เอเชียนเกมส์ 2014
เอเชียนเกมส์ 2014 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 17 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557[1] ที่เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ เมืองอินช็อนสามารถเอาชนะคะแนนเสียงกรุงนิวเดลีของอินเดีย และได้รับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในครั้งนี้ เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ อินช็อนถือว่าเป็นเมืองที่สามของเกาหลีใต้ที่ได้จัดกีฬาเอเชียนเกมส์ นับตั้งแต่กรุงโซลเมื่อ พ.ศ. 2529 และเมืองปูซานเมื่อ พ.ศ. 2545 การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพเมืองที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2014 มีทั้งสิ้น 2 เมือง ได้แก่ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และเมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ หลังจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006
สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้คัดเลือกเมืองเจ้าภาพระหว่างการประชุมที่กรุงคูเวตซิตี ประเทศคูเวตเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 ในการนำเสนอในรอบสุดท้าย เมืองอินช็อนของเกาหลีใต้ได้นำเสนอถึงการลงทุนสำหรับการแข่งขันกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการเดินทางและที่พักฟรีสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด ส่วนกรุงนิวเดลีของอินเดียไม่ได้นำเสนออะไร ปรากฏว่าอินช็อนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจากที่เสนอตัว หลังจากการลงมติ ทำให้เกิดกระแสอย่างกว้างขวางถึงการขาดความกระตือรือร้นในการรับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพของกรุงนิวเดลี โดยรัฐมนตรีกระทรวงกีฬาของอินเดียได้รับการโจมตีจากประชาชนที่ยากจนอย่างมากว่า จะเป็นเรื่องที่ดีกว่า ถ้าเงินจัดสรรของรัฐบาลที่ใช้จัดการแข่งขันจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับคนยากจน โดยทางด้านของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ให้ความเห็นถึงความกังวล ด้านงบประมาณ และด้านมลพิษ หรือด้านจราจรในเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการสนามแข่งขันทางเมือง อินช็อน ได้มีสนามการแข่งขัน 49 และสร้างขึ้นมาใหม่อีก 23 สนาม[2] และยังมีบ้านพักนักกีฬาและที่พักของสื่อมลวชน[3] สนามกีฬาหลักของเมืองอินช็อนที่ใช้เปิดพิธีการแข่งขันคาดว่าที่นั่งประมาณ 61,000 ที่นั่ง และ 30,000 ที่นั่งอาจะเป็นตัวแปรของสนาม[4][5]
การเดินทางระยะเวลาในการก่อสร้างรถไฟใต้ดินอินช็อนได้เสร็จสิ้นเร็วกว่าแผนที่วางไว้เดิมที่ปี ค.ศ. 2018 การแข่งขันพิธีเปิดในพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ นายหญิงพัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย โทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล, ชีค อะห์เหม็ด อัล-ฟะฮัด อัล-ซะบะฮ์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เป็นต้น พิธีปิดพิธีปิดการแข่งขันจะจัดขึ้นในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 4 ตุลาคม 2014 ในอินช็อนเอซีแอดเมนสเตเดียม[15] ชนิดกีฬาเอเชียนเกมส์ในครั้งนี้ บรรจุชนิดกีฬาทั้งหมด 36 ประเภท เป็นกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ทั้งหมด 28 ชนิดกีฬา และไม่ได้แข่งขันในโอลิมปิก 8 ชนิดกีฬา ได้แก่
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
ปฏิทินการแข่งขัน
สรุปเหรียญการแข่งขันด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ * เจ้าภาพ ( เกาหลีใต้)
