Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
เครื่องหมายประจำกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเทศ ไทย
รูปแบบราชองครักษ์
บทบาท​ทหารราบ
กำลังรบกรม
กองบัญชาการเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (บก.กรม, กองพันที่ 1, กองพันที่ 2 และ กองพันที่ 3)
สมญากรมทหารล้อมวัง
สีหน่วยน้ำเงิน-ขาว
เพลงหน่วยมาร์ชราชวัลลภ
วันสถาปนา20 มกราคม พ.ศ. 2445
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเวียดนาม
การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลตรี กุลบุตร ปัจฉิม

กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์[1] (อักษรย่อ กรม ทม.ที่ 11 มหด.รอ.) เป็นกรมทหารรักษาพระองค์ สังกัดกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กรมทหารแบ่งออกเป็น 3 กองพัน ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ[2] เดิมมีหน้าที่เฝ้ารักษาการณ์ในพระราชวังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงได้ตั้งเป็นกรมทหารรักษาพระองค์หรือกรมทหารล้อมวังขึ้นมีเครื่องแบบเต็มยศสีน้ำเงินน่าจะมาจากสีชุดของกรมวัง (สำนักพระราชวัง) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเป็นพันเอกพิเศษของกรมทหาร ซึ่งทำให้หน่วยมีความผูกพันกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเป็นผู้บังคับการพิเศษ ปัจจุบัน พลตรี กุลบุตร ปัจฉิม เป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์[3]

ประวัติหน่วย

ประตูทางเข้ากรมทหารราบที่ 11

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งหน่วยราชองครักษ์ขึ้นเพื่อรับใช้และปกป้องสถาบันกษัตริย์โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยอารักขาและดูแลความเรียบร้อยด้านความปลอดภัยภายในราชสำนัก จนทำให้คนทั่วไปเรียกพวกเขาว่า "ทหารล้อมวัง"[4]

1 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ได้ย้ายที่ตั้งหน่วยจากสะพานแดงมาเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเลขที่ 2 หมู่ที่ 3 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประดับธงชัยเฉลิมพลที่ได้รับ คือ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 1 ซึ่งได้รับพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์

นอกจากนี้แล้ว กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ยังเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) รวมถึงเป็นที่พักและบัญชาการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี พ.ศ. 2553[5]

1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 หน่วยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

18 มกราคม พ.ศ. 2562 หน่วยได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

23 เมษายน พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาประกาศชื่อหน่วยเป็น กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เฉพาะกองบังคับการ)[6]

4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เนื่องด้วยมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 จึงมีการเปลี่ยนนามหน่วยอีกครั้งเป็น กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และกองพันขึ้นตรงเรียกนามหน่วยว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาประกาศพระราชกำหนดที่กำหนดให้โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณของกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ไปเป็นของ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ พร้อมกับ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562[7]

การจัดกำลังหน่วย

กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.11 ทม.รอ.) จัดแบ่งกำลังพลภายในหน่วยออกเป็น 3 กองพัน โดยชื่อกองพันเรียกนามหน่วยว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ

  • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทม.ร.11/1 รอ.)
  • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทม.ร.11/2 รอ.)
  • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทม.ร.11/3 รอ.)

เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ประจำหน่วย

การแต่งกายเต็มยศของนายทหารในสังกัดกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์และกองพันที่ขึ้นตรงกับกรมนี้ทุกกองพัน ใช้เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ ทหารล้อมวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์แบบเดียวกันทั้งหมด ดังนี้

  • หมวก หมวกยอดสีขาว มีพู่สีน้ำเงิน หน้าหมวกมีพระตราวชิราลงกรณ์ราชวัลลภ ยอดหมวกและสายรัดคางโซ่ถักทำด้วยโลหะสีทอง
  • เสื้อ สักหลาดหรือเสิร์จสีน้ำเงิน ปลอกคอโดยรอบทำด้วยกำมะหยี่สีดำ ปลอกคอด้านบนมีแถบไหมสีเหลือง 1 แถบ แนวอกมีดุมโลหะสีทองขนาดใหญ่ 7 ดุม ที่ดุมมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ วปร. ที่บ่ามีอินทรธนูอ่อน ขัดดุมสีทองขนาดเล็ก
  • คันชีพ สายสะพาย ทำด้วยหนังสีน้ำตาลแก่ นายทหารทำด้วยไหมสีทอง
  • เข็มขัด ทำด้วยหนังสีน้ำตาล หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทอง มีตราเครื่องหมายราชวัลลภดุนนูน
  • กางเกง สักหลาดหรือเสิร์จสีดำ ที่แนวตะเข็บข้างมีแถบสักหลาดสีแดง 1 แถบ กว้าง 1 ซม. นายทหารสัญญาบัตร 2 แถบ
  • รองเท้า หุ้มข้อหนังสีดำ
  • กระเป๋าคันชีพ ทำด้วยหนังสีน้ำตาล มีพระตราวชิราลงกรณ์ราชวัลลภทำด้วยโลหะสีทอง ติดที่ฝากระเป๋า
  • ชายเสื้อด้านหลัง มีดุมโลหะสีทองขนาดกลางข้างละ 1 ดุม
  • แขนเสื้อด้านข้าง ปลอกข้อมือด้านนอกทั้ง 2 ข้าง ติดอักษรพระปรมาภิไธย วปร.
  • คอสังกัด ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่คอเสื้อด้านซ้ายเป็นเครื่องหมายตราราชวัลลภ คอเสื้อด้านขวาเป็นเครื่องหมายเหล่าทหารราบ

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/100/T_0027.PDF
  2. "ทำไมต้อง 'ราบ 11' ?". 29 March 2010.
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  4. "'ข่าวสด' เผย 'กองทัพบก' เตรียมย้ายที่ตั้งหน่วยทหาร ออกนอกกรุงเทพฯ".
  5. ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน: กันยายน พ.ศ. 2553 ISBN 9789740206521
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/100/T_0027.PDF
  7. พระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๒

แหล่งข้อมูลอื่น

13°51′46″N 100°35′22″E / 13.862808°N 100.589465°E / 13.862808; 100.589465

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9