Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ชัยปุระ

ชัยปุระ

जयपुर

ไจปูร์
มหานคร
ชัยปุระตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
ชัยปุระ
ชัยปุระ
พิกัด: 26°55′34″N 75°49′25″E / 26.9260°N 75.8235°E / 26.9260; 75.8235
ประเทศอินเดีย
รัฐราชสถาน
อำเภอชัยปุระ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาล
 • องค์กรชัยปุระนครนิคม
พื้นที่
 • ทั้งหมด111.8 ตร.กม. (43.2 ตร.ไมล์)
ความสูง431 เมตร (1,414 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด3,073,350 คน
 • อันดับ10th
 • ความหนาแน่น27,000 คน/ตร.กม. (71,000 คน/ตร.ไมล์)
 [1]
ภาษา
 • ราชการฮินดี ราชสถาน ปัญจาบ
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
ทะเบียนพาหนะRJ-14
เว็บไซต์www.jaipur.nic.in

ชัยปุระ (ฮินดี: जयपुर, อักษรโรมัน: Jaipur) เป็นเมืองหลวงของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย (3.1 ล้านคน) ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1727 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 เจ้าครองนครอาเมร์ (Amer) ในปัจจุบันชัยปุระยังเป็นที่รู้จักกันดีในอินเดียว่า "นครสีชมพู"

เมืองแห่งนี้ขึ้นชื่อในด้านการเป็นเมืองอินเดียในยุคก่อนสมัยใหม่ ซึ่งมีขนาดความถนนค่อนข้างกว้างและผังเมืองอันเป็นระเบียบเรียบร้อยแบ่งเป็นช่องตารางจำนวน 6 เขต ซึ่งกั้นโดยถนนที่มีความกว้างกว่า 34 เมตร บริเวณใจกลางเมืองแบ่งผังเมืองเป็นตารางพร้อมถนนล้อมรอบสี่ด้าน โดยแบ่งเป็นห้าเขตล้อมทางด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก (เขตพระราชวัง) และเขตที่หกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณเขตพระราชวังประกอบด้วย หมู่วังหะวามหัล, สวนสาธารณะ และทะเลสาบขนาดเล็ก, ป้อมนหครห์) ซึ่งเป็นที่พระราชวังที่ประทับของมหาราชาสไว ชัย สิงห์ที่ 2 ตั้งอยู่บนเชิงเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตเมืองเก่า และยังมีหอดูดาวชันตรมันตระ ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก[2]

ชัยปุระตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมทองคำของการท่องเที่ยวของอินเดียร่วมกับ เดลี และอัครา ชัยปุระเป็นเมืองที่มีการท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของรัฐราชสถานในปัจจุบัน

ประวัติ

ถนนสายหลักในชัยปุระ ราวปี ค.ศ. 1875

ชัยปุระยุคใหม่นั้นก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1727 โดยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของมหาราชาสวาอี ชัย สิงห์ที่ 2 แห่งอาเมร์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชปุตราชวงศ์กัฉฉวหา (Kachchwaha) ซึ่งปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1699–1744 ซึ่งปกครองที่เมืองหลวงชื่อว่า "อาเมร์" (Amber) ตั้งอยู่ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร โดยเหตุผลในการย้ายเมืองหลวงนั้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามมาด้วยการขาดแคลนแหล่งน้ำที่รุนแรงมากขึ้น พระองค์ได้ทรงศึกษาตำราสถาปัตยกรรมมากมาย พร้อมทั้งที่ปรึกษาต่าง ๆ ก่อนจะทำผังเมืองของชัยปุระ ในที่สุด ด้วยความช่วยเหลือของสถาปนิกคนสำคัญคือ วิทยาธร ภัฏฏาจารย์ จากเบงกอล ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าสถาปนิกของมหาราชา ซึ่งช่วยวางแผนและออกแบบอาคารต่าง ๆ รวมถึงพระราชวังหลวงใจกลางเมือง พร้อมทั้งกำแพงเมืองอย่างหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามกับจักรวรรดิมราฐา นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ที่รักทางด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ทำให้ชัยปุระนั้นเกิดขึ้นได้อย่างสำเร็จด้วยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตามหลักของ[[วาสตุศาสตร์] และหลักจากตำราอื่น ๆ

