Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

แฟรงก์ แลมพาร์ด

แฟรงก์ แลมพาร์ด
แลมพาร์ดขณะเป็นผู้จัดการทีมเชลซีใน ค.ศ. 2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด[1]
วันเกิด (1978-06-20) 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978 (46 ปี)[1]
สถานที่เกิด รอมฟอร์ด ลอนดอน อังกฤษ
ส่วนสูง 1.84 เมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
คอเวนทรีซิตี (ผู้จัดการทีม)
สโมสรเยาวชน
1994–1995 เวสต์แฮมยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1995–2001 เวสต์แฮมยูไนเต็ด 148 (24)
1995–1996สวอนซีซิตี (ยืมตัว) 9 (1)
2001–2014 เชลซี 648 (211)
2014–2015 แมนเชสเตอร์ซิตี 32 (6)
2015–2016 นิวยอร์กซิตี 29 (15)
รวม 647 (257)
ทีมชาติ
1997–2000 ทีมชาติอังกฤษ U21 19 (9)
1998 อังกฤษ ชุดบี 1 (0)
1999–2014 ทีมชาติอังกฤษ 106 (29)
จัดการทีม
2018–2019 ดาร์บีเคาน์ตี
2019–2021 เชลซี
2022–2023 เอฟเวอร์ตัน
2023 เชลซี (ชั่วคราว)
2024– คอเวนทรีซิตี
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด (อังกฤษ: Frank James Lampard; เกิดวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978) เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษและอดีตผู้เล่นซึ่งปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมสโมสรคอเวนทรีซิตีในศึกอีเอฟแอลแชมเปียนชิป ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของเชลซีและเป็นหนึ่งในกองกลางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเขา แลมพาร์ดมีสถิติเป็นกองกลางที่ยิงประตูมากที่สุดในพรีเมียร์ลีกและยิงประตูจากนอกกรอบเขตโทษมากที่สุด (41 ประตู)[2][3][4] เขายังครองสถิติสำคัญหลายรายการตลอดทศวรรษ 2000 ซึ่งรวมถึงการลงสนามมากที่สุด และการทำประตูมากที่สุดในลีก[5] เขามีจุดเด่นในด้านทักษะการทำประตูจากระยะไกลและการเล่นลูกตั้งเตะ

แลมพาร์ดเล่นในตำแหน่งกองกลางบ็อกซ์ทูบ็อกซ์ เริ่มต้นอาชีพกับเวสต์แฮมยูไนเต็ดใน ค.ศ. 1995 ซึ่งเป็นสโมสรที่คุณพ่อของเขาอย่างแฟรงก์ แลมพาร์ด ซีเนียร์เคยลงเล่น จากนั้น เขาย้ายร่วมสโมสรคู่อริในกรุงลอนดอนอย่างเชลซีใน ค.ศ. 2001 ด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ และเป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จและชื่อเสียงในฐานะนักฟุตบอลอาชีพ โดยตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ลงเล่นกับเชลซี แลมพาร์ดเป็นผู้นำในการทำประตูของสโมสรแม้จะไม่ใช่ผู้เล่นตำแหน่งกองหน้า โดยทำประตูรวมทุกรายการไปถึง 211 ประตู (147 ประตูในพรีเมียร์ลีก)[6] เขาพาทีมชนะเลิศพรีเมียร์ลีก 3 สมัย, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 1 สมัย, ยูฟ่ายูโรปาลีก 1 สมัย, เอฟเอคัพ 4 สมัย, และลีกคัพ 2 สมัย แลมพาร์ดได้รับรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล ค.ศ. 2005 และอันดับสองในการประกาศรางวัลบาลงดอร์ และรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี เขาอำลาสโมสรและย้ายร่วมทีมแมนเชสเตอร์ซิตี ใน ค.ศ. 2014 ตามด้วยสโมสรนิวยอร์กซิตีในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ในปีต่อมา และประกาศเลิกเล่นอาชีพใน ค.ศ. 2017

แลมพาร์ดเป็น 1 ใน 11 ผู้เล่น และเป็นผู้เล่นตำแหน่งกองกลางเพียงคนเดียวที่ทำครบ 150 ประตูในพรีเมียร์ลีก เขายังเป็นเจ้าของสถิติแอสซิสต์มากที่สุดอันดับ 4 ในพรีเมียร์ลีกจำนวน 102 ครั้ง[7] ตลอดระยะเวลาที่ลงเล่นในพรีเมียร์ลีก เขายังได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ และมีชื่อในทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของพีเอฟเอ 3 ครั้ง และรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำเดือนของพรีเมียร์ลีก 4 ครั้ง รวมทั้งรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก 1 ครั้ง นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ทำแอสซิสต์สูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีกอีก 3 ครั้ง และยังมีชื่อติดทีมยอดเยี่ยมของฟิฟโปรและเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ ภายหลังอำลาสโมสร เขาได้รับคัดเลือกจากแฟน ๆ ให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นแห่งทศวรรษของเชลซี รวมทั้งการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 2021[8]

