Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

วัดมหาธาตุ

ปรางค์ประธานในปี พ.ศ. 2566 และวิหารเล็กในปี พ.ศ. 2565
วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)ตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ที่ตั้งของวัดมหาธาตุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)ตั้งอยู่ในประเทศไทย
วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัด
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ความเป็นมา
ผู้สร้างสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
สร้างพ.ศ. 1917
ละทิ้งพ.ศ. 2310
สมัยอยุธยา
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ขุดค้นกรมศิลปากร
สภาพซากปรักหักพัง
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมทุกวัน 08.00-18.30 น.
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมอยุธยา
เกณฑ์วัฒนธรรม: (iii)
ขึ้นเมื่อ1991
เป็นส่วนหนึ่งของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เลขอ้างอิง576
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดมหาธาตุ
ขึ้นเมื่อ8 มีนาคม พ.ศ. 2478
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เลขอ้างอิง0000328

วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโบราณสถานหนึ่งภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางภายในเกาะเมืองอยุธยา ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา

วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุของพระนคร และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสี วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้างและดูแลตลอดเวลา จวบจนถูกทำลายและทิ้งร้างลงหลังเสียกรุงครั้งที่ 2

ประวัติ

พระปรางค์ประธานของวัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2446 ก่อนที่จะพังทลายเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2447

วัดมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ใกล้วัดราชบูรณะ ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ขุนหลวงพะงั่ว เมื่อปี พ.ศ. 1917 แต่ไม่แล้วเสร็จ เสด็จสวรรคตเสียก่อน และได้สร้างเพิ่มเติมจนเสร็จ ในสมัย สมเด็จพระราเมศวร โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์ประธาน และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 1927 ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา

ความสำคัญของวัดมหาธาตุนั้น นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังถือเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางเมืองและเป็นสถานที่จัดพระราชพิธีต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยา โดยมีสมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีประทับอยู่ภายในวัด ส่วนพระสังฆราช ฝ่ายอรัญวาสีนั้น ประทับอยู่ที่วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ ๆ พระศรีศิลป์และจหมื่นศรีสรรักษ์ พร้อมคณะได้ซุ่มพลที่ปรางค์วัดมหาธาตุ ก่อนยกพลเข้าพระราชวังทางประตูมงคลสุนทร เพื่อจับกุมสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปรางค์ของวัดองค์เดิมที่สร้างด้วยศิลาแลง ยอดพระปรางค์ได้ทลายลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดั้งเดิมในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงบูรณะใหม่รวมเป็นความสูง 25 วา เมื่อปี พ.ศ. 2176 และในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2275 - 2301 จนถึงช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 วัดมหาธาตุโดนทำลายจนเหลือเพียงซากปรักหักพังและถูกทิ้งร้าง ต่อมายอดพระปรางค์ได้พังทลายลงมาอีกครั้งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5

สิ่งก่อสร้าง

  1. พระปรางค์ขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ราชทูตลังกาที่ได้เคยมาเยี่ยมชมวัดมหาธาตุ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้ว่า ที่ฐานของพระปรางค์ มีรูปราชสีห์ หมี หงส์ นกยูง กินนร โค สุนัขป่า กระบือ มังกร เรียงรายอยู่โดยรอบ รูปเหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่รายล้อมอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล
  2. เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ลดหลั่นกัน 4 ชั้น 8 เหลี่ยม ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก ซึ่งเจดีย์องค์นี้จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา
  3. วิหารที่ฐานชุกชี ของพระประธานในวิหาร กรมศิลปากรพบว่ามีผู้ลักลอบขุดลงไปลึกถึง 2 เมตร จึงดำเนินการขุดต่อไปอีก 2 เมตร พบภาชนะดินเผาขนาดเล็ก 5 ใบ บรรจุแผ่นทองเบารูปต่างๆ
  4. วิหารเล็ก วิหารเล็กแห่งนี้ มีรากไม้แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนัง รากไม้ส่วนหนึ่งได้ล้อมเศียรพระพุทธรูปไว้
  5. พระปรางค์ขนาดกลางภายในพระปรางค์ มีภาพจิตรกรรม เรือนแก้วซึ่งเป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติ
  6. ตำหนักพระสังฆราช บริเวณพื้นที่ว่างทางด้านทิศตะวันตก เคยเป็นที่ตั้งพระตำหนักพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสี ราชทูตลังกาได้เล่าไว้ว่า เป็นตำหนักที่สลักลวดลายปิดทอง มีม่านปักทอง พื้นปูพรม มีขวดปักดอกไม้เรียงรายเป็นแถวเพดานแขวนอัจกลับ (โคม) มีบังลังก์ 2 แห่ง

จารึกแผ่นดีบุก

เมื่อ พ.ศ. 2500 มีการขุดค้นพบจารึกแผ่นดีบุกบริเวณกรุฐานพระปรางค์ พร้อมกับโบราณวัตถุอีกหลายอย่าง ตัวจารึกเป็นอักษรไทยอยุธยา เนื้อหาโดยสังเขปเป็นคำอุทิศส่วนกุศลจากการหล่อพระพุทธพิมพ์เท่าจำนวนวันเกิด การภาวนา และการบูชาพระรัตนตรัย ตอนท้ายระบุชื่อและอายุของผู้สร้างพระพิมพ์คือ พ่ออ้ายและแม่เฉา อายุ 75 ปี และระบุจำนวนวันตามอายุของตนว่า “..ญิบหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยวัน..” (หมายถึง 27,500 วัน ซึ่งหากคำนวณแล้วจะพบว่าจำนวนวันมากกว่าตามความจริงเล็กน้อย) เนื้อหาในจารึกแผ่นนี้จึงทำให้ทราบถึงการสร้างพระพิมพ์ในสมัยอยุธยาว่า นอกจากจะสร้างเพื่อสืบทอดศาสนาแล้ว ยังมีขนบการสร้างตามจำนวนเท่ากับวันเกิดของตนด้วย[1]

คลังภาพ

อ้างอิง

  1. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/672 จารึกแผ่นดีบุก วัดมหาธาตุ
  • วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

14°21′25″N 100°34′03″E / 14.35694°N 100.56750°E / 14.35694; 100.56750

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9