โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท
โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นนโยบายเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนที่สำคัญของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ภายใต้การกำกับดูแลโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งพรรคเพื่อไทยประกาศเป็นนโยบายหลักในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การดำเนินโครงการนี้ จะเป็นการเติมเงินจำนวนคนละ 10,000 บาท เข้าไปในกระเป๋าเงินดิจิทัลของประชาชนสัญชาติไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อให้ประชาชนนำไปจับจ่ายใช้สอยในร้านค้าภายในอำเภอที่อยู่ของตนที่ระบุในบัตรประจำตัวประชาชน โดยกำหนดให้ใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่เริ่มโครงการ ต่อมาในสมัยรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ได้ปรับรูปแบบโครงการและเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567 และแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
โครงการนี้ถูกวิจารณ์ว่ามีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในการดำเนินโครงการหลายครั้ง ทั้งแหล่งที่มาของเงิน เทคโนโลยีที่ใช้, จำนวนผู้ได้รับสิทธิ และระยะเวลาเริ่มต้นโครงการ รวมถึงเคยถูกวิจารณ์เรื่องการกู้เงินมาแจกให้กับประชาชนโดยไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย และอาจทำให้โครงการถูกยกเลิกในที่สุดอีกด้วย ภูมิหลังก่อนที่จะมีโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัลนี้ เคยมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก่อนแล้วหลายโครงการในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ครม.61 และ ครม.62) เช่น โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (พ.ศ. 2560 - 2561), ชิมช้อปใช้ (พ.ศ. 2562), เราไม่ทิ้งกัน (พ.ศ. 2563) และ คนละครึ่ง (พ.ศ. 2563 - 2564) ซึ่งโครงการเหล่านี้เน้นช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยว และการบริโภคของประชาชนผู้มีรายได้ปานกลาง และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดทั่วประเทศของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และรัฐบาลในขณะนั้นวางโครงสร้างพื้นฐานการใช้ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการทั้งหมดไว้เรียบร้อยแล้ว[2] จุดเริ่มต้นมาจากการประกาศของแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ในงานเปิดตัว "ครอบครัวเพื่อไทย : บ้านหลังใหญ่หัวใจเดิม" ของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งได้ประกาศว่า หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในครั้งถัดไป จะดำเนินการเติมเงินให้กับประชาชนทั่วประเทศอย่างมีเกียรติ และทำให้ประชาชนภาคภูมิใจ[3] ต่อมาในงานเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ได้ประกาศนโยบายเติมเงินอย่างเป็นทางการ โดยจะเติมเงินเข้าไปในกระเป๋าเงินดิจิทัลของประชาชนสัญชาติไทยทุกคน ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ในพื้นที่ร้านค้าชุมชนรัศมี 4 กิโลเมตร มีอายุการใช้งาน 6 เดือน ซึ่งร้านค้าสามารถนำเงินดิจิทัลมาแลกเป็นเงินบาทได้กับธนาคารของรัฐในภายหลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชุมชน นำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับประเทศ[4] จากนั้น เศรษฐาได้ประกาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน ในงาน "คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน ตอน One Team for all Thais : หนึ่งทีมเพื่อไทยทุกคน" ว่า ประชาชนจะได้รับเงินเข้ากระเป๋าเงินดิจิทัลตามเงื่อนไขข้างต้นเป็นจำนวนคนละ 10,000 บาท[5] โดยต่อมา พรรคเพื่อไทยได้แจ้งที่มาของแหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งว่า มาจากการบริหารงบประมาณ และการเก็บภาษี ประกอบด้วย
โดยคิดเป็นเงินจำนวน 560,000 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและสถานการณ์ด้านการคลังของประเทศ[6] ภายหลังจากเศรษฐา ทวีสิน ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เศรษฐาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทโดยเฉพาะ[7] โดยเศรษฐาได้ประกาศว่าจะเริ่มต้นโครงการนี้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[8] และในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เศรษฐาได้แถลงว่าโครงการนี้เป็น 1 ใน 5 นโยบายระยะเร่งด่วนของรัฐบาล[9] การดำเนินโครงการในการประชุมนัดแรกของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยเป็นตัวแทนของกระทรวงการคลังในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือกับสำนักงบประมาณ, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และธนาคารออมสิน เพื่อศึกษารายละเอียด กำหนดเงื่อนไข และแนวทางในการดำเนินโครงการ[10] โดยได้มีการประชุมดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 และ 27 กันยายน[11][12] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีองค์ประกอบดังนี้[13]