ในระดับนานาชาติ แลมพาร์ดลงสนามให้ทีมชาติอังกฤษจำนวน 106 นัด โดยลงสนามในนามทีมชุดใหญ่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1999 เขามีส่วนร่วมในการแข่งขันระดับเมอร์หลายครั้ง ได้แก่ฟุตบอลโลก 3 สมัย (ค.ศ. 2006, 2010 และ 2014) และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ซึ่งเขามีชื่อติดทีมยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน แลมพาร์ดทำประตูให้ทีมชาติอังกฤษ 29 ประตู จากการลงสนาม 106 นัด และได้รับการโหวตให้เป็นผู้ชนะรางวัลผู้เล่นอังกฤษยอดเยี่ยมประจำปีสองสมัยติดต่อกันใน ค.ศ. 2004 และ 2005 และภายหลังยุติบทบาทจากทีมชาติใน ค.ศ. 2014 เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติชในปีต่อมา จากผลงานโดดเด่นในอาชีพนักฟุตบอลของประเทศอังกฤษ[9] เขาผันตัวไปทำหน้าที่นักวิเคราะห์ฟุตบอล และมีผลงานการเขียนหนังสือเด็กหลายรายการ[10]

แลมพาร์ดเริ่มอาชีพผู้จัดการทีมครั้งแรกใน ค.ศ. 2018 โดยเริ่มงานกับสโมสรดาร์บีเคาน์ตีในระดับอีเอฟแอลแชมเปียนชิป พาทีมเข้าสู่อีเอฟแอลแชมเปียนชิป เพลย์ออฟ 2019 นัดชิงชนะเลิศ ก่อนจะแพ้แอสตันวิลลาด้วยผลประตู 1–2 ทำให้ต้นสังกัดไม่ได้เลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีก เขาได้รับการแต่งตั้งให้คุมทีมเชลซีในปีต่อมา และพาทีมจบอันดับ 4 ในพรีเมียร์ลีก และเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพในฤดูกาลแรก ก่อนจะถูกปลดจากผลงานย่ำแย่ใน ค.ศ. 2021 และได้รับแต่งตั้งให้คุมทีมเอฟเวอร์ตันในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 แต่ก็ถูกปลดหลังอยู่ในตำแหน่งได้หนึ่งปี เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมรักษาการให้แก่เชลซีอีกครั้งในช่วงปลายฤดูกาล 2022–23 แต่พาทีมทำผลงานย่ำแย่ด้วยการชนะเพียงนัดเดียวจาก 11 นัดรวมทุกรายการ และยุติบทบาทเมื่อจบฤดูกาล งานต่อมาของเขาคือการคุมทีมคอเวนทรีซิตีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2024

ประวัติ

แฟรงก์ แลมพาร์ด มีชื่อเต็มว่า แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด เกิดวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ที่กรุงลอนดอน ในตระกูลนักฟุตบอล โดยพ่อของเขาคือ แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์) เป็นอดีตกองหลังทีมชาติอังกฤษ ลุงของเขาคือ แฮร์รี เรดแนปป์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ เจมี เรดแนปป์ เป็นอดีตนักเตะของเซาแทมป์ตันเช่นเดียวกัน

การศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยลอนดอน เขาเป็นหนึ่งในอดีตนักเตะเยาวชนของเวสต์แฮมยูไนเต็ด และเคยถูกยืมตัวไปเล่นกับ สวอนซีซิตี ใน ค.ศ. 1995 และย้ายมาร่วมสโมสร เชลซี ใน ค.ศ. 2001 ติดทีมชาติอังกฤษครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1999 แลมพาร์ดเป็นกองกลางที่ทำประตูได้ 200 ประตู ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร และเป็นกองกลางคนที่สองต่อจากแมธทิว ทริสเซอร์ ที่ทำประตูมากว่า 100 ประตูในพรีเมียร์ลีก นอกจากนี้ แลมพาร์ดยังทำสถิติเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ทำประตูในพรีเมียร์ลีกมากกว่า 10 ประตูติดต่อกันถึง 9 ฤดูกาลอีกด้วย

