้ นครยังตั้งอยู่ใกล้กับทะเลอีเจียน[16][17]

โซเฟียเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 13 ของสหภาพยุโรป สภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขาวีตอชาทางทิศใต้ ภูเขาลิวลินทางทิศตะวันตก และเทือกเขาบอลข่านทางทิศเหนือ ทำให้โซเฟียเป็นเมืองหลวงที่มีระดับความสูงมากเป็นอันดับที่สองของทวีปรองจากมาดริด ตัวนครตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิสการ์และมีแหล่งน้ำแร่หลายแห่ง รวมถึงโรงอาบน้ำแร่กลางโซเฟีย นครมีสภาพภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป โซเฟียเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย สถาบันทางวัฒนธรรม และบริษัทพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ[18] นครได้รับสมญาว่าเป็น "สามเหลี่ยมแห่งขันติทางศาสนา"[19] ทั้งนี้เป็นเพราะนครมีศาสนสถานที่สำคัญของทั้งสามศาสนา ได้แก่ โบสถ์นักบุญเนเดลยา (คริสต์), มัสยิดบันยา บาชิ (อิสลาม) และธรรมศาลาโซเฟีย (ยูดาห์)

โซเฟียติด 1 ใน 10 สถานที่ที่เหมาะแก่การเริ่มต้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ[20] นอกจากนี้ ยังเป็นเมืองหลวงซึ่งมีค่าใช้จ่ายจับต้องได้ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดใน ค.ศ. 2013[21] ใน ค.ศ. 1979 โบสถ์บอยานาในโซเฟียได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก โบสถ์นี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของนิกายออร์โธด็อกซ์ในบัลแกเรีย มันเคยถูกทำลายในช่วงจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 โซเฟียเป็นที่ตั้งของโรงละครโอเปราและบัลเลต์แห่งชาติ, วังวัฒนธรรมแห่งชาติ, สนามกีฬาแห่งชาติวาซิล เลฟสกี, โรงละครแห่งชาติอิวัน วาซอฟ, พิพิธภัณฑสถานโบราณคดีแห่งชาติ และอัฒจันทร์เซอร์ดิกา จึงทำให้นครเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก หอศิลป์สังคมนิยมในโซเฟียแสดงประติมากรรมและจิตรกรรมซึ่งทำให้ผู้เข้าชมได้เข้าใจถึงชีวิตในยุคสังคมนิยมบัลแกเรีย[22]

ประชากรในโซเฟียลดลงจาก 70,000 คนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อมาลดลงสู่ 19,000 คนใน ค.ศ. 1870 และลดลงสู่ 11,649 คนใน ค.ศ. 1878 แต่หลังจากนั้น ประชากรก็กลับมาเพิ่มขึ้น[23] จนในปัจจุบัน โซเฟียมีประชากร 1.24 ล้านคน[2] ในพื้นที่ 492 ตารางกิโลเมตร[24] หากนับพื้นที่เขตเมืองที่ล้อมรอบ (จังหวัดนครหลวงโซเฟียและบางส่วนของจังหวัดโซเฟียกับจังหวัดเปอร์นิก) เข้าไปด้วยแล้ว จะมีประชากร 1.54 ล้านคน[9] ในพื้นที่ 5,723 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5.16 ของพื้นที่ทั้งประเทศ[10] พื้นที่ปริมณฑลของโซเฟียใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการเดินทางผ่าน โดยมีถนนสายหนึ่งเชื่อมต่อกับเมืองดีมีตรอฟกราดในประเทศเซอร์เบีย[25] ปริมณฑลแห่งนี้ไม่เหมือนกับแห่งอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เพราะมันไม่ถูกจัดว่าเป็นปริมณฑลทางการ แต่เป็นเพียงปริมณฑล "เชิงจำกัด" เท่านั้น[26] ภูมิภาคปริมณฑลของโซเฟียมีประชากร 1.67 ล้านคน[8]

