พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) (21 เมษายน พ.ศ. 2410 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2504) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ระหว่าง 1 เมษายน พ.ศ. 2465 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 รับตำแหน่งสืบต่อจากเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)
ประวัติ
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2410 ณ จวนเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ซึ่งเดิมเป็นวังเจ้านคร จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็นศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ) เป็นบุตรคนที่ 5 ของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พร้อม ณ นคร) และเป็นบุตรคนเดียว ที่เกิดกับหม่อมนิ่ม ณ นคร
พี่น้องต่างมารดา ของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต มีจำนวน 18 คน ดังนี้
- คุณหญิงนุ้ยใหญ่ ณ ถลาง (ภรรยาพระยาสุนทราทรธุรกิจปรีชา หมี ณ ถลาง)
- พระยานครกุลเชษฐ์มเหศรภักดี (เอียด ณ นคร)
- นายชื่น ณ นคร
- คุณนิล ณ นคร
- เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
- นายแดง ณ นคร
- คุณตลับ ณ นคร
- คุณลิ้นจี่ ณ นคร ภรรยา พระพิสัยฯ
- คุณขาว ณ นคร
- คุณนุ่ม ณ นคร
- คุณพริ้ง เภกะนันทน์ ภรรยา อำมาตย์โท พระวุฒิศาสตร์วินิจฉัย (ชิต เภกะนันทน์)
- พระยาสุรเทพภักดี (พร้อม ณ นคร)
- ขุนบริรักษ์ภูเบศร์ (แกะ ณ นคร)
- คุณแห้ว ณ นคร
- นายกลั่น ณ นคร
- คุณผ่อง ณ นคร
- คุณลวาด ณ นคร
- คุณจำเริญ ณ นคร
- นายไข่ ณ นคร
ในวัยเยาว์ ได้ศึกษาหนังสือไทยและขอม ในสำนักเรียนครูคง เมืองนครศรีธรรมราช กับเรียนวิชาเลขไทย ในสำนักขุนกำจัดไพริน (เอี่ยม) จนถึงอายุ 13 ปี เมื่อได้ตัดจุกแล้ว ก็บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาย้ายไปอยู่วัดใหม่กาแก้ว มีพระครูเทพมุนี (แก้ว) เป็นอุปัชฌาย์
ถึงปี พ.ศ. 2423 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ออกไปเมืองนครศรีธรรมราช จึงขอตัวท่านให้เข้ามารับราชการกับท่านที่กรุงเทพฯ ต่อมาก็ได้อยู่กับเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) และได้ถวายตัวเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) เมื่อ พ.ศ. 2431 เป็นนักเรียนนายร้อย เลขประจำตัว 3 ของประเทศไทย ได้ศึกษา ณ พระราชวังสราญรมย์ จนสำเร็จการศึกษา และเลื่อนยศเป็นร้อยตรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2432
หลังจากนั้นจึงรับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และความสามารถ จนมีความเจริญในราชการเป็นลำดับ คือ เป็นปลัดทัพบก ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2446[1], เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2453 , เป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2464 จนได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในที่สุด เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465
ในระหว่างรับราชการ ได้เคยรับพระบรมราชโองการให้เป็นหัวหน้า ออกไปตรวจการที่ภาคพายัพ เพื่อจัดตั้งกองทหารในภาคนี้ และทำการปราบเงี้ยว ครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2445 ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เดินทางออกไปดูการประลองยุทธใหญ่ ที่ประเทศญี่ปุ่น และเมือ พ.ศ. 2453 ก็โปรดฯให้เป็นผู้ไปไต่สวนพวกจีน ที่จังหวัดแพร่ ซึ่งรวมตัวจะไปช่วยพวกกบฏที่ประเทศจีนกบฏ ร.ศ. 130[2] นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี ทั้งในรัชกาลที่ 6 และสืบมาถึงรัชกาลที่ 7 ด้วย
ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2469 เพราะป่วย หลังจากนั้นก็ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ณ บ้านของท่านซึ่งได้รับพระราชทาน ชื่อ "บ้านมหาโยธิน" ที่ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ และบริจาคเงินบำรุงศาสนวัตถุ เช่นสร้างโบสถ์, ศาลาการเปรียญ, หล่อพระประธาน ไว้ประดิษฐานยังวัดทั้งในกรุงเทพฯ และบ้านเดิม นครศรีธรรมราช หลายคราว
อนึ่ง เมื่อมีการพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น ท่านเมื่อครั้งเป็น พลโท พระยาวรเดชศักดาวุธ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุลด้วยผู้หนึ่ง ทรงพิจารณาเห็นว่า วงศ์สกุลของท่าน ล้วนแต่ได้ดีมีชื่อเสียงกันจากนครศรีธรรมราชแทบทั้งนั้น จึงพระราชทานให้นามสกุลว่า "ณ นคร" (na Nagara)[3] โดยมีคำว่า "ณ" เทียบกับคำว่า "De" ของสกุลขุนนางฝรั่ง สกุลนี้ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2456
