Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อำเภอโพนพิสัย

อำเภอโพนพิสัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phon Phisai
ริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอโพนพิสัย
ริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอโพนพิสัย
คำขวัญ: 
หลวงพ่อพระเสียงคู่บ้าน ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค
แผนที่จังหวัดหนองคาย เน้นอำเภอโพนพิสัย
แผนที่จังหวัดหนองคาย เน้นอำเภอโพนพิสัย
พิกัด: 18°1′19″N 103°4′38″E / 18.02194°N 103.07722°E / 18.02194; 103.07722
ประเทศ ไทย
จังหวัดหนองคาย
พื้นที่
 • ทั้งหมด642.7 ตร.กม. (248.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด98,258 คน
 • ความหนาแน่น152.88 คน/ตร.กม. (396.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 43120
รหัสภูมิศาสตร์4305
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอโพนพิสัย เลขที่ 1111 หมู่ที่ 1 ถนนพิสัยสรเดช ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 43120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

โพนพิสัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย อดีตเป็นอำเภอที่เคยมีอาณาเขตพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งพื้นที่อำเภอโพนพิสัยเดิมครอบคลุมพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย[1][2] อำเภอปากคาด[3][4] จังหวัดบึงกาฬ อำเภอเฝ้าไร่[5] และอำเภอรัตนวาปี[6][7] จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน ซึ่งแยกการปกครองออกเรื่อยมา

หลวงพ่อพระเสี่ยง วัดมณีโคตร ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
ตำบลจุมพล
ทะเลสาบ (หนอง) ในอำเภอโพนพิสัย

