เอเชียนเกมส์ 2018
กีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 (อินโดนีเซีย: Pesta Olahraga Asia 2018) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ จาการ์ตา ปาเล็มบัง 2018 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญที่สุดในทวีปเอเชีย ควบคุมโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นในกรุงจาการ์ตา และเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน พ.ศ. 2561 ประเทศอินโดนีเซียได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557[6] ในการประชุมสามัญแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สมัยที่ 33 ณ เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ กรุงจาการ์ตาเคยเป็นเจ้าภาพมา 1 ครั้ง คือ กีฬาเอเชียนเกมส์ 1962 (พ.ศ. 2505) ซึ่งครั้งนี้กรุงจาการ์ตาเป็นเมืองที่ 3 ที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์มากกว่า 1 ครั้ง และเมืองปาเล็มบังเป็นเมืองที่อยู่นอกเขตเมืองหลวงเมืองที่ 5 ที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ รวมถึงกรุงจาการ์ตาก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนพาราเกมส์ 2018 สำหรับนักกีฬาคนพิการเช่นกัน กระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพกระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2018 ที่ถูกรับรองโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ซึ่งครั้งได้มอบสิทธิ์นี้ให้แก่ฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยมีซูราบายา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองผู้ท้าชิง ขณะดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ถอนตัวในนาทีสุดท้ายในการประชุมสามัญแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สมัยที่ 31 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 นอกจากนี้แล้ว โดยครั้งแรกเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ได้กำหนดแข่งขันในปี 2018 (พ.ศ. 2561) แต่ในระหว่างการประชุมสามัญแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สมัยที่ 28 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีมติให้ย้ายปีการแข่งขันจากปี 2018 ไปยังปี 2019 (พ.ศ. 2562) ซึ่งเป็นปีก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[7] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศในการถอนสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557[8] เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 คณะผู้บริหารสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้รับรองให้ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ซึ่งครั้งนี้ได้ย้ายปีการแข่งขันจากปี 2019 ไปยังปี 2018 เช่นเดิม[9] เพราะในปี 2019 ประเทศอินโดนีเซียจะมีการจัดเลือกตั้งประธานาธิบดี[10] ครั้งที่ 1 (เอเชียนเกมส์ 2018)เมืองที่ผ่านการคัดเลือก
เมืองที่ออกจากการคัดเลือก
ความกังวลและการถอนตัว
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศเวียดนามเกรงว่าอาจต้องใช้งบประมาณถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทไทย) ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ นอกจากนี้สนามแข่งขันที่จะใช้จัดการแข่งขันครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นสนามใหม่ไม่ได้ถูกใช้ในกีฬาซีเกมส์ 2003[20] ถือเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณในการก่อสร้าง นอกจากนี้อดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเวียดนามยังออกมากล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดการแข่งขันครั้งนี้ไม่ได้สนับสนุนในเรื่องของการท่องเที่ยวในเวียดนาม[21] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557 ประธานกรมสามัญการกีฬาและการฝึกอบรมทางกายภาพของเวียดนาม ออกมาแสดงความมั่นใจว่าร้อยละ 80 ของสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่และงบประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 พันล้านบาทไทย) ก็เพียงพอสำหรับการจัดการแข่งขัน[19] อีกทั้งธนาคารโลก ออกมาประกาศว่า ไม่มีเงินให้เวียดนามกู้ยืมสำหรับนำไปใช้เป็นงบประมาณก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อจัดการแข่งขันครั้งนี้[22] ในที่สุด วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 เหงียน เติ๊น สุง นายกรัฐมนตรีของเวียดนาม ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการ ขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน โดยเขาอ้างว่าปัญหาเศรษฐกิจและภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งนี้ หลังจากการตัดสินใจดังกล่าว ได้มีสถิติออกมาว่า ประชาชนของเวียดนามส่วนใหญ่ เห็นด้วยสำหรับการตัดสินใจถอนตัวในครั้งนี้[23] สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ประกาศว่าจะไม่มีค่าปรับที่ใช้เป็นบทลงโทษสำหรับการถอนตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน[24] ครั้งที่ 2 (เอเชียนเกมส์ 2018)เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในระหว่างการประชุมของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่คูเวตซิตี ประเทศคูเวต ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองเจ้าภาพหลักสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ และใช้เมืองปาเล็มบัง และบันดุง เป็นเมืองรอง สำหรับการจัดการแข่งขัน แต่เลื่อนจากแผมเดิมจะจัดในปี 2019 (พ.