Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห

กลุ่มอนุสรณ์ขชุราโห
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ที่ตั้งฉัตรปุระ, มัธยประเทศ, อินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: i, iii
อ้างอิง240
ขึ้นทะเบียน1986 (สมัยที่ 10th)
พิกัด24°51′16″N 79°55′17″E / 24.854422°N 79.921427°E / 24.854422; 79.921427
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโหตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห
ที่ตั้งกลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห ในประเทศอินเดีย
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโหตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห (รัฐมัธยประเทศ)

กลุ่มโบราณสถานขชุราโห (อังกฤษ: Khajuraho Group of Monuments) เป็นหมู่โบสถ์พราหมณ์และโบสถ์ไชนะตั้งอยู่ในอำเภอฉัตรปุระ, รัฐมัธยประเทศ, ประเทศอินเดีย ราว 175 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้จากฌันสี ปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1][2] หมู่มนเทียร (ศาสนสถาน) เหล่านี้ขึ้นชื่อในฐานะสถาปัตยกรรมแบบนคร และงานแกะสลักวาบหวิวประดับมนเทียร[3]

มนเทียรส่วนใหญ่ในขชุราโหสร้างขึ้นในปี 950 ถึง 1050 โดยจักรวรรดิจันเทละ[4][5] เอกสารโบราณระบุว่าขชุราโหมี 85 มนเทียรในศตวรรษที่ 12 ครอบคลุมพื้นที่ราว 20 ตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้มีเพียง 25 แห่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ในอาณาเขตราวหกตารางกิโลเมตร[2] ในบรรดามนเทียรที่ยังคงอยู่ กันทรียะมหาเทวมนเทียร เป็นมนเทียรที่มีการประดับประดาและก่อสร้างอย่างวิจิตรตระการตามากที่สุดแห่งหนึ่ง[6]

หมู่มนเทียรขชุราโหมีมนเทียรที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาในศาสนาฮินดู กับ ศาสนาไชนะ ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอดีตมีการอยู่อาศัยร่วมกันของศาสนิกชนทั้งสองศาสนาอย่างกลมเกลียว[7]

มนเทียรต่าง ๆ ในขชุราโหเป็นมนเทียรในศาสนาฮินดู นิกายไวษณวและนิกายไศว กับในศาสนาไชนะ หลักฐานทางโบราณคดีเสนอว่ามนเทียรต่าง ๆ สร้างขึ้นไล่เลี่ยกันในปลายศตวรรษที่สิบ วิลล์ ดิวรานท์ ระลุว่าการสร้างมนเทียรร่วมกันในพื้นที่นี้แสดงให้เห็นถีงการอดกลั้นทางศาสนา การยอมรับซึ่งมุมมองที่แตกต่าง และการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชน[8]

รายชื่อสิ่งก่อสร้าง

ที่ ชื่อมนเทียรในปัจจุบัน ศาสนา เทพเจ้าองค์ประธาน สร้างเสร็จในปี
(ค.ศ.)[9][10]
ภาพ
1 ชาวสาถโยคินีมนเทียร ฮินดู เทวี, 64 โยคินี 885
2 ลาลคุนมหาเทวมนเทียร ฮินดู พระศิวะ 900
3 พราหมมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 925
4 ลักษมณมนเทียร ฮินดู พระไวกูณฐวิษณุ 939
5 วราหมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 950
6 ปารศวนาถมนเทียร ไชนะ พระปารศวนาถ 954
7 ฆานไตมนเทียร ไชนะ พระอาทินาถ 960
8 มหิศสุรมรรทินี ฮินดู มหิษสูรมรรทินี 995
9 วิศวนาถมนเทียร ฮินดู พระศิวะ 999
10 มตันเคศวรมนเทียร ฮินดู พระศิวะ 1000
11 วิษณุทรงครุฑ ฮินดู พระวิษณุ 1000
12 ซากของพีชมณฑลมนเทียร (Beejamandal Temple ruins) ฮินดู พระศิวะ 1000
13 พระคเณศ ฮินดู พระศิวะ 1000
14 เทวีชคทัมพีมนเทียร ฮินดู เทวีชคทัมพี 1023
15 จิตรคุปตมนเทียร ฮินดู พระอาทิตย์ พระจิตรคุปต์ 1023
16 อาทินาถมนเทียร ไชนะ พระอาทินาถ 1027
17 ศานตินาถมนเทียร ไชนะ พระศานตินาถ 1027
18 กันทรียมหาเทวมนเทียร (ใหญ่ที่สุด) ฮินดู พระศิวะ 1029
19 วามานมนเทียร ฮินดู พระวามนะ 1062
20 ชวารีมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 1090
21 จุตรภูชมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 1110
22 ทุลเทวมนเทียร (ทุลเทโอ) ฮินดู พระศิวะ 1125

อ้างอิง

  1. "World Heritage Day: Five must-visit sites in India". 18 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
  2. 2.0 2.1 Khajuraho Group of Monuments UNESCO World Heritage Site
  3. Philip Wilkinson (2008), India: People, Place, Culture and History, ISBN 978-1405329040, pp 352-353
  4. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 179.
  5. "Khajuraho Group of Monuments".
  6. Devangana Desai (2005), Khajuraho, Oxford University Press, Sixth Print, ISBN 978-0-19-565643-5
  7. James Fergusson, Northern or Indo-Aryan Style - Khajuraho History of Indian and Eastern Architecture, Updated by James Burgess and R. Phene Spiers (1910), Volume II, John Murray, London
  8. Will Durant (1976), Our Oriental Heritage - The Story of Civilization, ISBN 978-0671548001, Simon & Schuster
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rsingh
  10. From inscription or estimated from other evidence
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9