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม คณะกรรมการนโยบายโครงการได้จัดการประชุมนัดแรก (ครั้งที่ 1/2566) ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อพิจารณารายละเอียดของโครงการ โดยมีจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ[14] และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการได้จัดการประชุมนัดแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม[15] ซึ่งคณะอนุกรรมการได้มอบหมายภารกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปดำเนินการ เช่น สมาคมธนาคารไทยจัดหาผู้จัดทำระบบเติมเงินที่มีเงื่อนไขผ่านทางกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งต่อมาเปิดเผยว่าเป็น "โปรแกรมประยุกต์พิเศษแห่งชาติ"[16], สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบและป้องกันการทุจริต, กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลองค์การตลาด ช่วยยืนยันร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ[17] นโยบายเบื้องต้นในเบื้องต้น โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเป็นการเติมเงินจำนวนคนละ 10,000 บาท ให้กับประชาชนสัญชาติไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวนประมาณ 54.8 ล้านคน จำนวน 1 ครั้ง[18] โดยประชาชนสามารถนำเงินดิจิทัลไปใช้จ่ายได้ภายในรัศมี 4 กิโลเมตร ยึดจากที่อยู่ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนของตน ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ[19] โดยใช้งบประมาณอย่างมากจำนวน 548,000 ล้านบาท[20] โครงการจะเริ่มต้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยเป็นการเปิดให้ร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนยืนยันตัวตนในลำดับถัดไป[21] โดยประชาชนทุกคนที่อยู่ในเงื่อนไขข้างต้น และยืนยันตัวตนผ่านกระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า (KYC) ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว สามารถยืนยันการรับสิทธิ์ในโครงการนี้ได้ทันที[22] ทั้งนี้ หากมีผู้ขอไม่รับสิทธิ์ เงินที่เหลือจะถูกส่งคืนกระทรวงการคลังเพื่อเป็นงบประมาณแผ่นดินต่อไป[20] โครงการนี้มีกำหนดเริ่มต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[8] โดยประชาชนสามารถใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้ทุกประเภท ยกเว้นสิ่งของเกี่ยวกับอบายมุข รวมถึงสินค้าออนไลน์ และไม่สามารถนำไปใช้หนี้ได้[23] โดยประชาชนสามารถใช้เงินจำนวนนี้ได้ผ่านโปรแกรมประยุกต์พิเศษแห่งชาติที่พัฒนาโดยผู้พัฒนาที่สมาคมธนาคารไทยมอบหมาย ซึ่งเก็บข้อมูลผ่านระบบบล็อกเชน[16] และจะทยอยเปิดฟังก์ชันต่าง ๆ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม[24] ส่วนประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนคู่กับคิวอาร์โค้ดส่วนตัว โดยจะมีการผูกในระบบอยู่แล้ว[23] ส่วนร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี สามารถนำเงินจากการใช้จ่ายในโครงการนี้ไปแลกเป็นเงินสดได้[25] การปรับปรุงอย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566 จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้เปิดเผยภายหลังจากการประชุมคณะอนุกรรมการครั้งที่ 2/2566 ว่า ที่ประชุมเสนอแนวทางปรับกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการนี้ 3 แนวทาง คือ
ส่วนรัศมีในการใช้จ่าย คณะอนุกรรมการได้มีข้อสรุปว่าจะขยายให้ใช้จ่ายได้ภายในอำเภอที่ระบุไว้ในบัตรประจำตัวประชาชนของแต่ละคน ส่วนร้านค้าที่สามารถขึ้นเงินได้ จะต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี 3 ประเภท ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยยังไม่มีข้อสรุปเรื่องแหล่งที่มาของงบประมาณในโครงการ แต่ใช้งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2567 เป็นพื้นฐาน ซึ่งอาจทำให้ต้องเลื่อนการเริ่มต้นโครงการออกไปอีก 2 เดือน เป็นช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2567[26] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายครั้งที่ 2/2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบาย ได้แถลงปรับหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ตามความเห็นที่ได้รับฟังมาทั้งหมด โดยปรับเป็นการเติมเงินให้กับประชาชนที่อายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน และ/หรือ มีเงินฝากน้อยกว่า 500,000 บาท คิดเป็นจำนวนประชากรผู้ได้รับจำนวนประมาณ 50 ล้านคน ตามคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเติมเงินเข้าไปในกระเป๋าเงินดิจิทัล โดยการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้จะใช้แอปพลิเคชันที่พัฒนาต่อยอดจากแอปพลิเคชันเป๋าตัง โดยมีระบบบล็อกเชนเข้ามาช่วยลดการทุจริต โดยสามารถใช้เงินจำนวนนี้ได้สำหรับเฉพาะการซื้อของอุปโภคบริโภคเท่านั้น และให้ใช้สิทธิ์ครั้งแรกภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากที่โครงการเริ่ม นอกจากนี้ยังปรับรัศมีการใช้จ่ายเป็นในระดับอำเภอ ส่วนงบประมาณจะแบ่งใช้เป็น 2 ส่วน รวมจำนวนประมาณ 600,000 ล้านบาท โดยเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการซึ่งคิดเป็น 500,000 ล้านบาท จะมาจากการออกพระราชบัญญัติกู้เงิน ซึ่งต้องผ่านการตีความทางกฎหมายโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา และนำเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท จะดึงงบประมาณแผ่นดินมาสมทบเข้ากองทุนเสริมสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (New S Curve) เพื่อดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ามาลงทุนในประเทศ ทำให้คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567[27] ซึ่งต่อมาเศรษฐาและจุลพันธ์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าหากพระราชบัญญัติกู้เงินข้างต้นไม่สามารถประกาศใช้ได้ กระทรวงการคลังก็ยังไม่มีแผนสำรองในการดำเนินโครงการดังกล่าว นอกจากนี้ รัฐบาลยังออกโครงการ e-Refund ให้ประชาชนลดหย่อนภาษีเงินได้จากการซื้อสินค้าและบริการ มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท โดยให้ใช้ใบกำกับภาษีมาประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วรัฐจะคืนเงินให้ ซึ่งบุคคลที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สามารถเข้าร่วมโครงการ e-Refund แทนได้ และจะทำให้ร้านค้าเข้าระบบภาษีดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย[28] โดยเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 และสิ้นสุดโครงการในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รวมระยะเวลา 45 วัน[29] ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการนี้ในชื่อ Easy E-Receipt ในการประชุมสัญจรเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566[30] ต่อมาคณะกรรมการนโยบายได้รับหนังสือข้อเสนอแนะและความเห็นเกี่ยวกับโครงการจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 มีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาข้อเสนอแนะและความเห็นของทั้ง 2 หน่วยงานข้างต้น โดยมีกรอบระยะเวลาศึกษาภายใน 30 วัน[31] จากนั้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายครั้งที่ 2/2567 กระทรวงการคลังได้เสนอความเป็นไปได้ของแหล่งเงินในการดำเนินโครงการ โดยที่ประชุมจะพิจารณาทางเลือกแหล่งเงินในภายหลัง และมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเป็นไปตามข้อความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ และระบุว่าจะมีการแถลงข่าวอีกครั้งในวันที่ 10 เมษายน[32] นโยบายจริงรัฐบาลเศรษฐาการแถลงในรอบแรกต่อมาเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายครั้งที่ 3/2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบาย ได้แถลงข่าวเปิดตัวโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท อย่างเป็นทางการ โดยจะมีประชากรผู้ได้รับเงินจำนวนประมาณ 50 ล้านคน รวมเป็นวงเงินในโครงการจำนวน 500,000 ล้านบาท และกำหนดให้ใช้จ่ายในร้านค้าที่ลงทะเบียนไว้ ทั้งนี้ จะเปิดให้ลงทะเบียนร้านค้าในไตรมาสที่ 3 และเริ่มต้นโครงการในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2567[33] ส่วนแหล่งเงินในการดำเนินโครงการนั้น ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงว่า จำนวนแหล่งเงิน 500,000 ล้านบาทนี้ มาจากแหล่งงบประมาณแผ่นดินของไทยทั้งหมดโดยไม่มีการออกพระราชบัญญัติกู้เงิน แบ่งเป็นจำนวน 3 ส่วน ดังนี้[34]
ส่วนแนวทางการดำเนินโครงการ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงเพิ่มเติมดังนี้
โดยคณะกรรมการนโยบายมีมติเห็นชอบทุกประเด็นข้างต้น และมอบหมายให้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานเลขานุการ นำมติดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63[35] และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567[36] การแถลงในรอบที่ 2
รัฐบาลแพทองธารหลังจากที่เศรษฐา ทวีสิน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนจากนายกรัฐมนตรี จากกรณีทูลเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีที่เคยต้องโทษอาญาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนถัดมา ยืนยันว่า คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 ของตน จะยังคงดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทไว้เหมือนเดิม แต่มีการปรับรูปแบบเล็กน้อยและเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
