Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เอเชียนเกมส์

เอเชียนเกมส์
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขัน
ชื่อย่อเอเซียด
คำขวัญEver Onward
(ก้าวหน้าตลอดไป)
ก่อตั้งเอเชียนเกมส์ 1951 ใน นิวเดลี, ประเทศอินเดีย
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดเอเชียนเกมส์ 2022 ใน หางโจว, ประเทศจีน
ครั้งต่อไปเอเชียนเกมส์ 2026 ใน ไอจิ– นาโกยะ, ประเทศญี่ปุ่น
วัตถุประสงค์การแข่งขันกีฬาหลายประเภทสำหรับประเทศในทวีปเอเชีย
การแข่งขัน

กีฬา (รายละเอียด)

เอเชียนเกมส์ (อังกฤษ: Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิดระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดยสหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย

ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอลซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายใน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศอิหร่าน สำหรับเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุดได้จัดขึ้นที่เมืองหางโจวของประเทศจีน ระหว่างวันที่ 23 กันยายน - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) ซึ่งเลื่อนมาจากปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) เนื่องจากการระบาดทั่วทวีปเอเชียของโควิด-19 และการแข่งขันครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่นครนาโงยะ และจังหวัดไอจิ ของประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026)

ประวัติ

ตรากีฬาตะวันออกไกล

ยุคกีฬาตะวันออกไกล

เมื่อปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) อี.เอส.บราวน์ ประธานสมาคมกีฬาแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา (The Philippines Athletic Association) ผู้จัดการแข่งขันกีฬาคาร์นิวัลแห่งกรุงมะนิลา (Manila Carnival Games) เชิญชวนให้สาธารณรัฐจีน และ จักรวรรดิญี่ปุ่น (ชื่อในขณะนั้น) เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาชิงชนะเลิศแห่งตะวันออกไกล (Far East Games) ทว่าในเวลาต่อมา เกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างจีนกับญี่ปุ่น การแข่งขันจึงต้องสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีการประกาศเอกราชเกิดขึ้นเป็นหลายประเทศใหม่ ซึ่งประเทศในเอเชียทั้งหมดต่างก็คาดหวังจะเห็น การแข่งขันกีฬาภายในทวีปรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีการใช้อิทธิพลเข้าครอบงำ หากแต่ร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็ง ภายใต้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ยุคสหพันธ์เอเชียนเกมส์

จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) กลุ่มนักกีฬาของสาธารณรัฐประชาชนจีน และฟิลิปปินส์ ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 14 ที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร มีดำริที่จะฟื้นการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกลขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม กูรู ดัตท์ สนธิ (Guru Dutt Sondhi) ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินเดีย ให้ความเห็นว่า ควรเปิดกว้างให้แก่ทุกประเทศในทวีปเอเชีย สามารถเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน จึงเสนอให้ร่างระเบียบขึ้น เพื่อจัดตั้งขึ้นในรูปสหพันธ์กีฬาแห่งเอเชีย (The Asian Athletic Federation) ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ธรรมนูญองค์กรก็เสร็จสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์กีฬาเอเชีย (The Asian Games Federation)[1] ถือกำเนิดขึ้นที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย ซึ่งเมืองหลวงแห่งนี้เอง ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งที่ 1 ของเอเชียนเกมส์ ในอีกสองปีถัดมา (พ.ศ. 2493; ค.ศ. 1950)