ศ. 2562) มาเป็นปี 2018 (พ.ศ. 2561) เนื่องจากในปี 2019 ประเทศอินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[25] เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557 ประเทศอินโดนีเซีย ได้ลงนามในสัญญาเป็นเมืองเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 โดยมีประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินโดนีเซีย รีตา ซูโบโว ผู้ว่าราชการจาการ์ตา บาซูกี จาฮายา ปูร์นามา และผู้ว่าการเกาะสุมาตรา อเล็กซ์ นอร์ดิน เข้าร่วมในพิธีนี้[26] ความเตรียมพร้อมสัญลักษณ์สัญลักษณ์ประจำการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018 ได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 ระหว่างการเฉลิมฉลองวันกีฬาแห่งชาติ สัญลักษณ์แบบแรกมีลักษณะคล้ายกับ นกปักษาสวรรค์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ยากในประเทศอินโดนีเซีย[27] ในเดือนมกราคม 2559 คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ยกเลิกสัญลักษณ์แบบแรกไป หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในเรื่องความทันสมัย และลักษณะของสัญลักษณ์ ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้เปิดการแข่งขันเพื่อออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ ภายใต้คำขวัญ "Energy of Asia" และได้ประกาศรางวัลชนะเลิศเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยสัญลักษณ์แบบใหม่ได้แรงบันดาลใจจากหลังคาของสนามกีฬาเกลอรา บังการ์โน[28][29][30] ส่วนสัญลักษณ์นำโชคใหม่ได้แรงบันดาลใจจากสัตว์ที่หาพบได้ในประเทศอินโดนีเซีย อาทิ นกปักษาสวรรค์ ("Bhin Bhin"), กวางบาวีน ("Atung") และแรดชวา ("Kaka")[31] กิจกรรมและความบันเทิงในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดงานการนับถอยหลังสู่กีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 ณ อนุสาวรีย์แห่งชาติ ในจาการ์ตา และ ป้อมกูโตเบซัก ในเมืองปาเล็มบัง โดยภายในงานนี้มีศิลปินทั้งในประเทศอินโดนีเซีย และต่างประเทศ อาทิ วงเกิลส์เจเนอเรชัน จากประเทศเกาหลีใต้ และนอกจากนี้มีประธานาธิบดีโจโก วีโดโด เป็นประธานในพิธี[32][33] สถานที่การแข่งขันครั้งนี้ได้สร้างสนามใหม่ และปรับปรุงสนามที่มีอยู่เดิมใน 4 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ จาการ์ตา, จังหวัดสุมาตราใต้, จังหวัดบันเติน และจังหวัดชวาตะวันตก ซึ่งครั้งนี้ได้แบ่งเขตการแข่งขันเป็น 4 เขต ได้แก่ ในจาการ์ตา 3 เขต และเมืองปาเล็มบัง, จังหวัดสุมาตราใต้ 1 เขต โดยที่จังหวัดบันเติน และจังหวัดชวาตะวันตก จะรองรับการแข่งขันโดยมีสนามแข่งขัน 15 สนาม และสนามฝึกซ้อม 11 สนาม[34] ซึ่งสนามที่ใช้ในการแข่งขัน และฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขันครั้งนี้จะมีทั้งหมด 80 สนาม[35] ซึ่งจะมีสนามบางส่วนที่ได้สร้างไว้ตอนกีฬาซีเกมส์ 2011 มาใช้ในการแข่งขัน เพื่อตัดค่าใช้จ่ายในด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแข่งขันครั้งนี้[36] การขนส่งการเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจาการ์ตา จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ในด้านการขนส่ง[37] ปาเลมบังจะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งโดยการสร้างรถไฟฟ้ารางเบา 24.5 กิโลเมตร จากท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมุฮัมหมัด บาดารูดดินที่ 2 ไปยังจากาบาริงสปอร์ตซิตี[38] สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งอื่น ๆ เช่น อุโมงค์, ทางยกระดับและสะพาน จะถูกสร้างขึ้นอยู่ในเมือง[39] ข้อมูลการแข่งขันสนามแข่งขันแม่แบบ:สนามแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018 ชนิดกีฬา
ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันสมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจะเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยได้มีการตกลงกันว่าประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้จะเข้าร่วมแข่งขันในนามของทีมรวมเฉพาะกิจในบางชนิดกีฬา เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018 มีดังต่อไปนี้ (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนนักกีฬา)
ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน
สรุปเหรียญการแข่งขันด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ * เจ้าภาพ ( อินโดนีเซีย)
การถ่ายทอดสดรายชื่อสถานีโทรทัศน์ที่ถือสิทธิ์การถ่ายทอดสด
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เอเชียนเกมส์ 2018
|