เส้นเวลา
การตอบรับการสนับสนุน
ข้อวิจารณ์ในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย (ในขณะนั้น) ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งให้วินิจฉัยว่า โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนในการชี้แจงแหล่งที่มาของเงินในโครงการหลายส่วน[50] ภายหลังเสร็จสิ้นการจัดตั้งรัฐบาล กรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุถึงโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทว่า ให้สังเกตประมาณการสถานะทางการเงินล่าสุดของประเทศให้ดี เนื่องจากที่มาของเงินในโครงการนี้จำเป็นต้องกู้หรือยืมเงินจากรัฐวิสาหกิจ และปัจจุบันรัฐบาลมีหนี้สินอยู่ 11 ล้านล้านบาท รัฐบาลต้องออกพันธบัตรใหม่มาชำระชุดเก่าตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุน และเพิ่มภาระงบประมาณ ทำให้ดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากหลากหลายปัจจัย รวมถึงรายจ่ายจากนโยบายดังกล่าว ถึงแม้ประเทศไทยจะมีหนี้ของสกุลเงินต่างประเทศในระดับต่ำ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของโลกที่ต้องระวัง[51] ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า หากรัฐบาลจะกู้เงินจากธนาคารออมสินซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ มาเป็นงบในโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยไม่ได้มาจากงบประมาณแผ่นดินตามที่เคยหาเสียง ข้อดีคือหนี้ของธนาคารของรัฐจะไม่ถูกนับเป็นหนี้สาธารณะ แต่มีข้อเสียคือต้องจ่ายเงินคืนธนาคารออมสินทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เบียดบังงบประมาณส่วนอื่น ๆ ในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพียงมติ ครม. ในการกู้เงินได้ทันที โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบใด ๆ และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการกู้เงินต่อสาธารณะ[52] นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 99 คน ร่วมออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท และระบุเหตุผล 8 ข้อที่แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้ "ได้ไม่คุ้มเสีย" ทั้งนี้ มีอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 2 คน คือ วิรไท สันติประภพ และ ธาริษา วัฒนเกส ร่วมลงชื่อคัดค้านโครงการดังกล่าวด้วย[53] ทำให้ต่อมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาโครงการนี้ โดยเชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ และผู้แทนจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อศึกษารายละเอียดโครงการ และเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการทุจริตหรือผลกระทบด้านเศรษฐกิจในระยะยาวตามแถลงการณ์ของนักวิชาการข้างต้น ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[54] วิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ยื่นคำร้องพร้อมความเห็นของนักวิชาการข้างต้นแก่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้วินิจฉัยพร้อมส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครอง ให้ตรวจสอบว่า โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 หรือไม่ โดยเบื้องต้นผู้ตรวจการแผ่นดินรับเรื่องไว้พิจารณา[55] ประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบจากการดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงอย่างยั่งยืนของฐานะทางการเงินการคลังของรัฐ ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561[56] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบุคคลที่ยื่นคำร้องต่อองค์กรอิสระเพื่อให้สั่งระงับการดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เช่น นายแพทย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี ยื่นคำร้องไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินให้ส่งเรื่องไปยังศาลปกครองเพื่อให้มีคำสั่งระงับการดำเนินโครงการ[57], รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา ที่ยื่นคำร้องไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 จัดประชุมร่วมกันเพื่อวินิจฉัยระงับการดำเนินโครงการ[58] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลกรณีโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยมีคณะกรรมการจำนวน 30 คน และมีกรรมการ ป.ป.