การสร้างเมืองเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1727 ใช้เวลาการสร้างกว่า 4 ปีในการสร้างพระราชวัง ถนน และจัตุรัสต่าง ๆ โดยการสร้างเมืองนี้นั้นอิงจากหลักในตำราศิลปศาสตร์ซึ่งเป็นศาตร์แห่งสถาปัตยกรรมของอินเดีย โดยแบ่งผังเมืองออกเป็น 9 ส่วนเท่า ๆ กันอย่างตารางหมากรุก โดยสองส่วนเป็นที่ตั้งของพระราชวังต่าง ๆ และสถานที่ราชการต่าง ๆ ส่วนที่เหลืออีก 7 ส่วนนั้นสำหรับประชาชนทั่วไป รอบเมืองถูกล้อมด้วยปราการอย่างแน่นหนาโดยเข้าออกผ่านทางประตูเมืองทั้ง 7 แห่งโดยรอบ

ในปี ค.ศ. 1876 ในรัชสมัยของมหาราชาสวาอี ราม สิงห์ (Sawai Ram Singh) ได้มีพระบัญชาให้ทาสีอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ในเมืองเป็นสีชมพูเพื่อเป็นการต้อนรับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ในคราที่เสด็จเยือนชัยปุระอย่างเป็นทางการ ซึ่งสีชมพูนั้นก็ยังคงไว้จนถึงปัจจุบันและได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของชัยปุระจนทุกวันนี้[3] ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชัยปุระได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในปี ค.ศ. 1900 ประชากรทั้งหมดมีประมาณ 160,000,000,000 คน ได้มีการปูพื้นถนนด้วยปูน และยังมีโรงพยาบาลหลายแห่ง อุตสาหกรรมหลักได้แก่ โลหะ และหินอ่อน

สภาพภูมิอากาศ

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
ชัยปุระ (จัยปูร์) (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
8
 
23
8
 
 
12
 
26
11
 
 
6
 
32
16
 
 
4
 
37
21
 
 
16
 
40
25
 
 
66
 
40
27
 
 
216
 
34
26
 
 
231
 
32
24
 
 
80
 
33
23
 
 
23
 
33
19
 
 
3
 
29
13
 
 
3
 
24
9
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: India Weather On Web

ชัยปุระ ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนกึ่งแห้งแล้ง (Hot semi-arid climate) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 650 มิลลิเมตร (26 นิ้ว) ต่อปี โดยส่วนใหญ่ฝนตกในฤดูมรสุมในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยนั้นค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนเมษายนจนถึงต้นเดือนกรกฎาคมซึ่งมักจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮต์) ในฤดูมรสุม มักจะมีผนตกหนักและฟ้าคะนองกระจาย แต่มักจะไม่พบอุทกภัยเกิดขึ้น ในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์นั้นมีอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 15 องศาเซลเซียส (59 องศาฟาเรนไฮต์)-18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) และมีอัตราความชื้นต่ำหรือแทบไม่มีเลย อย่างไรก็ตามยังพบคลื่นความเย็นเป็นครั้งคราวที่อาจลดอุณหภูมิลงเกือบถึงศูนย์องศาได้[4]

ข้อมูลภูมิอากาศของชัยปุระ (จัยปูร์)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 30
(86)
32
(90)
40
(104)
43
(109)
45
(113)
43
(109)
46
(115)
39
(102)
39
(102)
38
(100)
37
(99)
32
(90)
46
(115)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 23
(73)
26
(79)
32
(90)
37
(99)
40
(104)
40
(104)
34
(93)
32
(90)
33
(91)
33
(91)
29
(84)
24
(75)
31.9
(89.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 8
(46)
11
(52)
16
(61)
21
(70)
25
(77)
27
(81)
26
(79)
24
(75)
23
(73)
19
(66)
13
(55)
9
(48)
18.5
(65.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 1
(34)
0
(32)
5
(41)
12
(54)
17
(63)
21
(70)
16
(61)
20
(68)
19
(66)
10
(50)
6
(43)
3
(37)
0
(32)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 8
(0.31)
12
(0.47)
6
(0.24)
4
(0.16)
16
(0.63)
66
(2.6)
216
(8.5)
231
(9.09)
80
(3.15)
23
(0.91)
3
(0.12)
3
(0.12)
668
(26.3)
แหล่งที่มา: BBC Weather

ลักษณะประชากร

การนับถือศาสนา
ศาสนา เปอร์เซ็นต์
ฮินดู
  
77%
มุสลิม
  
17%
เชน
  
4%
อื่น ๆ*
  
1.5%
คริสต์
  
.50%
อัตราการนับถือแบ่งตามศาสนา
*ได้แก่ ซิกข์ (0.5%), พุทธ (<0.5%)

จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2011 ชัยปุระมีประชากรทั้งหมดรวม 3,073,350 คน[1] อาศัยในเขตเมือง 3,646,590 คน ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย ประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 77, มุสลิม ร้อยละ 17, เชน ร้อยละ 4, คริสต์ ร้อยละ 0.5, และซิกข์ ร้อยละ 0.5

ประชากรร้อยละ 47.49 อาศัยในบริเวณนอกเมือง และร้อยละ 52.51 อยู่ในเขตเมือง อัตราการรู้หนังสือเฉลี่ยของอำเภอชัยปุระคือร้อยละ 76.44 แบ่งเป็นชายร้อยละ 87.27 และหญิงร้อยละ 64.63 ส่วนการแบ่งตามเพศนั้นชัยปุระมีจำนวนประชากรเพศหญิง 898 คน ต่อประชากรชาย 1,000 คน[1]

ภาษาหลักที่ใช้สื่อสารในชัยปุระได้แก่ ภาษาฮินดีและภาษาราชสถาน นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาปัญจาบอีกด้วย และจากรายงานในปี ค.ศ. 2009 สำนักงานอาชญากรรมแห่งชาติ (NCRB-National Crime Records Bureau) ระบุว่า ชัยปุระเป็นเมืองที่อัตราการเกิดอาชญากรรมมากเป็นอันดับที่ 3 ของเมืองในประเทศอินเดียที่มีขนาดประชากรเกินกว่า 1 ล้านคน[5]

การคมนาคม

ประตูทางเข้าเมือง
ทางด่วนสาย Jaipur Kishangarh
Jaipur BRTS
สนามบินนานาชาติชัยปุระ

ทางบก

ทางหลวงหมายเลข 8 เชื่อมระหว่างเดลี กับมุมไบ, ทางหลวงหมายเลข 12 เชื่อมระหว่างเมืองโกตา อำเภอบาราน และทางหลวงหมายเลข 11 ซึ่งเชื่อมระหว่างพิกาเนร์ กับอัครา โดยผ่านที่ชัยปุระ โดยมีความยาวรวมทั้งสิ้น 366 กิโลเมตร

บริษัท Rajasthan State Road Transport Corporation (RSRTC) เป็นผู้ดูแลการเดินรถประจำทางระหว่างเมืองระหว่างรัฐราชสถาน กับนิวเดลี, รัฐอุตตรประเทศ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐหรยาณา และรัฐคุชราต

รถประจำทาง

รถประจำทางภายในเมือง (City bus) นั้นให้บริการโดย Jaipur City Transport Services Limited (JCTSL)[6] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rajasthan State Road Transport Corporation (RSRTC) ซึ่งเป็นหนึ่งของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในกรอบความร่วมมือ "Jawaharlal Nehru National Urban Renewal Mission" หรือ (JnNURM) โดยให้บริการรถประจำทางมากกว่า 300 คัน โดยมีสถานีหลักจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สถานีไวศาลีนคร (Vaishali Nagar), สถานีวิทยาธรนคร (Vidyadhar Nagar) และสถานีสังฆเนร์ (Sanganer)

รถประจำทางด่วนพิเศษ (BRTS)

โครงการ BRTS หรือ Bus Rapid Transit Service ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006[7] โดยให้ Jaipur City Transport Services Limited (JCTSL) เป็นผู้รับสัมปทานการบริหารการเดินรถ[7]

ทางอากาศ

ท่าอากาศยานนานาชาติชัยปุระ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งให้บริการทั้งสายการบินภายในประเทศ และนานาชาติ โดยแบ่งเป็นเทอร์มินัล 1 ใช้สำหรับสายการบินระหว่างประเทศ และในประเทศ ในขณะที่เทอร์มินัล 2 นั้นใช้สำหรับสายการบินภายในประเทศเท่านั้น ในปัจจุบันอาคารเทอร์มินัล 1 นั้นปิดให้บริการเนื่องจากอยู่ในระหว่างโครงการปรับปรุง โดยใช้เทอร์มินัล 2 แทนอย่างเต็มรูปแบบ ในปี ค.ศ. 2009-2010 สนามบินนานาชาติชัยปุระต้อนรับนักท่องเที่ยวแบ่งเป็นต่างประเทศจำนวน 255,704 คน และทั้งหมด 1,267,876 คน[8] ในฤดูหนาวสนามบินแห่งนี้มักเป็นสนามบินสำรองที่ใช้รับเครื่องบินจากสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี เนื่องจากมักจะมีหมอกลงค่อนข้างหนาเป็นประจำในเดลี[9]