ระยะต่อมาเกิดปัญหาขึ้น ตั้งแต่ก่อนการแข่งขันครั้งที่ 8 ซึ่งมีกรุงเทพมหานครของไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เนื่องจากสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ออกมติไม่ยินยอมให้ จีนไทเปและอิสราเอล เข้าร่วมแข่งขัน อันมีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองภายในของทั้งสองชาติ ทำให้เกิดความกังวลต่อการรักษาความปลอดภัย[2] เป็นเหตุให้องค์กรกีฬาระดับนานาชาติหลายแห่ง ออกมาทักท้วงต่อต้าน โดยเฉพาะสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (International Association of Athletics Federations; IAAF) ถึงกับประกาศขู่ว่า หากนักกรีฑาของชาติใด เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์คราวนี้ สหพันธ์ฯจะกีดกันไม่ให้เข้าแข่งขัน ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)[3] ซึ่งส่งผลกระทบให้นักกีฬาหลายชาติ ขอถอนตัวจากการแข่งขันครั้งนี้[4]

ยุคสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

พิธีเปิดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 1
ที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2494

จากวิกฤตการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติในทวีปเอเชีย ตัดสินใจเปิดการประชุมร่วมกันในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) โดยไม่มีการแจ้งให้ทางอิสราเอลเข้าร่วมด้วย เพื่อยกร่างแก้ไขธรรมนูญสหพันธ์เอเชียนเกมส์ มีสาระสำคัญคือ การจัดตั้งสมาคมบริหารจัดการเอเชียนเกมส์ขึ้นใหม่ เรียกว่า สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย[5] และก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ระหว่างการประชุมครั้งแรกของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ที่กรุงนิวเดลี ก่อนการแข่งขันครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองหลวงของอินเดียตามกำหนดเดิม โดยไม่มีการยกเลิกกำหนดการต่าง ๆ ซึ่งสหพันธ์กีฬาเอเชียจัดทำไว้แล้ว และมีสมาชิกชุดก่อตั้ง เป็นคณะกรรมการโอลิมปิกของ 34 ชาติ[1] จากนั้นสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย จึงเริ่มรับหน้าที่กำกับดูแลเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ซึ่งโซลของเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เป็นครั้งแรก[6] มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนจีนไทเปกลับเข้าร่วมในครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่งของจีน เมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)[7]

ในการแข่งขันครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นที่นครฮิโรชิมาของญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) เป็นครั้งแรกที่มิได้จัดแข่งขันในเมืองหลวงของประเทศ โดยกลุ่มประเทศที่แยกตัวเป็นเอกราชจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งประกอบด้วยคาซักสถาน, คีร์กีซสถาน, อุซเบกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน เข้าร่วมเป็นครั้งแรก[8] ส่วนอิรักมิได้รับการยินยอมให้เข้าร่วม เนื่องจากเป็นชาติที่ก่อสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี พ.ศ. 2533 และเกาหลีเหนือคว่ำบาตรการแข่งขัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นปัญหา นอกจากนี้ยังเกิดการสูญเสียผู้แทนจากประเทศเนปาล ณเรศกุมาร์ อธิการี (Nareshkumar Adhikari) ซึ่งเสียชีวิตระหว่างพิธีเปิดการแข่งขัน[9] จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เป็นประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ เมื่อกรุงเทพฯของไทย เป็นเจ้าภาพครั้งที่ 4 โดยพิธีเปิดในสามครั้งแรก มีขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม ส่วนครั้งนี้เปิดในวันที่ 6 แต่ทั้งหมดสิ้นสุดในวันเดียวกันคือ 20 ธันวาคม และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดทั้งสี่ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงในอนาคต

จำนวนกีฬาที่แข่งขันจะกำหนดให้ลดน้อยลง เหลือเพียง 35 ชนิดในการแข่งขันครั้งที่ 17 ซึ่งจะจัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ และคราวนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่การแข่งขันจะจัดขึ้นตามระยะเวลาเดิม เมื่อโอซีเอผลักดันให้การแข่งขันครั้งถัดไป เกิดขึ้นก่อนกีฬาโอลิมปิกเพียงหนึ่งปี จึงหมายความว่าเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ซึ่งตามปกติจะมีกำหนดจัดในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) จะผลักดันไปเป็น พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019)