การตลาดคำขวัญคำขวัญอย่างเป็นทางการ ถูกเปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 คือ Diversity Shines Here แปลว่า อณูแห่งความหลากหลาย เปล่งประกาย ณ ที่นี่ โดยในคำขวัญคำว่า อณูแห่งความหลากหลาย หมายถึง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนา ของชาวเอเชีย ที่แตกต่างกันไป สัญลักษณ์แมวน้ำ 3 ตัว ถูกเปิดตัวให้เป็นมาสคอตประจำการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่เกาะซงโด ประเทศเกาหลีใต้ ชื่อ "บาราเม", "ชูมือโร" และ "บีชูอน" ซึ่งชื่อเป็นภาษาเกาหลีแปลว่า ลม การเต้นรำ และแสงสว่าง ตามลำดับ อีกทั้งมาสคอตแมวน้ำ 3 ตัวนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์การเชื่อมมิตรภาพระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ส่วนสัญลักษณ์การแข่งขันเป็นรูปลูกศรชี้ขึ้นคล้ายตัว A ไม่มีขีดกลาง สีฟ้าและเขียว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายปีกซ้ายล้อมดวงอาทิตย์ เปรียบเสมือนชาวเอเชียจับมือกันกลางท้องฟ้า ความกังวลและข้อถกเถียงเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เกี่ยวกับการตัดสินของกรรมการในหลายชนิดกีฬาว่า เข้าข้างนักกีฬาชาติเจ้าภาพ คือ เกาหลีใต้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มวยสากลสมัครเล่น หรือฟุตบอลชาย ในมวยสากลสมัครเล่นมีหลายคู่ที่น่ากังขา ไม่ว่าจะเป็นในรอบ 16 คนสุดท้าย ในรุ่นไลต์เวต (60 กิโลกรัม) ระหว่าง สายลม อาดี นักมวยทีมชาติไทย กับ ฮัน-ซุลชู นักมวยทีมชาติเกาหลีใต้ ซึ่งสายลมเป็นฝ่ายแพ้ไปอย่างค้านสายตา[61] หรือ ทักส์ซอกต์ ยัมไบร์ นักมวยทีมชาติมองโกเลีย เป็นฝ่ายแพ้ ฮัม ซัง-เมียง ไปแบบเอกฉันท์ ในรุ่นแบนตั้มเวต (56 กิโลกรัม) ในรอบ 8 คนสุดท้าย ทั้งที่ยัมไบร์เป็นฝ่ายชกเอาจนใบหน้าของซัง-เมียงอาบไปด้วยเลือด แม้ทางทีมชาติมองโกเลียพยายามจะประท้วงแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล และที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุด คือ การปฏิเสธรับเหรียญทองแดงและนำเหรียญดังกล่าวไปคล้องไว้ที่คอของ ปาร์ค-จีนา นักมวยหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ที่ได้เหรียญเงิน ของ สาริตา เทวี นักมวยหญิงทีมชาติอินเดียในพิธีรับเหรียญ เนื่องจากผิดหวังและไม่ยอมรับการตัดสินของกรรมการที่ตัดสินให้ตัวเองแพ้ในรอบรองชนะเลิศ ในรุ่นไลต์เวต อีกทั้งเมื่อเทวีทำการประท้วงหลังการชกก็ไม่เป็นผล[ต้องการอ้างอิง] ในส่วนของฟุตบอลชาย ในรอบรองชนะเลิศที่ ทีมชาติไทย พบกับ ทีมชาติเกาหลีใต้ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายแพ้ไป 0-2 กรรมการที่ทำหน้าที่ตัดสินในครั้งนี้ชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงการไม่ให้จุดโทษแก่ทีมชาติไทยในครึ่งหลัง ที่ทางทีมชาติเกาหลีใต้ล้มเอาแขนและลำตัวปัดลูกฟุตบอลในเขตโทษ แต่กลับให้จุดโทษแก่ทีมชาติเกาหลีใต้ในช่วงท้ายครึ่งแรก ทั้งที่การทำฟาวล์เกิดขึ้นในนอกเขตโทษชัดเจน[ต้องการอ้างอิง] ในกีฬาแบดมินตัน ก็ถูกตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับระบบปรับอากาศในสนามแข่งขันที่ส่งแรงลมแรงเกินจนทำให้ลูกขนไก่ของคู่แข่งของนักกีฬาชาติเจ้าภาพเปลี่ยนแปลงหรือเบี่ยงเบนทิศทางไป ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขัน[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ได้ทำให้แฟนกีฬาของชาติที่เชื่อว่าตนถูกโกงได้พากันเข้าไปเขียนข้อความโจมตีเจ้าภาพและองค์กรกีฬาประเภทนั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและตัดสินทางเฟซบุ๊คและเครือข่ายออนไลน์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จนบางเพจต้องปิดหน้าเพจไป[62] อีกทั้งระบบการจัดการแข่งขันก็ยังถูกวิจารณ์อีกด้วยถึงเรื่องความไม่สะดวกสบาย เช่น ลิฟต์ในที่พักของนักกีฬาที่ต้องรอนานถึงกว่าครึ่งชั่วโมง[63] รวมถึงพิธีเปิดที่มีการแสดงคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ของบรรดานักร้องเค-ป๊อป รวมถึงดารานักแสดงชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก จนทำให้ดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญกับดารามากเกินไป ทั้งที่เป็นพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวเอเชีย[64] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เอเชียนเกมส์ 2014
37°58′N 124°39′E / 37.967°N 124.650°E
|