โกลกาตา
แคลคัตตา
สมญา: เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของอินเดีย
[ 1]
แสดงแผนที่รัฐเบงกอลตะวันตก พิกัด: 22°34′21″N 88°21′50″E / 22.5726°N 88.3639°E / 22.5726; 88.3639 ประเทศ อินเดีย รัฐ เบงกอลตะวันตก อำเภอ โกลกาตา[ 2] [ 3] [ 4] [ 5] [ 6] การปกครอง • ประเภท องค์การเทศบาล • องค์กร องค์การเทศบาลโกลกาตา • นายกเทศมนตรี Firhad Hakim (AITC) พื้นที่[ 7] [ 8] • เมกะซิตี 206.08 ตร.กม. (79.151 ตร.ไมล์) • รวมปริมณฑล 1,886.67 ตร.กม. (728.45 ตร.ไมล์) ความสูง 9 เมตร (30 ฟุต) ประชากร • เมกะซิตี 4,496,694 คน • อันดับ ที่ 7 • ความหนาแน่น 22,000 คน/ตร.กม. (57,000 คน/ตร.ไมล์) • รวมปริมณฑล [ 10] [ 11] 14,617,882 คน • อันดับในเขตมหานคร ที่ 3 เดมะนิม โกลกาตาน Calcuttan ภาษา • ทางการ เบงกอล อังกฤษ [ 12] • ทางการเพิ่มเติม ฮินดี , อูรดู , เนปาล , โอริยา , สันถาลี , ปัญจาบ , ราชพังสี [ 12] เขตเวลา UTC+05:30 (IST )รหัส ZIP 700 xxx รหัสพื้นที่ +91-33 ทะเบียนพาหนะ WB-01 ถึง WB-10 HDI (2004) 0.78[ 13] (สูง )เว็บไซต์ kmcgov.in
ถนนสายหนึ่งในเมืองโกลกาตา
หอสมุดแห่งชาติในเมืองโกลกาตา
โกลกาตา (อังกฤษ : Kolkata ⓘ ; เบงกอล : কলকাতা ) หรือชื่อเดิม แคลคัตตา (อังกฤษ : Calcutta ) เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮุกลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองนี้มีจำนวนประชากร 4,580,544 คน (พ.ศ. 2544) ซึ่งหากนับรวมในเขตเมืองรอบนอกด้วยก็จะมีจำนวนมากกว่า 14 ล้านคน ทำให้เมืองนี้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ
โกลกาตาเคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยการปกครองของอังกฤษ จึงทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง (จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการย้ายเมืองหลวงไปนิวเดลี ) โดยถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีระบบระบายน้ำเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยมีอายุกว่า 150 ปี[ 14] อย่างไรก็ตาม โกลกาตาประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปีหลังจากอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2490 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การฟื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้นำไปสู่ความเจริญเติบโตของเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็เช่นเดียวกับเมืองใหญ่แห่งอื่น ๆ ในอินเดีย โกลกาตาต้องเผชิญกับปัญหาเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหามลภาวะ ปัญหาการจราจรติดขัด เป็นต้น นอกจากนี้ โกลกาตายังมีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ตั้งแต่การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ไปจนถึงขบวนการฝ่ายซ้ายและสหภาพการค้าต่าง ๆ อีกด้วย
เป็นไปได้ว่าชื่อโกลกาตาและ "แคลคัตตา" นั้นอาจจะมาจาก กาลิกาตา ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านสามแห่ง (กาลิกาตา สุตนุติ และโคพินทปุระ) ในพื้นที่แถบนี้ก่อนการเข้ามาของอังกฤษ[ 15] ซึ่งสันนิษฐานว่า "กาลิกาตา" นั้นเป็นรูปในภาษาอังกฤษ ของคำว่า กาลีเกษตร ("ดินแดนของพระแม่กาลี ") หรือมาจากคำในภาษาเบงกอล ว่า กิกิลา ("ที่ราบ") [ 16] หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำพื้นเมืองที่ใช้เรียกชื่อคลองธรรมชาติสายหนึ่ง คือ คาล ตามด้วย กัตตา [ 17] แม้ว่าในภาษาเบงกอลซึ่งเป็นภาษาของท้องถิ่นจะเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "โกลกาตา" มาตลอด แต่ชื่อภาษาอังกฤษของเมืองก็เพิ่งถูกเปลี่ยนจาก "แคลคัตตา" เป็น "โกลกาตา" ตามการออกเสียงในภาษาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2544 นี้เอง บางคนมองว่านี่เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อลบล้างสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดจากการปกครองของอังกฤษ[ 18]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ —"India: Calcutta, the capital of culture-Telegraph" . telegraph.co.uk . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2 January 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2016 . —"Kolkata remains cultural capital of India: Amitabh Bachchan – Latest News & Updates at Daily News & Analysis" . 