ประวัติ

ในปีพ.ศ. 2369 – 2370 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (เจ้าอนุวงศ์) แห่งเวียงจันทน์ แข็งเมืองบุกมาถึงนครราชสีมา และถูกยันทัพกลับไปล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นแม่ทัพหลวง เจ้าพระบดินทรเดช (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกมหาดไทยเป็นแม่ทัพหน้าปราบเวียงจันทน์ได้ครั้งที่ 1 แต่เจ้าอนุวงศ์หนีไปได้ จนสมุหนายกกรีฑาทัพมาปราบครั้ง 2 ตั้งทัพอยู่ค่ายพานพร้าว (บริเวณ นปข.ปัจจุบัน) และถูกหลอกล่อจนค่ายแตกหนีไปเมืองยโสธร คู่อริต่อเวียงจันทน์ดั้งเดิมจึงตามมาสมทบ เช่น บุตรหลานพระวอ-พระตา แห่งอุบลราชธานี และบุตรหลานจารย์แก้วแห่งสุวรรณภูมิ ช่วยเจ้าคุณสมุหนายกถล่มเวียงจันทน์จน "ฮ้างดังโนนขี้หมาจอก" หน่วยโสถิ่ม (กล้าตาย) นำโดย ท้าวสุวอธรรม (บุญมา) อุปฮาดยโสธร หลังศึกเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายกรุงเทพฯ มีนโยบายอพยพผู้คนมาฝั่งภาคอีสานจึงยุบเมืองเวียงจันทน์ปล่อยให้เป็นเมืองร้าง ชาวเมืองเวียงจันทน์บางส่วนก็อพยพมาภาคกลางและบางส่วนก็อยู่ที่บริเวณเมืองเวียงคุก เมืองปะโค (อำเภอเมืองหนองคายในปัจจุบัน) เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านไผ่หรือบ้านหนองไผ่ ขึ้นเป็นเมืองหนองค่าย(คำว่า "หนองคาย" ถูกเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "หนองค่าย" ซึ่งมีความหมายโดยตรงว่า "หนองน้ำบริเวณที่ตั้งของค่ายทหาร" ซึ่งคำว่าหนองค่ายถูกเรียกเพี้ยนเป็น"หนองคาย"ใน สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่นั้นมา)[8] ต่อมาโปรดเกล้าให้ ท้าวสุวอธรรม (บุญมา) เป็น พระปทุมเทวาภิบาลที่ 1 แห่งเมืองหนองคาย ต้นตระกูล ณ หนองคาย และ ท้าวตาดี บุตร พระยาขัติยวงษา (สีลัง) แห่งเมืองร้อยเอ็ด เชื้อสายเจ้าจารย์แก้ว ได้เป็นเจ้าเมืองโพนพิสัยคนแรก จากความดีความชอบที่ได้รับบัญชาจากเจ้าคุณแม่ทัพมาสกัดเจ้าอนุวงศ์ เพื่อมิให้หนีไปญวนอีก โดยตั้งทัพอยู่บ้านโพนแพง จึงเรียกกันว่า "เจ้าโพนแพง" ครั้นเสร็จศึกจึงยกเป็น "เมืองโพนแพง" ท้าวตาดีได้เป็น พระพิชัยสุริยวงศ์ เจ้าเมืองคนแรก ต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน เมื่อ พ.ศ. 2373 ต้นตระกูล พิสัยพันธ์,สิงคศิริ,สิมะสิงห์,สิริสิงห์ สืบมาจะเป็นด้วยเหตุใดไม่ชัดแจ้ง พระพิชัยสุริยวงศ์ (ตาดี) ได้ย้ายที่ตั้งเมืองจากโพนแพงมาอยู่ ณ เมืองปากห้วยหลวงเก่า ซึ่งคงจะร้างในสมัยนั้น และเอาชื่อเมืองโพนพิสัยมาตั้งที่นี่ พื้นที่ตำบลโพนแพงก็ห่างไกล จึงขอยก " บ้านหนองแก้ว" ขึ้นเป็น"เมืองรัตนวาปี" อีกเมืองหนึ่ง หลังจากเสร็จศึกเจ้าอนุวงศ์และก่อตั้งเมืองหนองคายได้ไม่นาน เมืองหนองคายได้รับฐานะเป็นเมืองเอกโดยยุบเมืองเวียงจันทน์(ร้าง)ซึ่งพึ่งถูกทัพสยามทำลายไปให้เป็นเมืองจัตวามาขึ้นกับเมืองหนองคาย และ ณ. ขณะนั้น ทั้งเมืองหนองคาย และ เมืองโพนพิสัย ไม่ได้ขึ้นตรงต่อกัน แต่ล้วนเป็นเมืองเอกขึ้นกับกรุงเทพทั้งคู่ โดยเมืองโพนพิสัยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ อำเภอโพนพิสัย,อำเภอรัตนวาปี,อำเภอเฝ้าไร่ ของจังหวัดหนองคาย อำเภอเพ็ญ,อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมือง (บ้านบึงกาญจน์),อำเภอโซ่พิสัย,อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ของประเทศไทย เเละบางส่วนของเเขวงบอลิคำไซ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน[9][10][11][12]