แต่สุดท้าย ก็ได้มีการยุติการเปลี่ยนระยะเวลาจัดการแข่งขันออกไป จากที่จะจัดการแข่งขันก่อนโอลิมปิกเกมส์เพียงหนึ่งปี เป็นจัดการแข่งขันตามระยะเวลาเดิม เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ไม่สามารถที่จะจัดภายในปี ค.ศ. 2019 ได้ เพราะในปี ค.ศ. 2019 นั้นได้มีกำหนดจัดการเลือกตั้งในประเทศ จึงจัดภายในปี ค.ศ. 2018 ตามระยะเวลาเดิมแทน

สัญลักษณ์

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้มีการใช้สัญลักษณ์เพื่อที่จะใช้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ซึ่งยึดแนวทางตามการแข่งขันโอลิมปิก สัญลักษณ์ของการแข่งขันเอเชียนเกมส์ คือ

การจัดแข่งขัน

ครั้งที่ ปี
(ค.ศ.)
เมืองเจ้าภาพ ชาติเจ้าภาพ ประธานเปิดงาน วันเริ่ม วันสิ้นสุด ชาติเข้าร่วม ผู้เข้าแข่งขัน
(คน)
ชนิดกีฬา จำนวนเหรียญทอง อ้างอิง
อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3
1 1950 นิวเดลี  อินเดีย ประธานาธิบดี ราเชนทระ ปรสาท 4 มีนาคม 11 มีนาคม 11 489 6  ญี่ปุ่น (JPN) (24)  อินเดีย (IND) (16)  อิหร่าน (IRI) (6) [10]
2 1954 มะนิลา  ฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี รามอน แมกไซไซ 1 พฤษภาคม 9 พฤษภาคม 18 970 8  ญี่ปุ่น (JPN) (38)  ฟิลิปปินส์ (PHI) (14)  เกาหลีใต้ (KOR) (8) [11]
3 1958 โตเกียว  ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ 24 พฤษภาคม 1 มิถุนายน 16 1,820 13  ญี่ปุ่น (JPN) (67)  ฟิลิปปินส์ (PHI) (8)  เกาหลีใต้ (KOR) (8) [12]
4 1962 จาการ์ตา  อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี ซูการ์โน 24 สิงหาคม 4 กันยายน 12 1,460 13  ญี่ปุ่น (JPN) (73)  อินโดนีเซีย (INA) (11)  อินเดีย (IND) (10) [13]
5 1966 กรุงเทพฯ  ไทย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 9 ธันวาคม 20 ธันวาคม 16 1,945 14  ญี่ปุ่น (JPN) (78)  เกาหลีใต้ (KOR) (12)  ไทย (THA) (12) [14]
6 1970 กรุงเทพฯ  ไทย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 9 ธันวาคม 20 ธันวาคม 16 2,400 13  ญี่ปุ่น (JPN) (74)  เกาหลีใต้ (KOR) (18)  ไทย (THA) (9) [15]
7 1974 เตหะราน  อิหร่าน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี 1 กันยายน 16 กันยายน 19 3,010 16  ญี่ปุ่น (JPN) (75)  อิหร่าน (IRI) (36)  จีน (CHN) (33) [16]
8 1978 กรุงเทพฯ  ไทย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 9 ธันวาคม 20 ธันวาคม 19 3,842 19  ญี่ปุ่น (JPN) (70)  จีน (CHN) (51)  เกาหลีใต้ (KOR) (18) [17]