10 November 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2017. สืบค้นเมื่อ 25 November 2016 . —"Foundation of Kolkata Museum of Modern Art laid" . business-standard.com . Press Trust of India. 14 November 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2016 . —Reeves, Philip (5 April 2007). "Calcutta: habitat of the Indian intellectual" . National Public Radio . สืบค้นเมื่อ 29 January 2012 . —Noble, Allen and Frank Costa; Ashok Dutt; Robert Kent (1990). Regional development and planning for the 21st century : new priorities, new philosophies . Ashgate Pub Ltd. pp. 282, 396. ISBN 978-1-84014-800-8 .
↑ "Home | Chief Electoral Officer" . ceowestbengal.nic.in .
↑ "Home | Chief Electoral Officer" . ceowestbengal.nic.in .
↑ "Home | Chief Electoral Officer" . ceowestbengal.nic.in .
↑ "AC-Wise Polling Stations – South 24 Parganas" . s24pgs.gov.in . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-09-20. สืบค้นเมื่อ 2019-10-12 .
↑ "web.archieve.org" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 29 May 2013.
↑ 7.0 7.1 "District Census Handbook – Kolkata" (PDF) . Census of India . The Registrar General & Census Commissioner. p. 43. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2016. สืบค้นเมื่อ 13 May 2016 .
↑ "Basic Statistics of Kolkata" . Kolkata Municipal Corporation . Kolkata Municipal Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 3 January 2018 .
↑ "Kolkata Municipal Corporation Demographics" . Census of India. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016 .
↑ "Urban agglomerations/cities having population 1 million and above" (PDF) . Provisional population totals, census of India 2011 . Registrar General & Census Commissioner, India. 2011. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012 .
↑ "INDIA STATS: Million plus cities in India as per Census 2011" . Press Information Bureau, Mumbai . National Informatics Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015 .
↑ 12.0 12.1 —"Report of the Commissioner for linguistic minorities: 47th report (July 2008 to June 2010)" (PDF) . Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. pp. 122–126. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 13 May 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012 . —Singh, Shiv Sahay (3 April 2012). "Official language status for Urdu in some West Bengal areas" . The Hindu (ภาษาIndian English). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2019. สืบค้นเมื่อ 3 June 2019 . —"Multi-lingual Bengal" . The Telegraph . 11 December 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2018 . —Roy, Anirban (27 May 2011). "West Bengal to have six more languages for official use" . India Today .
↑ "West Bengal Human Development Report 2004" (PDF) (ภาษาอังกฤษ).
↑ "ท่องโลกกว้าง: พลังโลก ตอน น้ำแข็ง และ ชื้นแฉะที่สุดในโลก" . ไทยพีบีเอส. 23 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-07-04. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014 .
↑ Mukherjee, SC. 1991. The changing face of Calcutta: An architectural approach. Calcutta : Government of West Bengal, p. 300.
↑ "Kolkata (Calcutta) : History" (ภาษาเบงกอล). Calcuttaweb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-02-18 .
↑ Nair, P. Thankappan (1986). Calcutta in the 17th century . Kolkata: Firma KLM. pp. 54–58.
↑ Easwaran, Kenny. "The politics of name changes in India" . Open Computing Facility, University of California at Berkeley. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012 .
แหล่งข้อมูลอื่น
นานาชาติ ประจำชาติ ภูมิศาสตร์ อื่น ๆ