ในปีพ.ศ. 2389 วันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 พระยาขัติยวงษาสีลัง เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ป่วยและถึงแก่กรรม อุปฮาดสิงห์ ราชวงศ์อินบุตร จึงพาเจ้าเพี้ยลงมากรุงเทพฯ พบกับพระพิชัยสุริยวงศ์(ท้าวตาดี)เจ้าเมืองโพนพิสัย ซึ่งเป็นพี่ชายของพระขัติยวงษาอินทร์และอุปฮาดสิงห์ และเป็นบุตรของพระยาขัติยวงษาสีลัง พระพิชัยสุริยวงศ์จึงพาอุปฮาดราชวงศ์ท้าวเพี้ย กรมการเมืองร้อยเอ็ด ลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระพิชัยสุริยวงศ์เจ้าเมืองโพนพิสัย กลับไปรักษาราชการเมืองร้อยเอ็ด พระพิชัยสุริยวงศ์จึงให้บุตรหลานรักษาการเมืองโพนพิสัยแทน ครั้นพระพิชัยสุริยวงศ์ลงไปถึงเมืองร้อยเอ็ด จัดการเผาศพพระยาขัติยวงษาสีลังพระบิดาเสร็จแล้ว คืนวันหนึ่งอุปฮาดสิงห์ผู้เป็นน้องชายได้ตั้งบ่อนโป นัดให้พระพิชัยสุริยวงศ์กับพวกนักเลงมาเล่นที่หอนั่งบ้านพระยาขัติยวงษา ครั้นเวลาดึกมีคนมาลอบแทงพระพิชัยสุริยวงศ์ถูกที่สีข้างซ้าย ถึงแก่กรรม ได้ความว่าอุปฮาดสิงห์เกี่ยวข้องในคดีนี้ ครั้นความทราบถึงกรุงเทพฯ จึงมีตราโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองสุวรรณภูมิส่งตัวอุปฮาดสิงห์และบรรดาบุตรหลานของพระยาขัติยวงษา ลงมากรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯให้ตุลาการชำระคดี อุปฮาดสิงห์ พิจารณาได้ความเป็นสัตย์ว่าอุปฮาดสิงห์เป็นผู้ใช้ให้จีนจั้นมาแทงพระพิชัยสุริยวงศ์ อุปฮาดสิงห์เลยต้องถูกจำคุกตายอยู่ในที่คุมขัง พระพิชัยสุริยวงศ์ซึ่งป็นพี่ชายต่างมารดากับอุปฮาดสิงห์และราชวงศ์อินทร์ ราชวงศอินทร์ภายหลังเป็นพระยาขัติยวงษา(อินทร์ ธนสีลังกูร)เจ้าเมืองร้อยเอ็ดท่านที่ 3 อีกทั้งพระพิชัยสุริยวงศ์(ท้าวตาดี)ยังเป็นน้องร่วมมารดากับญาแม่ปทุมมา ซึ่งเป็นย่าของพระเจริญราชเดช (ท้าวอุ่น ภวภูตานนท์) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 3 ต่อมาได้มีการสืบสวนข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่พึงเชื่อถือได้แน่นอน ปรากฏว่าอุปฮาดสิงห์หาได้เป็นผู้วางแผนฆ่าพระพิชัยสุริยวงศ์ ตามที่เล่ามานั้นไม่ เมื่อพิจารณาจากเหตุผลจากสิ่งแวดล้อมต่างๆแล้ว เห็นว่ามีอยู่หลายกรณีที่อ้างอิงประกอบได้ เช่น คราวที่พระยาพิชัยฯ พร้อมอุปฮาดสิงห์ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลข่าวการอสัญกรรมของพระยาขัติยวงษาสีลังผู้บิดานั้น อุปฮาดสิงห์ก็ได้กราบบังคมทูลสนับสนุนพี่ชายเป็นอย่างดี จนได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพิชัยสุริยวงศ์กลับมารับราชการเมืองร้อยเอ็ด และโดยปกติสองพี่น้องนี้มีความรักใคร่ปรองดองกันดีมาก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจีนจั้นผู้แทงพระพิชัยฯ ก็เคยมีอริวิวาทกันกับพระพิชัยฯ มาช้านาน อนึ่งตามเนื้อเรื่องที่ว่า “พิจารณาได้ความเป็นสัตย์ว่าอุปฮาดสิงห์ ได้ให้จีนจั้นแทงพระพิชัยฯ และอุปฮาดสิงห์เลยต้องจำตายอยู่ในที่คุมขัง” จากข้อเท็จจริงโดยคำยืนยันของพระเจริญราชเดช (อุ่น) หลานญาแม่ปทุมมาซึ่งเป็นพี่สาวของพระพิชัยฯ เอง ได้ความชัดว่าอุปฮาดสิงห์ได้ดื่มยาพิษถึงแก่กรรมในระหว่างทางก่อนจะถึงกรุงเทพฯ ใกล้เมืองนครราชสีมา และญาติได้ค้นพบจดหมายลาตาย ถึงภรรยาว่า “เราไม่เคยคิดขบถต่อเจ้าพี่โพนแพงเลย ตายเองดีกว่าที่จะถูกคนอื่นประหาร เลี้ยงลูกใหดีจนได้ไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีก” ส่วนจีนจั้นนั้นรับสารภาพและไม่มีการซัดทอดผู้ใดเลย เป็นอันว่าอุปฮาดสิงห์เป็นผู้บริสุทธิ์โดยแท้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระบบการพิจารณาคดีของสยามหรือไทยในสมัยก่อนที่ยังมีข้อบกพร่องในการหาหลักฐานและความไม่ชัดเจนในการตัดสินคดีอยู่พอสมควร[13]

