จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1806 โดย ราชอาณาจักรเยอรมนีถือเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 962 แว่นแคว้นในจักรวรรดิ รองลงมาคือ ราชอาณาจักรโบฮีเมีย ราชอาณาจักรบูร์กอญ ราชอาณาจักรอิตาลี ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 800 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกให้ชาร์เลอมาญ กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันโดยปกครองดินแดนทั้งหมดในยุโรปตะวันตก ลูกหลานของชาร์เลอมาญก็ได้สืบทอดบัลลังก์นี้ไปจนถึง ค.ศ. 899 หลังจากนั้นบัลลังก์แห่งแฟรงก์ก็ตกไปเป็นของผู้ปกครองชาวอิตาลีจนถึง ค.ศ. 924 บัลลังก์ได้ว่างลงเป็นระยะเวลากว่า 38 ปี จนเมื่อพระเจ้าอ็อทโทแห่งเยอรมนีสามารถพิชิตอิตาลีได้ พระองค์ก็เจริญรอยตามชาร์เลอมาญ[2] โดยให้พระสันตะปาปาประกอบพิธีราชาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิซึ่งจะดำรงอยู่กว่าแปดศตวรรษจากนี้[3] เนื่องจากจักรวรรดินี้ดำรงอยู่เป็นระยะเวลากว่าแปดร้อยปี ดินแดนของจักรวรรดิจึงแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาในประวัติศาสตร์ ดินแดนในจักรวรรดิมีหลายฐานะ ตั้งแต่ ราชอาณาจักร ราชรัฐ ดัชชี, เคาน์ตี, เสรีนคร และอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สาธารณรัฐเช็ก สโลวีเนีย, บางส่วนในอิตาลี บางส่วนในฝรั่งเศส บางส่วนในโปแลนด์ เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะทำสงครามรุกรานขยายอาณาเขตได้อีกต่อไป การดำรงอยู่ของจักรวรรดิ์กลายเป็นเรื่องของการรักษาสันติภาพและความมั่นคงภายใน โดยตัวจักรวรรดิมีหน้าที่คอยแก้ไขปมขัดแย้งระหว่างรัฐใต้ปกครองโดยทางสันติวิธี และรัฐใต้ปกครองก็มีผลประโยชน์ร่วมกันที่จะรักษาจักรวรรดิไว้จากพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ของเหล่าผู้ปกครองด้วยกัน โดยเฉพาะรัฐเล็ก ๆ ที่มีความทะเยอทะยานแบบจักรวรรดินิยม ฯ บทบาทในการรักษาสันติของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยให้สันติภาพเวสต์ฟาเลีย ปี ค.ศ. 1648 ดำเนินไปได้โดยราบรื่น หลังพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ในปี ค.ศ. 1805 จักรวรรดิได้สูญเสียรัฐต่าง ๆ ไปจำนวนมากแก่ฝรั่งเศส ในการนี้ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้เอารัฐที่ยึดมาได้จัดตั้งขึ้นเป็นสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ ส่งผลให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตัดสินใจยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน ที่มาของชื่อหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 จากการสละราชสมบัติของจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ดินแดนของชาวโรมันก็แตกออกเป็นดินแดนน้อยใหญ่มากมาย สามร้อยกว่าปีให้หลัง ชาร์เลอมาญก็สามารถรวบรวมดินแดนของโรมันกลับมาเป็นหนึ่งได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 800 โดยมีชื่อในระยะแรกนี้เพียงแค่ว่า "จักรวรรดิโรมัน" (Roman Empire) มาจนถึงราวปี ค.ศ. 1157[4] ต่อมาเมื่อจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 สามารถปกครองอิตาลีและวาติกันได้ จักรวรรดิก็ถูกเรียกว่า "จักรวรรดิอันศักดิ์สิทธิ์" (Holy Empire)[5] ซึ่งได้พัฒนาไปเป็นคำว่า "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" ที่เริ่มปรากฏตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา[6] ใน ค.