อ้างอิง

  1. "Sofia through centuries". Sofia Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2009. สืบค้นเมื่อ 16 October 2009.
  2. 2.0 2.1 "Население по градове и пол | Национален статистически институт". www.nsi.bg (ภาษาบัลแกเรีย).
  3. Ghodsee, Kristen (2005). The Red Riviera: Gender, Tourism, and Postsocialism on the Black Sea. Duke University Press. p. 21. ISBN 0822387174.
  4. Prehistory, Ivan Dikov · in (7 December 2015). "Archaeologist Discovers 8,000-Year-Old Nephrite 'Frog-like' Swastika in Slatina Neolithic Settlement in Bulgaria's Capital Sofia – Archaeology in Bulgaria". archaeologyinbulgaria.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  5. Marazov, Ivan (ed.). Ancient Gold: The Wealth of the Thracians. NY: Harry N. Abrams Inc., 1998. Texts by Marazov, Ivan; Venedikov, Ivan; Fol, Alexander; Tacheva, Margarita. ISBN 9780810919921.
  6. Popov, Dimitar (ed.). The Thracians, Iztok – Zapad, Sofia, 2011. ISBN 9789543218691.
  7. 7.0 7.1 Sofia 2016, p. 13.
  8. 8.0 8.1 "Eurostat – Data Explorer". appsso.eurostat.ec.europa.eu.
  9. 9.0 9.1 "Eurostat-Sofia urban area population".
  10. 10.0 10.1 NATIONAL STATISTICAL INSTITUTE. "CITIES AND THEIR URBANISED AREAS IN THE REPUBLIC OF BULGARIA" (PDF): 91. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  12. Wells, John C. (2008), Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.), Longman, ISBN 9781405881180
  13. Roach, Peter (2011), Cambridge English Pronouncing Dictionary (18th ed.), Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 9780521152532
  14. "Sofia". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2018. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  15. Bulgaria, Hungary, Romania, the Czech Republic, and Slovakia. Britannica Educational Publishing. 1 June 2013. ISBN 9781615309870. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2017.
  16. Lauwerys, Joseph (1970). Education in Cities. Evan's Brothers. ISBN 0-415-39291-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2020. สืบค้นเมื่อ 12 September 2017.
  17. Rogers, Clifford (2010). The Oxford Encyclopedia of Medieval Warfare and Military Technology. Vol. 1. Oxford University Press. p. 301. ISBN 9780195334036. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.
  18. Internet Hostel Sofia, Tourism in Sofia. Internethostelsofia.hostel.com, Retrieved Jan 2012
  19. "Triangle of Religious Tolerance (1903) – iCulturalDiplomacy". www.i-c-d.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
  20. "Sofia is one of the top 10 places for start-up businesses in the world, Bulgarian National TV". Bnt.bg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  21. Clark, Jayne. "Is Europe's most affordable capital worth the trip?". USA Today. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  22. "Museum of Socialist Art – National Gallery" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
  23. "История". www.kmeta.bg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  24. "NATIONAL STATISTICAL INSTITUTE – Information for the area of city of Sofia". Nsi.bg. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  25. "Metropolitan areas in Europe" (PDF): 95. ISSN 1868-0097. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 July 2018. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  26. "Metropolitan areas in Europe" (PDF): 103. ISSN 1868-0097. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 July 2018. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

บรรณานุกรม

  • "Sofia in Figures" (PDF) (ภาษาบัลแกเรีย และ อังกฤษ). National Statistical Institute of Bulgaria. 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2018.
  • Bozhilov, Ivan; Gyuzelev, Vasil (1999). История на средновековна България VII–XIV век [History of Medieval Bulgaria VII–XIV centuries] (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Анубис. ISBN 954-426-204-0.
  • Stancheva, Magdalina (2010). София – от древността до нови времена [Sofia – from Antiquity to Modern Times] (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: New Bulgarian University. ISBN 978-954-535-579-0.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9