สโมสรอาชีพ

เวสต์แฮมยูไนเต็ด

แลมพาร์ด เริ่มต้นอาชีพฟุตบอลกับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ด โดยลงเล่นกับทีมเยาวชนตั้งแต่ ปี 1993 และสร้างผลงานได้ดีพอสมควร โดยเขายังเป็นลูกชายของแฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์) ผู้ช่วยคนสำคัญของแฮร์รี เรดแนปป์ กุนซือของเวสต์แฮมในขณะนั้นซึ่งเป็นลุงของเขา

1994/1995 เซ็นสัญญาเป็นนักเตะกับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ด แต่เขาก็ยังไม่ได้ลงเล่นในชุดใหญ่ โดยลงเล่นในทีมสำรองของสโมสรอื่น

1995/1996 แล้วโอกาสสัมผัสเกมกับทีมชุดใหญ่ก็เกิดขึ้นในฤดูกาลนี้ โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในเกมพรีเมียร์ชิพ และเขาลงเล่นให้เวสต์แฮม 2 นัดก็ถูกปล่อยตัวให้สวอนซีซิตี ทีมในดิวิชัน 2 ยืมตัวไปใช้งาน โดยลงเล่นกับสวอนซี 9 นัด ทำได้ 1 ประตู

1996/1997 หลังจากกลับมาจากการยืมตัวเขาก็ได้ลงเล่นให้ทีมมากขึ้นในฤดูกาลต่อมา โดยลงเล่นอีก 13 นัด แต่ก็มาโชคร้ายกระดูกขาขวาแตกในนัดปะทะกับแอสตันวิลลา ทำให้ต้องพักยาว

1997/1998 กลับมาเล่นให้ทีมอีกครั้ง โดยยึดตำแหน่งตัวจริงได้สำเร็จ และลงเล่นทั้งหมด 31 นัด ทำได้ 4 ประตู กลายเป็นมิดฟิลด์ดาวรุ่งขวัญใจกองเชียร์ทีมขุนค้อน จากผลงานอย่างต่อเนื่องกับเวสต์แฮมทำให้เขามีชื่อติดทีมชาติอังกฤษชุดเล็ก

1998/1999 ยังคงเล่นกับเวสต์แฮมอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ผลงานของทีมจะไปได้ไม่ไกลนัก แต่ชื่อของแฟรงก์ แลมพาร์ดก็เริ่มเข้าไปอยู่ในใจของบรรดากุนซือทั้งหลาย โดยเขาลงเล่นให้เวสต์แฮม 38 นัด ทำได้ 5 ประตู

1999/2000 ฤดูกาลนี้เวสต์แฮมผ่านเข้าไปเล่นยูฟ่าคัพ โดยผ่านการคัดเลือกจากถ้วยอินเตอร์โตโตคัพด้วย ซึ่งแลมพาร์ดก็ยังเล่นให้ทีมอย่างต่อเนื่อง โดยเขาลงเล่นทั้งสิ้น 34 นัด ทำได้ 7 ประตู และเขาก็มีชื่อติดทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ โดยเขาลงเล่นครั้งแรกในนัดกระชับมิตรกับเบลเยียมที่สเตเดียมออฟไลต์ (สนามเหย้าของซันเดอร์แลนด์) ในวันที่ 10 ตุลาคม 1999

2000/2001 เขาเป็นนักเตะที่ผลงานคงเส้นคงวามากที่สุดคนหนึ่งในพรีเมียร์ชิพ โดยปีนี้เขาลงเล่น 30 นัด ทำได้ 7 ประตู แต่ผลงานของทีมก็ไม่น่าประทับใจนัก ซึ่งหลังจบฤดูกาลมีหลายทีมต่างให้ความสนใจในตัวเขา และก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในทีม พ่อและลุงของเขาถูกสโมสรไล่ออก ทำให้เขาเริ่มไม่มีความสุขกับทีมต้นสังกัด และก็เป็นกุนซือ เกลาดีโอ รานีเอรี ของเชลซีที่เสนอเงิน 11 ล้านปอนด์เพื่อซื้อตัวเขาไปร่วมทีม

