Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ภาษาดัตช์

ภาษาดัตช์
Nederlands เนเดอร์ลานด์ส
ออกเสียง[ˈneːdərlɑnts]
ประเทศที่มีการพูดเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ซูรินาม อารูบา กือราเซา ซินต์มาร์เติน อินโดนีเซีย และฝรั่งเศส
ชาติพันธุ์ชาวดัตช์
ชาวอินโด
จำนวนผู้พูด23 ล้านคน  (2019)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรละติน (อักษรดัตช์)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ เนเธอร์แลนด์
 เบลเยียม
 ซูรินาม
 สหภาพยุโรป
ผู้วางระเบียบNederlandse Taalunie
(สหภาพภาษาดัตช์)
รหัสภาษา
ISO 639-1nl
ISO 639-2dut (B)
nld (T)
ISO 639-3nld
ประเทศที่ใช้ภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการ
Distribution of the Dutch language and its dialects in Western Europe

ภาษาดัตช์ (Nederlands) เป็นกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 23 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการในประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ประเทศซูรินาม และดินแดนโพ้นทะเลของเนเธอร์แลนด์ในแถบแคริบเบียนอันได้แก่ อารูบา ซินต์มาร์เติน และกือราเซา

ภาษาดัตช์มีความใกล้เคียงมากที่สุดกับภาษาอาฟรีกานส์ซึ่งเป็นภาษาที่มีที่มาจากภาษาดัตช์ในประเทศแอฟริกาใต้ในศตวรรษที่ 17 และภาษาเยอรมันต่ำในประเทศเยอรมนีตอนเหนือ

ชื่อเรียก

คำว่า "ดัตช์" (Dutch) เป็นคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษที่หมายถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นคำที่มีรากศัพท์เดียวกับคำภาษาเยอรมันว่า "ด็อยทช์" (deutsch) และคำภาษาดัตช์ "เดาท์ซ" (duits) ซึ่งในปัจจุบันเป็นคำคุณศัพท์ที่หมายถึงประเทศเยอรมนี คำนี้มีที่มาจากรากศัพท์ในภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมว่า *þeudō ซึ่งหมายถึงกลุ่มชน ในยุคกลาง คำนี้ได้กลายมาเป็นคำเรียกแทนชนชาติและภาษาของตนเองในภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกต่างๆ เช่น diutsch ในภาษาเยอรมันสูงยุคกลาง และ duutsc หรือ dietsc ในภาษาดัตช์ยุคกลาง โดยมีความหมายในลักษณะ "ภาษาของประชา" ที่ไม่ใช่ภาษาละติน ในภาษาอังกฤษสมัยศตวรรษที่ 15-16 คำว่า Dutch ในภาษาอังกฤษยังคงมีความหมายถึง "เยอรมัน" ในความหมายอย่างกว้าง (ที่รวมถึงเนเธอร์แลนด์) ก่อนที่จะมีความหมายเจาะจงถึงเนเธอร์แลนด์หลังจากที่สาธารณรัฐดัตช์กลายเป็นรัฐเอกราช[1]

คำเรียกภาษาดัตช์ในภาษาดัตช์ในปัจจุบันคือ "เนเดอร์ลันดส์" (Nederlands) ในประเทศเบลเยียมบางครั้งจะเรียกภาษาดัตช์ที่ใช้ในแฟลนเดอส์ว่า "ฟลามส์" (Vlaams; ภาษาเฟลมิช)

สัทวิทยา

พยัญชนะ

ภาษาดัตช์มาตรฐานมีหน่วยเสียงพยัญชนะดังต่อไปนี้[2][3]

  ริมฝีปาก ริมฝีปาก-ฟัน ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานอ่อน/
ลิ้นไก่
เส้นเสียง
นาสิก m n ŋ
ระเบิด p b t d k (ɡ)
เสียดแทรก f v s z (ʃ) (ʒ) x ɣ h
โรทิก r
เปิด ʋ l j

เสียงหยุด เพดานอ่อน ก้อง /g/ เป็นหน่วยเสียงที่มีใช้เฉพาะในคำยืมจากภาษาต่างประเทศ เช่น goal หรือเป็นหน่วยเสียงย่อย ของเสียงไม่ก้อง /k/ หากว่าอยู่ติดกับเสียงพยัญชนะก้องอื่น เช่น zakdoek [zɑgduk] (ผ้าเช็ดหน้า)[3]: 7 