9 1982 นิวเดลี  อินเดีย ประธานาธิบดี ไซล สิงห์ 19 พฤศจิกายน 4 ธันวาคม 23 3,411 21  จีน (CHN) (61)  ญี่ปุ่น (JPN) (57)  เกาหลีใต้ (KOR) (28) [18]
10 1986 โซล  เกาหลีใต้ ประธานาธิบดี ช็อน ดู-ฮวัน 20 กันยายน 5 ตุลาคม 22 4,839 25  จีน (CHN) (94)  เกาหลีใต้ (KOR) (93)  ญี่ปุ่น (JPN) (58) [19]
11 1990 ปักกิ่ง  จีน ประธานาธิบดี หยาง ซั่งคุน 22 กันยายน 7 ตุลาคม 36 6,122 27  จีน (CHN) (183)  เกาหลีใต้ (KOR) (54)  ญี่ปุ่น (JPN) (38) [20]
12 1994 ฮิโรชิมะ  ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ 2 ตุลาคม 16 ตุลาคม 42 6,828 34  จีน (CHN) (162)  ญี่ปุ่น (JPN) (64)  เกาหลีใต้ (KOR) (63) [21]
13 1998 กรุงเทพฯ  ไทย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 6 ธันวาคม 20 ธันวาคม 41 6,554 36  จีน (CHN) (129)  เกาหลีใต้ (KOR) (65)  ญี่ปุ่น (JPN) (52) [22]
14 2002 ปูซาน  เกาหลีใต้ ประธานาธิบดี คิม แด-จุง 29 กันยายน 14 ตุลาคม 44 7,711 38  จีน (CHN) (150)  เกาหลีใต้ (KOR) (96)  ญี่ปุ่น (JPN) (44) [23]
15 2006 โดฮา  กาตาร์ เจ้าผู้ครอง ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี 1 ธันวาคม 15 ธันวาคม 45 9,520 39  จีน (CHN) (165)  เกาหลีใต้ (KOR) (85)  ญี่ปุ่น (JPN) (50) [24]
16 2010 กว่างโจว  จีน นายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า 12 พฤศจิกายน 27 พฤศจิกายน 45 9,704 42  จีน (CHN) (199)  เกาหลีใต้ (KOR) (76)  ญี่ปุ่น (JPN) (48) [25]
17 2014 อินช็อน  เกาหลีใต้ ประธานาธิบดี พัก กึน-ฮเย 19 กันยายน 4 ตุลาคม 45 9,501 37  จีน (CHN) (151)  เกาหลีใต้ (KOR) (79)  ญี่ปุ่น (JPN) (47) [26]
18 2018 จาการ์ตา-ปาเลมบัง  อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด 18 สิงหาคม 2 กันยายน 45 11,300 46  จีน (CHN) (132)  ญี่ปุ่น (JPN) (75)  เกาหลีใต้ (KOR) (49) [27]
19 2022 หางโจว  จีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง 23 กันยายน 8 ตุลาคม 45 11,935 40  จีน (CHN) (201)  ญี่ปุ่น (JPN) (52)  เกาหลีใต้ (KOR) (42) [28]
20 2026 นาโงยะ  ญี่ปุ่น จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น 19 กันยายน 4 ตุลาคม ยังไม่แข่งขัน
21 2030 โดฮา  กาตาร์ เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ยังไม่แข่งขัน
22 2034 ริยาด  ซาอุดีอาระเบีย พระมหากษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบีย ยังไม่แข่งขัน