ในสมัยที่พระปทุมเทวาภิบาล (เคน) เป็นเจ้าเมืองหนองคายคนที่ 3 นี้เองก็เกิดศึกสำคัญขึ้นเรียกกันว่าศึกฮ่อ ครั้งแรกเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2420 แต่ในระยะนี้พระประทุมเทวาภิบาล (เคน) ไม่ได้อยู่ในหนองคายมีราชการต้องมาต้อนรับพระยามหาอำมาตย์เสียที่เมืองอุบลราชธานีและได้มอบกิจการบ้านเมืองให้ท้าวจันทรศรีสุราช (ชื่น) รักษาราชการแทน พวกฮ่อได้ตีหัวเมืองลายทางเรื่อยมาจนเข้ายึดเอาเวียงจันทร์ไว้ได้ พวกกรมการเมืองหนองคายแทนที่จะหาทางป้องกันข้าศึกกับคิดอพยพหนีพวกฮ่อ โดยท้าวจันทรศรีสุราชกับครอบครัวหนีไปอยู่บ้านพรานพร้าวอุดรธานี เมื่อตัวนายไม่คิดสู้พวกราษฎร์ก็พลอยขวัญเสียอพยพออกจากเมืองบางเหตุการณ์ในตอนนี้ถึงกับทำให้เมืองหนองคายตกอยู่ในสภาพเป็นเมืองร้างนอกนี้เมืองใกล้ ๆ กัน คือเมืองโพนพิสัยก็พลอยไม่คิดสู้ขี้นมาอีก พระพิไสยสรเดช (หนู) เจ้าเมืองอพยพครอบครัวหนีไปอยู่บึงกาฬ ส่วน ราชวงศ์เมืองหนองคาย ซึ่งถูกส่งมารักษาการแทนกับพระพิสัยสรเดช (หนู) ถูกพวกฮ่อฆ่าตาย ทางกรุงเทพจึงได้มีพระบรมราชองค์การให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ซึ่งไปราชการ ณ เมืองอุบลราชธานี นั้น เกณฑ์ทัพเข้าปราบฮ่อกองทัพของพระยามหาอำมาตย์ได้ยกเข้ามาตั้งพักอยู่ที่เมืองหนองคายแล้วก็สั่งให้จับเอาเท้าจันทรศรีสุราชและพระยาพิไสยสรเดช(หนู)ไปประหารชีวิตเสียทั้งคู่เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบต่อไปจากนี้ก็เกณฑ์คนในเมืองต่าง ๆ คือ นครพนม มุกดาหาร เขมราฐ อุบลและร้อยเอ็ด เข้าสมทบกับกองทัพเมืองหนองคาย รวมพลได้ทั้งสิ้นประมาณ 20,000 คน แล้วยกออกไปตีเมืองเวียงจันทร์ซึ่งพวกฮ่อสู้ไม่ได้แตกและทิ้งกรุงเวียงจันทร์ไป กองทัพของพระยามหาอำมาตย์ก็กลับมาพักที่หนองคายจัดกิจกรรมบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็กลับกรุงเทพฯ ครั้งนี้พระประทุมเทวาภิบาล (เคน) เจ้าเมืองหนองคายได้ติดตามลงมากรุงเทพฯ ด้วย

เมื่อ พ.ศ. 2428 เกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่สองในบริเวณทุ่งไหหิน (ทุ่งเชียงคำ) พวกฮ่อกำเริบตีมาจนถึงเวียงจันทน์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวศึกฮ่อ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมขณะดำรงพระอิสริยศเป็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพปราบฮ่อครั้งนั้นจนพวกฮ่อแตกหนี และสร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อไว้ที่เมืองหนองคาย