ด้านครอบครัว เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต สมรสกับท่านผู้หญิงเลียบ ธิดาหลวงสุนทรสินธพ (จอ ปัจฉิม) มีบุตร-ธิดารวม 4 คน คือ[4]
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2504 และ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505[5]
ยศ/บรรดาศักดิ์
- ยศ
- จ่านายสิบ
- วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2432 เป็นร้อยตรี[6]
- วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 เป็นร้อยเอก[7]
- วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 เป็นพันตรี[8]
- วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 เป็นพันโท[9]
- วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 เป็นพันเอก[10]
- วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2455 เป็นพลโท[11]
- วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2462 เป็นพลเอก[12]
- 2 มิถุนายน 2462 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก[13]
- 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 นายกองตรีเสือป่า[14]
- บรรดาศักดิ์
- วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2440 เป็น หลวงรวบรัดสปัตรพล ถือศักดินา 800[15]
- วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2444 เป็น พระสุรเดชรณชิต ถือศักดินา 1000[16]
- วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 เป็น พระยาวรเดชศักดาวุธ[17]
- วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็น พระยาสีหราชเดโชไชย อภัยพิริยบรากรมพาหุ เจ้ากรมอาษาใหญ่ขวา ถือศักดินา 10000[18]
- 10 ตุลาคม 2456 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[19]
- 13 ตุลาคม 2456 – กราบถวายบังคมลาไปสิงคโปร์เพื่อรับเสด็จ จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ที่เสด็จกลับจากรักษาพระองค์ที่ยุโรป[20]
- วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏ ว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต อดิศรมหาสวามิภักดิ์ อุดมศักดิ์เสนาบดี ศรีธรรมราชกุลพงศ์ ดำรงราชวรฤทธิ์ สัตยสถิตย์อาชวาศัย พุทธาทิไตรย์สรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10000[21]
ตำแหน่ง
- – ราชองครักษ์เวร
- 25 พฤศจิกายน 2456 – ราชองครักษ์พิเศษ[22]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[23]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ "แจ้งความกรมยุทธนาธิการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
- ↑ "rakbankerd.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 2 เก็บถาวร 2021-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 6 กรกฎาคม 2456, หน้า 691
- ↑ "rta.mi.th". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11.
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "ประกาศกรมยุทธนาธิการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหาร (หน้า 282)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "พระราชทานยศทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
- ↑ "พระราชทานยศนายเสือป่า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์, เล่ม 30, ตอน ง, 22 มิถุนายน 2456, หน้า 592
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2021-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 39, 19 พฤศจิกายน 2465, หน้า 320-324
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ "พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม)". nakhonfocus.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๙๙, ๖ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๗, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๗, ๑๘ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๕, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๖๑๗, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๒๖, ๒ มกราคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๔, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๓ เมษายน ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
|
---|
| |
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม |
---|
|
|