ประเทศที่เข้าร่วม

ตราสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

ดูบทความหลักที่ ชาติสมาชิกของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย มอบสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันแก่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติของ 45 ประเทศในเอเชีย ก่อนหน้านี้ในยุคสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ยังมีอิสราเอลเข้าร่วมด้วย แต่ถูกระงับไปตั้งแต่ พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) ด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 อิสราเอลร้องขอเข้าร่วมเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 แต่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียปฏิเสธคำขอ เนื่องจากเหตุการณ์สังหารหมู่ ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 20 ที่นครมิวนิกของเยอรมนีตะวันตก ปัจจุบันอิสราเอลเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งยุโรป ตั้งแต่ พ.ศ. 2537; ค.ศ. 1994

สำหรับไต้หวันมีโอกาสร่วมการแข่งขันในครั้งที่ 11 ภายใต้ชื่อและธงโอลิมปิกของจีนไทเป หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจีนไทเปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ส่วนมาเก๊าได้รับอนุญาตจากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ให้เข้าเป็นสมาชิกและร่วมแข่งขันตั้งแต่ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) แม้ว่าคณะกรรมการโอลิมปิกสากล จะไม่ยอมรับให้เข้าแข่งขันในโอลิมปิกก็ตาม

เชค อะห์หมัด อัล-ฟาฮัด อัล-อะห์เหม็ด อัล-ซาบะห์ (Sheikh Ahmad Al-Fahad Al-Ahmed Al-Sabah) ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ปฏิเสธข้อเสนอเมื่อปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ที่จะให้ออสเตรเลียเข้าร่วมแข่งขันด้วย โดยเขามีความเห็นว่า แม้ออสเตรเลียจะมีส่วนช่วยผลักดัน ให้มาตรฐานการกีฬาของเอเชียนเกมส์ดีขึ้น แต่ก็จะไม่เป็นธรรมต่อประเทศอื่นๆ ในกลุ่มโอเชียเนียเช่นกัน

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาในเอเชียนเกมส์ครบทุกประเภท มีทั้งหมด 7 ชาติได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา สิงคโปร์ และไทย

กีฬาที่จัดแข่งขัน

ตลอดระยะเวลาที่มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปรากฏว่ามีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 45 ชนิด ดังตารางต่อไปนี้

กีฬา พ.ศ.ที่แข่งขัน (ค.ศ.)
กีฬาทางน้ำ ตั้งแต่ 2493 (1950)
ยิงธนู ตั้งแต่ 2521 (1978)
กรีฑา ตั้งแต่ 2493 (1950)
แบดมินตัน ตั้งแต่ 2505 (1962)
เบสบอล ตั้งแต่ 2537 (1994)
บาสเกตบอล ตั้งแต่ 2493 (1950)
เกมกระดาน ตั้งแต่ 2549 (2006)
เพาะกาย 2545-2549 (2002–2006)
โบว์ลิง 2521 (1978),
2529 (1986),
ตั้งแต่ 2537 (1994)
มวยสากล ตั้งแต่ 2497 (1954)
เรือแคนู ตั้งแต่ 2529 (1986)
คริกเก็ต 2553 (2010)
บิลเลียด ตั้งแต่ 2541 (1998)
จักรยาน 2493 (1950),
ตั้งแต่ 2501 (1958)
ลีลาศ 2553 (2010)
เรือมังกร 2553 (2010)
ขี่ม้า 2525-2529 (1982-1986),
ตั้งแต่ 2537 (1994)
อีสปอร์ต ตั้งแต่ 2565 (2022)
ฟันดาบ 2517-2521 (1974–1978),
ตั้งแต่ 2529 (1986)
ฟุตบอล ตั้งแต่ 2493 (1950)
กอล์ฟ ตั้งแต่ 2525 (1982)
ยิมนาสติก ตั้งแต่ 2517 (1974)
แฮนด์บอล ตั้งแต่ 2525 (1982)
ฮอกกี ตั้งแต่ 2501 (1958)
กีฬา พ.ศ.ที่แข่งขัน (ค.ศ.)
ยูโด ตั้งแต่ 2529 (1986)
กาบัดดี ตั้งแต่ 2533 (1990)
คาราเต้ ตั้งแต่ 2537 (1994)
ปัญจกรีฑาสมัยใหม่ 2537 (1994),
2545 (2002),
2553 (2010)
กีฬาล้อเลื่อน 2553 (2010)
เรือพาย ตั้งแต่ 2525 (1982)
รักบีฟุตบอล ตั้งแต่ 2541 (1998)
เรือใบ 2513 (1970),
ตั้งแต่ 2521 (1978)
เซปักตะกร้อ ตั้งแต่ 2533 (1990)
ยิงปืน ตั้งแต่ 2497 (1954)
ซอฟต์บอล ตั้งแต่ 2533 (1990)
ซอฟต์เทนนิส ตั้งแต่ 2533 (1990)
สควอช ตั้งแต่ 2541 (1998)
เทเบิลเทนนิส 2501-2509 (1958–1966),
ตั้งแต่ 2517 (1974)
เทควันโด 2529 (1986),
ตั้งแต่ 2537 (1994)
เทนนิส 2501-2509 (1958–1966),
ตั้งแต่ 2517 (1974)
ไตรกีฬา ตั้งแต่ 2549 (2006)
วอลเลย์บอล ตั้งแต่ 2501 (1958)
ยกน้ำหนัก 2493-2501 (1950–1958),
ตั้งแต่ 2509 (1966)
มวยปล้ำ ตั้งแต่ 2497 (1954)
วูซู ตั้งแต่ 2533 (1990)