ส่วนทางฝั่งเมืองโพนพิสัย หลังเสร็จศึกปราบฮ่อ ท้าวคำสิงห์ ซึ่งขณะนั้นมีราชทินนามเป็น พระศรีสุรศักดิ์สุนทร เจ้าเมืองรัตนวาปี อดีตเจ้าเมืองประชุมพนาลัย (เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว) ขึ้นเเขวงเมืองโพนพิสัย ซึ่งเป็นบุตรหลานของพระพิชัยสุริยวงศ์ เจ้าเมืองโพนพิสัยท่านแรก (ท้าวตาดี) ได้รับแต่งตั้งเป็น "พระรัตนเขตรักษา" เจ้าเมืองโพนพิสัยแทนเจ้าเมืองเดิมสืบต่อมา ซึ่งท่านได้แสดงความกล้าหาญรบพุ่งกับฮ่อหลายครั้ง จนได้ราชทินนามเป็น พระยาพิสัยสรเดช (คำสิงห์ สิงหศิริ) เป็นต้นตระกูล สิงหศิริ จึงเห็นได้ว่า ทุกครั้งที่เกิดศึกและเกิดเหตุข้าศึกศัตรูเข้ามารุกราน ทั้งเมืองหนองคายและเมืองโพนพิสัยล้วนเป็นพันธมิตรร่วมกันต่อสู้ เคียงบ่าเคียงไหล่กันมาโดยตลอด

อำเภอโพนพิสัย เดิมมีฐานะเป็น "เมืองโพนพิสัย" ซึ่งเป็นหัวเมือง 1 ใน 7 ของมณฑลอุดร การปฏิรูปการปกครองตามระบบเทศาภิบาลนั้นก็ดำเนินต่อไป จนเมื่อยุบเมืองโพนพิสัยเป็นอำเภอแล้วพระยาโพนพิสัยสรเดช ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอโพนพิสัย จนถึงปี พ.ศ. 2450 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มาตรวจราชการในเขตมณฑลอุดร และได้เปลี่ยนฐานะเมืองโพนพิสัยเป็นอำเภอโพนพิสัย ขึ้นกับจังหวัดหนองคายจนถึงปัจจุบัน และยุบเมืองรัตนวาปี เป็นตำบลรัตนวาปี ให้ขึ้นการปกครองอยู่ในอำเภอโพนพิสัย[14]

เมื่อครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปฐมเสนาบดีมหาดไทยเสด็จตรวจราชการแม่น้ำโขง ได้ทรงบรรยายทัศนียภาพแม่น้ำโขงว่า "ถึงเมืองโพนพิสัย พระยาพิสัยสรเดช ได้ล่วงหน้ามารับ แวะขึ้นดูเมืองโพนพิสัย แล้วไปบ้านพระยาพิสัยสรเดชพอหมดเวลาครึ่งชั่วโมงที่กำหนดไว้ก็กลับลงเรือ" และ "เวลา 12.40 น.ผ่านหน้าเมืองรัตนวาปี เลยปากน้ำคาดไปหน่อยหนึ่ง"