ทางรถไฟ

ชัยปุระนั้นสามารถเดินทางได้โดยมีรถไฟหลายสายที่เชื่อมต่อกับกรุงเดลี และอีกหลาย ๆ เมืองในรัฐราชสถาน และมีโครงข่ายรถไฟใต้ดินชัยปุระเมโตร ถือเป็นแห่งที่ 4 ของประเทศอินเดีย ภายหลังโกลกาตา เดลี และบังกาลอร์ ประกอบด้วยทางรถไฟใต้ดินทั้งหมด 2 สาย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 32.5 กิโลเมตร จำนวน 29 สถานี

การท่องเที่ยว

ชัยปุระเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ. 2008 ได้มีการสำรวจโดย Conde Nast Traveller ซึ่งชัยปุระได้ติดอันดับที่เจ็ดของเมืองที่น่าท่องเที่ยวที่สุดในเอเชีย[10]

นอกจากนี้ ชัยปุระ ยังเป็นที่ตั้งของห้องสูทอันหรูหราในโรงแรมที่แพงติดอันดับที่ 2 จากทั้งหมด 15 อันดับของโลก (World's 15 most expensive hotel suites) ซึ่งเป็นห้อง Presidential Suite ของโรงแรมรัช พาเลซ (Raj Palace Hotel) ด้วยราคากว่า US$45,000 ต่อคืน [11] ซึ่งจัดอันดับโดย CNN Go ในปี ค.ศ. 2012

สถานที่ท่องเที่ยวในชัยปุระ เช่น พิพิธภัณฑ์อัลเบิร์ตฮอลล์, หะวามหัล, ชลมหัล, ซิตีพาเลส, ป้อมอาเมร์, ชันตรมันตระ, ป้อมนหารครห์, ป้อมชัยครห์, พิรลามนเทียร, คตัลจี, โควินทเทวจีมนเทียร, ครหคเณศมนเทียร, โมตีทุงครีคเณศมนเทียร, สังหิจีมาตามนเทียร และ สวนสัตว์ชัยปุระ[12] ในบรรดาสถานที่ท่องเที่ยวของชัยปุระ ชันตรมันตระ และ ป้อมอาเมร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก[13] นอกจากนี้ในชัยปุระยังมีสวนสาธารณะสำคัญคือสิโสทิยราณีบาฆ และ กนกวรินทาวัน[14] และมีโรงภาพยนตร์ชื่อดังคือราชมนเทียร

เมืองพี่น้อง

เมืองที่เป็นเมืองพี่น้อง ของชัยปุระ ได้แก่:


อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Provisional Population Totals, Census of India 2011; Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
  2. "The Jantar Mantar, Jaipur – UNESCO World Heritage Centre". Whc.unesco.org. 31 July 2010. สืบค้นเมื่อ 1 September 2010.
  3. "History – British History in depth: Edward VII: The First ConstitutionaMonarch". BBC. 5 November 2009. สืบค้นเมื่อ 26 July 2010.
  4. "World Weather Information Service". สืบค้นเมื่อ 11 December 2009.
  5. "Crime Report 2009" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-27. สืบค้นเมื่อ 28 March 2011.
  6. "JCSTL Website". Jaipurbus.com. สืบค้นเมื่อ 28 March 2011.
  7. 7.0 7.1 "BRTS – JDA Website". Jaipurjda.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-26. สืบค้นเมื่อ 28 March 2011.
  8. "Jaipur International Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-14. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
  9. "Flights diverted to Jaipur". Chennai, India: The Hindu. 18 February 2011. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
  10. "Jaipur Seventh Best Tourist Destination in Asia – Conde Nast Traveller Survey". Bharatonline.com. สืบค้นเมื่อ 28 March 2011.
  11. Arnold, Helen "World's 15 most expensive hotel suites" CNN Go. 25 March 2012. Retrieved 2012-04-11
  12. "Temples of Jaipur". jaipur.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2015. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
  13. "The Jantar Mantar, Jaipur – UNESCO World Heritage Centre". whc.unesco.org. 31 July 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2010. สืบค้นเมื่อ 1 September 2010.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ JDA
  15. "City of Fremont's Sister Cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2013-06-03.
  16. "City of Calgary's Sister Cities".

ดูเพิ่ม

Public Domain บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

ดูเพิ่ม


Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9