ช. 2 คน คือ สุภา ปิยะจิตติ เป็นประธานกรรมการ และสุวณา สุวรรณจูฑะ เป็นรองประธานกรรมการ[59] ทั้งนี้ สุภา ปิยะจิตติ มีฉายาว่า "มือปราบจำนำข้าว" เนื่องจากเคยเป็นประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นผู้เปิดเผยว่าโครงการนี้ทำให้มีข้าวสารหายไปจากระบบจำนวน 1,000,000 ตัน[60] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ภายหลังการแถลงแนวทางการดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาล แล้วพบว่าแหล่งที่มาในการดำเนินโครงการมาจากการออกพระราชบัญญัติกู้เงิน ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้แสดงความกังวลอีกว่า ในที่สุดอาจไม่มีใครได้รับเงิน 10,000 บาทแม้แต่คนเดียว เพราะการออกพระราชบัญญัติกู้เงินดังกล่าวขัดต่อมาตรา 140 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 53 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่มากพอสำหรับใช้เป็นเหตุผลในการกู้เงิน ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ดำเนินการออกร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2,000,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมใช้ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น (สายเหนือ) แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ร่างตกไปเนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน และเรื่องนี้ทั้งนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทยก็รับรู้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ตนและพรรคก้าวไกลไม่สนับสนุนให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เนื่องจากต้องการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการวินิจฉัยให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไปตั้งแต่ต้น[61] อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกัน ศรีสุวรรณ จรรยา ซึ่งเปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ได้ประกาศยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินในวันที่ 13 พฤศจิกายน เวลา 10.00 น. เพื่อขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า การออกพระราชบัญญัติกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ขัดต่อมาตรา 140 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 53 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ข้างต้นหรือไม่[62] ภายหลังจากแพทองธาร ชินวัตร ได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ส่งผลให้เกิดกระแสวิจารณ์ว่า เศรษฐา ทวีสิน อาจเป็นนายกรัฐมนตรีขัดตาทัพที่จะต้องผลักดันโครงการนี้ให้เสร็จ ไม่ว่าจะกู้เงินโดยการออกเป็นพระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติก็ตาม และภายหลังผลักดันโครงการนี้สำเร็จ อาจเป็นไปได้ที่เศรษฐาจะลาออก เพื่อเปิดทางให้แพทองธารขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโครงการดังกล่าว[63] เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ หากอ้างว่าโครงการนี้เร่งด่วน ต้องออกเป็นพ.ร.ก. เพราะออกเป็นพ.ร.ก.สามารถบังคับใช้ได้ทันที แต่การออกเป็นพ.ร.บ.จะทำให้ล่าช้า และมีปัญหาในภาคปฎิบัติ[64][65] ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้แถลงข่าววิเคราะห์ผลงานรัฐบาลหลังจากเข้ารับตำแหน่งครบ 100 วัน โดยได้จัดให้โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทเ ป็นผลงานประเภท "คิดไปทำไป" เนื่องจากที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการอย่างน้อย 4 ครั้ง ทั้งเรื่องแหล่งที่มาของเงินในโครงการ, เทคโนโลยีที่ใช้, จำนวนผู้ได้รับสิทธิ และระยะเวลาเริ่มต้นโครงการ พร้อมเสนอแนะว่าหลังจากนี้รัฐบาลควรมีแผนสำรองในกรณีที่โครงการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ หรือติดปัญหาในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนโครงการนี้ควรมีความชัดเจนและไม่มีการปรับเปลี่ยนอีก และควรมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นเพิ่มเติม[66] ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เหมาะกับกลุ่มเปราะบางมากกว่า เพราะหลายกลุ่มมีรายได้ฟื้นตัวเกินจุดและมีท่าที่จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง[67][68][69] บทบาทของคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ในการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประธานกรรมาธิการ มีวาระสำคัญคือการพิจารณาโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่เข้ามาให้ข้อมูล โดยระบุว่าโครงการนี้มีความจำเป็นน้อย เพราะการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้สูง และแรงงานก็ฟื้นตัว[70][71] ต่อมาเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วีระ ธีระภัทรานนท์[72] ในฐานะกรรมาธิการ ระบุว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถจัดการโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทไม่ดี จะสุ่มเสี่ยงก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในอนาคต[73] เนื่องจากการตั้งงบประมาณในครั้งนี้เป็นการตั้งงบขาดดุลที่สูงจนติดเพดานงบประมาณขาดดุลในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน[74] ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|