  • วันที่ 6 เมษายน 2457 ตัดท้องที่บ้านบึงกาญจน์ ของอำเภอโพนพิสัย เมืองอุดรธานี (ครอบคุลมพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ในปัจจุบัน) โอนพื้นที่ไปให้อำเภอไชยบุรี เมืองนครพนม[11]
  • วันที่ 31 พฤษภาคม 2468 ยุบตำบลบ้านใหม่ รวมกับท้องที่ตำบลกุดบง[15]
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2469 ยุบตำบลทุ่งธาตุ รวมกับท้องที่ตำบลชุมช้าง ตำบลจุมพล และตำบลวัดหลวง[16]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 โอนพื้นที่ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี มาขึ้นกับอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย[17]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลทุ่งหลวง แยกออกจากตำบลวัดหลวง และตั้งตำบลกุดบง แยกออกจากตำบลรัตนวาปี[18]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลจุมพล ในท้องที่บางส่วนของตำบลจุมพล[19]
  • วันที่ 22 มกราคม 2506 ตั้งตำบลปากคาด แยกออกจากตำบลโพนแพง[20]
  • วันที่ 7 มีนาคม 2510 ตั้งตำบลศรีชมภู และตั้งตำบลหนองพันทา แยกออกจากตำบลโซ่ ตั้งตำบลนาหนัง แยกออกจากตำบลชุมช้าง[21]
  • วันที่ 5 มีนาคม 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลปากคาด ในท้องที่หมู่ 1 บ้านปากคาด หมู่ 4 บ้านโนนชัยศรี และหมู่ 7 บ้านท่าสวรรค์ ตำบลปากคาด[22]
  • วันที่ 28 พฤษภาคม 2511 ตั้งตำบลเหล่าต่างคำ แยกออกจากตำบลทุ่งหลวง[23]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2515 แยกพื้นที่ตำบลโซ่ ตำบลศรีชมภู และตำบลหนองพันทา จากอำเภอโพนพิสัย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอโซ่พิสัย[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอโพนพิสัย
  • วันที่ 22 สิงหาคม 2515 ตั้งตำบลหนองหลวง แยกออกจากตำบลจุมพล[24]
  • วันที่ 19 มิถุนายน 2516 ตั้งตำบลหนองยอง แยกออกจากตำบลปากคาด[25]
  • วันที่ 13 เมษายน 2520 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอโซ่พิสัย อำเภอโพนพิสัย เป็น อำเภอโซ่พิสัย[2]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2521 ตั้งตำบลเฝ้าไร่ แยกออกจากตำบลเซิม[26]
  • วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลนากั้ง แยกออกจากตำบลปากคาด[27]
  • วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 แยกพื้นที่ตำบลปากคาด ตำบลหนองยอง และตำบลนากั้ง จากอำเภอโพนพิสัย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอปากคาด[3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอโพนพิสัย
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลบ้านโพธิ์ แยกออกจากตำบลเซิม ตั้งตำบลนาทับไฮ แยกออกจากตำบลโพนแพง[28]
  • วันที่ 9 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลวังหลวง แยกออกจากตำบลหนองหลวง[29]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลอุดมพร แยกออกจากตำบลเซิม ตั้งตำบลพระบาทนาสิงห์ แยกออกจากตำบลรัตนวาปี[30]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลโนนศิลา แยกออกจากตำบลปากคาด[31]
  • วันที่ 20 มีนาคม 2529 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอปากคาด อำเภอโพนพิสัย เป็น อำเภอปากคาด[4]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลนาดี แยกออกจากตำบลเฝ้าไร่ ตั้งตำบลสมสนุก แยกออกจากตำบลหนองยอง[32]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านต้อน แยกออกจากตำบลโพนแพง[33]
  • วันที่ 27 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลบ้านผือ แยกออกจากตำบลนาหนัง[34]
  • วันที่ 26 มกราคม 2536 ตั้งตำบลสร้างนางขาว แยกออกจากตำบลทุ่งหลวง[35]
  • วันที่ 22 มีนาคม 2538 แยกพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ ตำบลนาดี ตำบลหนองหลวง ตำบลวังหลวง และตำบลอุดมพร จากอำเภอโพนพิสัย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเฝ้าไร่[5] และแยกพื้นที่ตำบลรัตนวาปี ตำบลนาทับไฮ ตำบลบ้านต้อน ตำบลพระบาทนาสิงห์ และตำบลโพนแพง จากอำเภอโพนพิสัย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอรัตนวาปี[6] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอโพนพิสัย
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลจุมพล เป็นเทศบาลตำบลจุมพล[36] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 20 ตุลาคม 2549 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย เป็น เทศบาลตำบลโพนพิสัย[37]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเฝ้าไร่ และกิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอโพนพิสัย เป็น อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี[7]


ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอโพนพิสัย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอโพนพิสัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 159 หมู่บ้าน ได้แก่

1. จุมพล (Chumphon) 26 หมู่บ้าน 7. นาหนัง (Na Nang) 17 หมู่บ้าน
2. วัดหลวง (Wat Luang) 16 หมู่บ้าน 8. เซิม (Soem) 11 หมู่บ้าน
3. กุดบง (Kut Bong) 14 หมู่บ้าน 9. บ้านโพธิ์ (Ban Pho) 13 หมู่บ้าน
4. ชุมช้าง (Chum Chang) 19 หมู่บ้าน 10. บ้านผือ (Ban Phue) 8 หมู่บ้าน
5. ทุ่งหลวง (Thung Luang) 12 หมู่บ้าน 11. สร้างนางขาว (Sang Nang Khao) 8 หมู่บ้าน
6. เหล่าต่างคำ (Lao Tang Kham) 15 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอโพนพิสัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลโพนพิสัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจุมพล
  • เทศบาลตำบลสร้างนางขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างนางขาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจุมพล (นอกเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดบงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าต่างคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าต่างคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหนังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเซิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเซิมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านผือทั้งตำบล