เสียง /s, z, t/ หากว่าอยู่หน้าเสียง /j/ แล้ว จะกลายเป็นเสียงเพดานแข็ง [ʃ, ʒ, c] ตามลำดับ เสียงเหล่านี้อาจมีปรากฎในลักษณะหน่วยเสียงในคำยืมเช่นกัน เช่น chique [ʃik] และ jury [ʒyri] โดยสามารถวิเคราะห์ในเชิงสัทวิทยาได้ว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกับเสียงควบ /sj/ และ /zj/ ตามลำดับ[3]: 7 

เสียงพยัญชนะระเบิด ไม่ก้อง ในภาษาดัตช์ /p, t, k/ ในภาษาดัตช์มีลักษณะเป็นเสียงไม่พ่นลม (เสียงสิถิล)[2]

ภาษาดัตช์ลดเสียงก้อง (devoicing) ของเสียงพยัญชนะสุดท้ายของคำ เช่น หน่วยเสียง /d/ และ /z/ จะออกเสียงเป็น [t] และ [s] ตามลำดับ การลดเสียงก้องนี้สามารถสังเกตได้โดยการเปรียบเทียบการออกเสียงรูปเอกพจน์และพหูพจน์ของหน่วยศัพท์เดียวกัน เช่น huizen (บ้าน) ในรูปพหูพจน์ เอกพจน์กลายเป็น huis เช่นเดียวกับ duiven (นกพิราบ) เอกพจน์กลายเป็น duif ในกรณีอื่นๆ โดยเฉพาะ p/b และ d/t แม้จะคงรูปพยัญชนะในเอกพจน์แต่ก็ยังมีการลดเสียงก้องเหมือนเดิม อาทิ baarden (เครา) รูปเอกพจน์คือ baard แต่อ่านเหมือน baart หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ribben (ซี่โครง) รูปเอกพจน์คือ rib แต่อ่านเหมือน rip

บ่อยครั้งที่พยัญชนะต้นของคำถัดไปก็ถูกลดเสียงก้องไปด้วย เช่น het vee (วัวควาย) ออกเสียงเป็น /(h)ətfe/ การลดเสียงก้องในกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงในบางภูมิภาค (อาทิ อัมสเตอดัม, ฟรีสลันด์) ที่ซึ่งหน่วยเสียง /v/, /z/ และ /ɣ/ กำลังจะสูญหาย ในทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์ หน่วยเสียงเหล่านี้ยังคงออกเสียงได้อย่างถูกต้องในตำแหน่งกึ่งกลางของคำ

สระ

ภาษาดัตช์มีหน่วยเสียงสระเดี่ยวดังต่อไปนี้[3]: 4 

  หน้า กลาง หลัง
ปากไม่ห่อ ปากห่อ
คลาย เกร็ง คลาย เกร็ง คลาย เกร็ง
ปิด ɪ i ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: ɵ y (ʊ) u
ระดับกลาง ɛ øː ə ɔ
เปิด ɑ

ภาษาดัตช์มีหน่วยเสียงสระประสมสามหน่วย ได้แก่ /ɛi/, /œy/ และ /ɔu/[3]: 4 

การเน้นเสียงหนัก

ภาษาดัตช์เป็นภาษาที่ออกเสียงเน้นหนัก (stress) บนตำแหน่งของคำ การเน้นหนักสามารถปรากฏได้ทุกแห่งในคำคำหนึ่ง แต่โดยปกติแล้วจะเน้นที่ต้นคำ ในคำประสมก็มักจะมีการเน้นระดับรองอยู่ด้วย มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่การเน้นหนักใช้แยกแยะความแตกต่างของความหมาย ตัวอย่างเช่น vóórkomen (ปรากฏ) และ voorkómen (ป้องกัน) การใส่เครื่องหมายเน้นหนัก (´) ในภาษาดัตช์นั้นไม่จำเป็นต้องกระทำ ไม่ได้เป็นข้อปฏิบัติ แต่บางครั้งก็แนะนำให้ใช้

สัทสัมผัส

โครงสร้างพยางค์โดยทั่วไปของภาษาดัตช์คือ (C)(C)(C)V(C)(C)(C)(C) หมายความว่าสามารถมีพยัญชนะต้นได้ 3 ตัวเหมือนภาษาอังกฤษ เช่น straat (ถนน) และมีพยัญชนะสะกดได้ 4 ตัว เช่น herfst (ฤดูใบไม้ร่วง) interessantst (น่าสนใจที่สุด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำวิเศษณ์รูปขั้นกว่าหรือขั้นสุด