เหรียญรางวัลรวม

ตลอดระยะเวลาของการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปรากฏว่าญี่ปุ่นและจีน เป็นเพียงสองชาติในประวัติศาสตร์ ที่ได้รับเหรียญรางวัลมากที่สุด โดยภูฏาน มัลดีฟส์ และติมอร์ตะวันออก เป็นเพียงสามชาติ ที่ไม่เคยได้รับแม้แต่เหรียญรางวัลเดียว ตั้งแต่เข้าแข่งขันเป็นต้นมา ซึ่งในตารางต่อไปนี้เป็น 10 อันดับของประเทศที่ได้รับเหรียญรางวัลรวม

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 จีน (CHN)167411057913570
2 ญี่ปุ่น (JPN)1084110410543242
3 เกาหลีใต้ (KOR)7877229162425
4 อิหร่าน (IRI)192202217611
5 อินเดีย (IND)183239357779
6 คาซัคสถาน (KAZ)165180292637
7 ไทย (THA)144189311644
8 เกาหลีเหนือ (PRK)120162189471
9 จีนไทเป (TPE)118164304586
10 อุซเบกิสถาน (UZB)105138171414
11–44ประเทศที่เหลือ686102717773490
รวม (44 ประเทศ)52585232637916869

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ประวัติศาสตร์ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เก็บถาวร 2011-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เก็บถาวร 2018-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Asian Games Federation says no to Israel". Anchorage Daily News. 1978-06-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.[ลิงก์เสีย]
  3. "New Israeli rejection forces Asian athletes to risk Olympic hope". The Montreal Gazette. 1978-11-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  4. "Indonesia, Hong Kong protest ban on Israel". St. Petersburg Times. 1978-12-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  5. "Israelis facing Asian ban". Ottawa Citizen. 1981-12-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  6. "Olympics". The Montreal Gazette. 1981-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  7. "China welcomes Taiwan's AG trip". Manila Standard. 1988-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  8. "第12届 1994年广岛亚运会". data.sports.163.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-02. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  9. "Let the Games Begin". New Straits Times. 1994-10-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  10. "1st AG New Delhi 1951". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  11. "2nd AG Manila 1954". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  12. "3rd AG Tokyo 1958". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  13. "4th AG Jakarta 1962". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  14. "5th AG Bangkok 1966". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  15. "6th AG Bangkok 1970". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  16. "7th AG Tehran 1974". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  17. "8th AG Bangkok 1978". OCA. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  18. "9th AG New Delhi 1982". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  19. "10th AG Seoul 1986". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  20. "11th AG Beijing 1990". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  21. "12th AG Hiroshima 1994". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  22. "13th AG Bangkok 1998". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 July 2010.
  23. "14th AG Busan 2002". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 29 September 2002.
  24. "15th AG Doha 2006". OCA. สืบค้นเมื่อ 1 December 2006.
  25. "16th AG Guangzhou 2010". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 22 November 2010.
  26. "17th AG Incheon 2014". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
  27. "18th AG Jakarta-Palembang 2018". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.
  28. "19th AG Hangzhou 2022". OCA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2018. สืบค้นเมื่อ 16 September 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9