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโซ่พิสัย" (PDF). Royal Gazette. 89 (31 ง special): 9. March 1, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลายพระยา อำเภอห้วยเม็ก อำเภอละแม อำเภอแม่จริม อำเภอหนองกี่ อำเภอโคกปีบ อำเภอเกาะพะงัน อำเภอสนม อำเภอโซ่พิสัย อำเภอโนนสะอาด และอำเภอนาจะหลวย พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). Royal Gazette. 98 (31 ก): 326–330. April 12, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปากคาด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (130 ง): 4081. November 21, 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอคลองลาน อำเภอสุคิริน อำเภอตะโหมด อำเภอห้วยทับทัน และอำเภอปากคาด พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 4-6. March 20, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายตั้งเป็นกิ่งอำเภอเฝ้าไร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 50. March 22, 1995.
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายตั้งเป็นกิ่งอำเภอรัตนวาปี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 51. March 22, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  7. 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-31. สืบค้นเมื่อ 2022-04-09.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-10.
  10. https://www.facebook.com/722488218128250/posts/1578154679228262/
  11. 11.0 11.1 เอกสารหอจดหมายเหตุเเห่งชาติ รหัสเอกสาร : หวญ 14-25
  12. facebook.com (2024-10-30). "ริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านบึงกาฬ เมืองโพนพิสัย"". เฟสบุ๊ค. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
  14. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้รวมเมืองกมุทธาไส ๑ เมือง กุมภวาปี ๑ เมือง หนองหาย ๑ อำเภอ บ้านหมากแข้ง ๑ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่าเมืองอุดรธานีบริเวณน้ำชีให้เปลี่ยนเรียกว่าเมืองขอนแก่น บริเวณน้ำเหืองให้เปลี่ยนเรียกว่าเมืองเลย บริเวณสกลนครให้เปลี่ยน เรียกว่าเมืองสกลนคร บริเวณธาตุพนมให้เปลี่ยนเรียกว่าเมืองนครพนม ส่วนเมืองหนองคายเมืองโพนพิสัยให้คงไว้ตามเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (41): 1088. January 12, 1907. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  15. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลบ้านใหม่ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งยุบไปรวมขึ้นตำบลกุดบง และสำหรับท้องที่ในอำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งยุบตำบลเชียงเพ็งไปรวมขึ้นตำบลเชียงยืน กับยุบตำบลนาแอง ซึ่งตั้งตำบลหมากหญ้าขึ้นแทน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 39–40. May 31, 1925.
  16. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลทุ่งธาตุ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลชุมช้าง ตำบลจุมพล และตำบลวัดหลวง ท้องที่อำเภอเดียวกัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 198. May 23, 1926.
  17. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 39-40. May 30, 1956.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (8 ง): 96–101. January 22, 1963.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าบ่อ และอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (23 ง): 857–865. March 10, 1967.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากคาด อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (23 ง): 692–693. March 5, 1968.
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (48 ง): 1525–1534. November 28, 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (126 ง): 2129–2131. August 22, 1972.
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอโพนพิสัยและอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (70 ง): 1895–1899. June 16, 1973.
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัยและอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2436–2439. August 1, 1978.
  27. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอบึงกาฬ และกิ่งอำเภอพรเจริญ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (121 ง): 3733–3739. October 31, 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (189 ง): 4159–4165. November 13, 1979.
  29. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (131 ง): 2706–2711. August 9, 1983.
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพนพิสัย อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (142 ง): 3652–3662. October 9, 1984.
  31. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอปากคาด อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 4-6. November 25, 1985.
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอบึงกาฬ และกิ่งอำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 137-146. October 10, 1986.
  33. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-8. October 21, 1988.
  34. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย และอำเภอพรเจริญ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (151 ง): (ฉบับพิเศษ) 60-66. November 27, 1992.
  35. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (9 ง): 19–21. January 26, 1993.
  36. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  37. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1. October 20, 2006.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9