จำนวนพยัญชนะที่มากที่สุดในหนึ่งคำพบได้ในคำว่า slechtstschrijvend (งานเขียนที่แย่ที่สุด) ซึ่งมีพยัญชนะติดกัน 9 ตัว ตามทฤษฎีจะมีเพียง 7 หน่วยเสียง เนื่องจาก ch ใช้แทนหน่วยเสียงเสียงเดียว แต่การพูดโดยทั่วไปอาจลดลงเหลือเพียง 5-6 หน่วยเสียง

การเขียน

ภาษาดัตช์เขียนด้วยอักษรละตินมาตรฐาน 26 ตัว แต่มีทวิอักษร ij ที่ถือว่าเป็นตัวอักษรตัวหนึ่ง

ตัวพิมพ์เล็ก a - b - c - d - e - f - g - h - i - j - k - l - m - n - o - p - q - r - s - t - u - v - w - x - y - (ij) - z

ตัวพิมพ์ใหญ่ A - B - C - D - E - F - G - H - I - J - K - L - M - N - O - P - Q - R - S - T - U - V - W - X - Y - (IJ) - Z

สระในภาษาดัตช์มี 5 ตัว คือ a - e - i - o - u ซึ่งถ้าหากพิจารณารวมตัวอักษร ij ซึ่งเป็นได้ทั้งพยัญชนะและสระ ด้วยแล้ว จะมีสระรวมเป็น 6 ตัว

ตัวอักษร Q จะพบในคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น และเช่นกัน อักษร X และ Y ส่วนมากจะใช้ในคำที่ยืมมา แต่ก็มีบ้างที่ใช้ในชื่อหรือคำเก่า ๆ เช่น hypnose (แปลว่า hypnosis ในภาษาอังกฤษ)

ตัวอักษร E เป็นตัวอักษรที่ใช้มากที่สุดในภาษาดัตช์ โดยเฉพาะหน้าที่เป็นสระ ส่วนตัวอักษรที่ใช้น้อยที่สุด ได้แก่ ตัวอักษร Q, X, และ Y

IJ

การเขียน ij ติดกันมีลักษณะคล้าย ÿ

อักษร ij (/ɛi/ แอย) เป็นตัวที่ค่อนข้างจะเป็นปัญหา โรงเรียนประถมหลายแห่งสอนให้นักเรียนท่อง x ij z แทนที่จะเป็น x y z และเรียกอักษร y ว่า "Griekse y" (หมายถึง "y กรีก") อักษร ij ไม่ใช่เป็นการนำ i และ j มารวมกัน อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมจะพบตัวอักษร ij อยู่ระหว่าง ih กับ ik ส่วนในสมุดโทรศัพท์จะพบว่าอักษร ij จะอยู่แทนที่ตัวอักษร y เลย (เพราะว่านามสกุลหลายชื่อไม่มีมาตรฐานในการสะกด เช่น Bruijn อาจสะกดได้เป็น Bruyn)

ในการขึ้นต้นประโยคที่มี IJ เป็นตัวอักษรตัวแรก เช่น ijs (น้ำแข็ง) ให้เขียนตัว i และ j เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งสอง คือ IJs เพราะถือว่า ij คืออักษรตัวหนึ่ง อย่างไรก็ตามในภาษาถิ่นบางแห่งพิจารณา ij เป็นสระประสมเสียงเดียว (ตัว i กับ j ควบกัน) ทำให้เมื่อขึ้นต้นประโยคจะเขียน Ijs แทน IJs

อักษร ij ในการเขียนด้วยลายมือจะปรากฏคล้ายอักษร ÿ ส่วนยูนิโคดมีทวิอักษรแบบตัวเดียวคือ IJ (U+0132) และ ij (U+0133)

อ้างอิง

  1. "Dutch". Oxford English Dictionary Online. Oxford University Press. 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-08-09.
  2. 2.0 2.1 Mees, Inger; Collins, Beverley (1982). "A phonetic description of the consonant system of Standard Dutch (ABN)". Journal of the International Phonetic Association. 12 (1): 2–12. doi:10.1017/S0025100300002358.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Booij, Geert (1995). The Phonology of Dutch. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-823869-0.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9