ศ. 1512 สภานิติบัญญัติแห่งโคโลญได้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นมา โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน (เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich Deutscher Nation)[7][8] ซึ่งสะท้อนถึงสภาวะการเมืองของจักรวรรดิซึ่งได้สูญเสียอาณาเขตเหนืออิตาลีและเบอร์กันดีไปจนเกือบหมดในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 15[9] ชื่อนี้เป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารบางฉบับมาตั้งแต่ ค.ศ. 1474[5] และถูกใช้งานจนถึงปลายคริตส์ศตวรรษที่ 18 ก็เป็นอันเลิกใช้ ประวัติศาสตร์
ต้นสมัยกลางเมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในแผ่นดินกอลถึงคราวเสื่อมลงในคริสต์ศตวรรษที่ 5 พวกชนเผ่าเยอรมันทั้งหลายจึงควบคุมแผ่นดินนี้แทนที่[10] ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นศตวรรษที่ 6 ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงภายใต้โคลวิสที่ 1 และทายาท สามารถรวบรวมชนเผ่าแฟรงก์ต่างๆเข้าด้วยกัน และแผ่ขยายอิทธิพลไปเหนือดินแดนส่วนอื่นๆทางตอนเหนือของแผ่นดินกอล ตลอดจนภูมิภาคหุบเขาลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนกลาง จนกระทั่งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงเริ่มสูญเสียอำนาจ ตระกูลการอแล็งเฌียงภายใต้ผู้นำชาร์ล มาร์แตล กลายเป็นผู้กุมอำนาจตัวจริง ที่สุดในปีค.ศ. 751 เปแป็ง บุตรชายของมาร์แตล ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ด้วยแรงหนุนจากพระสันตะปาปา[11][12] ราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงจึงเป็นมิตรที่ใกล้ชิดกับศาสนจักรมานับแต่นั้น[13] ในปี 768 ชาร์เลอมาญ โอรสของเปแป็ง ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดา และทำสงครามแผ่ขยายดินแดนอย่างกว้างขวาง ชาร์เลอมาญปกครองเหนือดินแดนที่ในปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ตอนเหนือประเทศอิตาลี [14][15] ในวันคริสต์มาสปี 800 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงครอบมงกุฏสถาปนาให้ชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน ซึ่งเป็นการฟื้นฟูอิสริยยศดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับแต่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายเมื่อ 300 ปีก่อนหน้า[16] ยุคสามอาณาจักรแฟรงก์ภายหลังจักรพรรดิชาร์เลอมาญเสด็จสวรรคตในปี 814 เจ้าชายหลุยส์จึงขึ้นสืบราชสมบัติต่อ แต่ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิหลุยส์ในปี 840 ก็เกิดสงครามชิงบัลลังก์ในหมู่พระโอรส และนำไปสู่การตกลงกันตามสนธิสัญญาแห่งแวร์เดิงในปี 843 ซึ่งแบ่งจักรวรรดิราชวงศ์การอแล็งเฌียงออกไปเป็น 3 อาณาจักร:
สามอาณาจักรรวมเป็นหนึ่งได้อีกครั้งในปี 887 ภายใต้พระเจ้าคาร์ลผู้อ้วนท้วน แต่ก็เพียงชั่วขณะเท่านั้น เพราะเมื่อทรงสวรรคตในปี 888 จักรวรรดิราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงก็แตกออกจากกันและไม่เคยรวมกันได้อีกเลย ส่วนกลางของจักรวรรดิแตกออกเป็นอาณาจักรย่อย ๆ รวมทั้งตอนบนและล่างของบูร์กอญกับอิตาลี ซึ่งปกครองด้วยกษัตริย์ที่มิได้มีเชื้อสายราชวงศ์กาโรแล็งเฌียง (แต่ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในท้องถิ่น)[17] อีกด้านหนึ่ง อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกก็เผชิญกับปัญหาเดียวกันและเกือบแตกออกเป็นประเทศเล็กน้อย แต่ยุติวิกฤติลงได้เมื่อเหล่าดยุกผู้ครองแคว้นทั้ง 5 ของอาณาจักร ได้แก่ อลามันน์, บาวาเรีย, ฟรังเคิน และซัคเซิน ได้เลือก คอนราด ดยุกแห่งฟรังเคิน ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกในปีค.ศ. 911 โดยเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ไม่ได้ทรงมีเชื้อสายกษัตริย์แฟรงก์ แต่รัชสมัยของพระองค์ก็เต็มไปด้วยการรบพุ่งเพื่อแย่งชิงอำนาจภายใน พระเจ้าคอนราดสวรรคตเพราะได้รับบาดเจ็บในสงครามปราบพวกดยุกผู้ครองแคว้น ก่อนสิ้นใจทรงมอบราชบัลลังก์ให้แก่ดยุกแห่งซัคเซิน ซึ่งได้ขึ้นสืบราชสมบัติในนามพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี สถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 ผู้เป็นชาวซัคเซิน ทรงยอมรับส่วนที่เหลือของอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในปี ค.ศ. 919 (แต่อาณาจักรตะวันตกยังถูกปกครองโดยราชวงศ์กอรอแล็งเฌียง) และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ตะวันออกและกำเนิดราชวงศ์อ็อทโท ภายหลังพระเจ้าไฮน์ริชสวรรคตในปีค.ศ. 931 พระราชกุมารอ็อทโทก็ขึ้นสืบราชสมบัติแฟรงก์ตะวันออกเป็นพระเจ้าอ็อทโทที่ 1 แห่งเยอรมนี ในปีค.ศ. 951 พระเจ้าอ็อทโทช่วยเหลือราชินีหม้ายอาเดลไลเดอแห่งอิตาลีกำจัดอริศัตรูของพระนาง และทำการอภิเษกสมรสกับพระนาง พระเจ้าอ็อทโทจึงได้ปกครองเหนือสองอาณาจักร (แฟรงก์ตะวันออกและอิตาลี) ต่อมาในปีค.ศ. 955 พระเจ้าอ็อทโทมีชัยชนะขาดลอยเหนือพวกมัจยาร์ (พวกฮังการี) ในยุทธการที่เล็ชเฟ็ลท์ การมีชัยเหนือพวกฮังการีนอกศาสนายังทำให้พระองค์มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างมากในฐานะ "ผู้กอบกู้แห่งคริสตจักร" ต่อมาในปีค.ศ. 960 รัฐสันตะปาปาถูกคุกคามโดยกษัตริย์เบเรนการ์ที่ 2 แห่งอิตาลี พระสันตะปาปาขอความช่วยเหลือไปยังพระเจ้าอ็อทโท พระเจ้าอ็อทโทตั้งเงื่อนไขให้พระสันตะปาปาตั้งเขาเป็นจักรพรรดิโรมัน ซึ่งก็เป็นอันตกลง ในที่สุด ค.ศ. 962 พระเจ้าอ็อทโทได้รับการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมัน ดั่งเช่นที่ชาร์เลอมาญเคยกระทำเพื่ออ้างสิทธิ์การเป็นผู้สืบทอดของอาณาจักรโรมโบราณ อ็อทโทสามารถกำราบกษัตริย์เบเรนการ์ได้สำเร็จ พระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ไม่พอใจที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอ็อทโทจึงวางแผนสมคบต่อต้านจักรพรรดิอ็อทโท ในปีค.ศ. 964 อ็อทโทบงการสภามุขนายกถอดถอนสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ออกจากตำแหน่ง ชาวโรมันเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 5 ขึ้นครองตำแหน่งแทน แต่จักรพรรดิอ็อทโทไม่ยอมรับและนำทัพเข้าปิดล้อมกรุงโรม ท้ายที่สุด กรุงโรมก็ยอมจำนน จักรพรรดิอ็อทโทแต่งตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 8 เป็นประมุขคริสตจักรองค์ใหม่ การกระทำครั้งนี้ได้สร้างความขัดแย้งกับจักรพรรดิไบแซนไทน์ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในปีค.ศ. 996 จักรพรรดิอ็อทโทที่ 3 ทรงตั้งลูกพี่ลูกน้องของตนเองเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 5 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวเยอรมัน อย่างไรก็ตาม พวกขุนนางกรุงโรมมองว่าพระสันตะปาปาต่างด้าวและข้าราชบริพารต่างด้าวไม่มีความน่าไว้วางใจ จึงรวมตัวกันก่อกบฎและตั้งพระสันตะปาปาที่เป็นชาวกรีก แต่ไม่นานก็ถูกกองทัพของอ็อทโทที่ 3 เข้าควบคุมกรุงโรมไว้ได้ ระบบเลือกตั้งจักรพรรดิจักรพรรดิอ็อทโทที่ 3 สวรรคตในปีค.ศ. 1002 พระโอรสได้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อเป็นจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 ซึ่งทรงมุ่งเน้นไปที่กิจการฝั่งเยอรมนีเป็นหลัก ต่อมาเมื่อไฮน์ริชที่ 2 สวรรคตในปีค.ศ. 1024 บัลลังก์จักรวรรดิก็ถูกสืบทอดโดยค็อนราทที่ 2 จักรพรรดิองค์แรกจากราชวงศ์ซาลีอัน ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยที่ประชุมเหล่าดยุกและขุนนาง ซึ่งคณะบุคคลเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก ในที่สุดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ประกอบด้วยสี่ราชอาณาจักร ได้แก่:
สภาพของจักรวรรดิจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้นตั้งอยู่ในความไม่สงบของเหล่าขุนนางในแต่ละท้องที่ ที่พยายามจะแยกออกจากจักรวรรดิ เพื่อที่จะไปตั้งอำนาจของรัฐปกครองตนเองแบบฝรั่งเศสและอังกฤษ จักรพรรดิไม่มีอำนาจที่จะควบคุมท้องที่ที่มีเหล่าขุนนางปกครอง จักรพรรดิจึงอนุญาตให้เหล่าขุนนางและเหล่าบิชอปปกครองอย่างอิสระได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แว่นแคว้นในจักรวรรดิหลังการปฏิรูปจักรวรรดิ แว่นแคว้นที่อยู่ภายใต้พระบรมเดชานุภาพของจักรพรรดิแบ่งอย่างกว้างได้เป็นสามกลุ่ม:
ดินแดนทั้งหมดมีจำนวนมากถึง 300 รัฐ บางรัฐมีพื้นที่ไม่กี่ตารางไมล์เท่านั้น สภาจักรวรรดิไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstag) เป็นองค์กรนิติบัญญัติ มีหน้าที่ออกกฎหมาย และจัดการเลือกตั้ง แบ่งได้เป็น 3 สภาคือ:
ศาลศาลยุติธรรมมี 2 ประเภทได้แก่ ศาลหลวง (Reichshofrat) กับ ศาลคดีแห่งจักรวรรดิ (Reichskammergericht) ซึ่งก่อตั้งพร้อมกับการปฏิรูปจักรวรรดิเมื่อปี ค.ศ. 1495 เครือราชรัฐเครือราชรัฐ (Reichskreise)เกิดขึ้นหลังจากการปฏิรูปจักรวรรดิ ซึ่งเริ่มโดยการก่อตั้งเป็นหกเครือ ในปี ค.ศ. 1500 และต่อมาขยายเป็น 10 เครือในปี ค.ศ. 1512 แต่ละเครือมีหน้าที่ดูแลเฉพาะแคว้นที่อยู่ของแต่ละเครือ มีหน้าที่คล้ายรัฐบาลท้องถิ่น ส่วนที่เหลือในปัจจุบันในปัจจุบันนี้ยังมีรัฐที่เป็นส่วนที่เหลือของจักรวรรดิคือประเทศลิกเตนสไตน์ ซึ่งอยู่ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ในปัจจุบันยังมีผู้ที่มีสิทธิ์ครองบัลลังก์ตามเชื้อสายของจักรวรรดิ คือคาร์ล ฟ็อน ฮาพส์บวร์คแต่ตำแหน่งจักรพรรดินั้นได้ยกเลิกไปแล้ว อาณาจักรที่สืบทอดอำนาจต่อหลังจากการสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ไรชส์ทาคได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1815 และสิ้นสุดในปี 1866 เมื่ออาณาจักรปรัสเซียได้รวมชาติเยอรมันได้ในปี 1871 ประวัติศาสตร์
ดูเพิ่มอ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
แผนที่ |