เชลซี

2001/2002 เขากลายมาเป็นนักเตะของเชลซีโดยเซ็นสัญญาในวันที่ 14 มิถุนายน 2001 ด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ และเริ่มต้นชีวิตการค้าแข้งที่ท้าทายใหม่อีกครั้ง โดยเขาลงเล่นเป็นกองกลางเคียงข้างกับแอมานุแอล เปอตี ซึ่งถือว่าเป็นคู่กองกลางที่แข็งแกร่งมาก เขาพาทีมเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพในฤดูกาลแรกของทีมสิงโตน้ำเงินคราม แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อนัดชิงพ่ายกับอาร์เซนอล ซึ่งฤดูกาลนี้เองที่อาร์เซนอลคว้าดับเบิลแชมป์เป็นครั้งที่สอง โดยแลมพาร์ดลงเล่นในลีกทั้งสิ้น 37 นัด ทำได้ 5 ประตู และ 1 ประตูจาก 4 เกมในยูฟ่าคัพ ถึงแม้ว่าฤดูกาลนี้เขาจะโชว์ผลงานได้ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่มีชื่อติดทีมชาติไปร่วมฟุตบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่น

2002/2003 จากความผิดหวังที่ไม่ได้ร่วมทีมไปฟุตบอลโลกทำให้เขาตั้งใจเล่นมากขึ้นกว่าเดิม และพยายามอย่างยิ่งที่จะไปยึดตัวจริงในทีมชาติอังกฤษ ซึ่งเขาก็ทำได้ดีเลยทีเดียวโดยพาทีมคว้าอันดับ 4 ของลีก แย่งตำแหน่งการไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกให้ทีมได้สำเร็จ โดยฤดูกาลนี้เขาลงเล่นในลีก 38 นัด ทำได้ 6 ประตู และ 1 ประตูจาก 2 เกมในยูฟ่าคัพ จากผลงานที่ดีวันดีคืนของเขาทำให้เขามีโอกาสก้าวขึ้นไปติดทีมชาติบ่อยครั้งขึ้น

2003/2004 ปีนี้เขาโชว์ฟอร์มได้ดีพอสมควร ทั้งในนามทีมชาติ และกับสโมสรโดยเขาลงเล่นในลีก 38 นัด ทำได้ 10 ประตู และ 4 ประตูจาก 14 เกมในยูฟ่าแชมเปียนลีก เขาได้รางวัลอันดับ 2 นักเตะยอดเยี่ยมของ PFA โดยเป็นรองตีแยรี อ็องรี นักเตะระดับโลกของอาร์เซนอล และปีนี้เองเขายังทำประตูในนามทีมชาติเป็นครั้งแรกในนัดกระชับมิตรพบกับโครเอเชีย ในวันที่ 20 สิงหาคม 2003

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร 2004 ที่โปรตุเกสปีนี้เขามีชื่อเป็นตัวจริง ในฐานะนักเตะคนสำคัญของทีม เขาลงเล่นนัดแรกพบฝรั่งเศส และอังกฤษชนะไป 2-1 โดยแลมพาร์ด ทำได้ 1 ประตู ซึ่งนัดต่อมาพบ สวิตเซอร์แลนด์ เขาก็พาทีมชนะไป 3-0 โดยต่อมาพบกับ โครเอเชีย และแลมพาร์ดก็ยิงอีก 1 ประตูในชัยชนะ 4-2 แต่แล้วอังกฤษก็ต้องตกรอบต่อมาด้วยฝีมือเจ้าภาพ ในการดวลจุดโทษ

2004/2005 ปีนี้เองเชลซีมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยการมาของโชเซ มูริญโญ ผู้จัดการทีมคนใหม่ซึ่งพกดีกรีมามากมายทั้งแชมป์ลีกโปรตุเกส แชมป์ยูฟ่าคัพ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เขาเปลี่ยนแปลงทีมครั้งใหญ่โดยซื้อนักเตะใหม่เข้ามาเสริมมากมาย แต่แฟรงก์ แลมพาร์ดก็ยังเป็นนักเตะคนสำคัญของทีมรวมดาราโลกอยู่ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ทีมผิดหวังเขาพาทีมขึ้นคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษ และทะลุไปถึงรอบ 4 ทีมสุดท้ายของแชมป์เปียนลีกแต่ก็พ่ายกับลิเวอร์พูลซึ่งเป็นแชมป์ของแชมป์เปียนลีกในเวลาต่อมาไปด้วยประตูคาใจของแฟนเชลซีทั่วโลก นอกจากนี้ยังพาทีมได้แชมป์ลีกคัพอีกด้วย โดยในฤดูกาลนี้เขาลงเล่นทั้งสิ้น 38 นัด ทำได้ 13 ประตู และ 4 ประตูจาก 12 เกมในยูฟ่าแชมเปียนลีก

2005/2006 เขายังโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างสม่ำเสมอ พาต้นสังกัดขึ้นสู่จ่าฝูงพรีเมียร์ลีก ด้วยคะแนนท่วมท้น และยังยิงประตูอย่างต่อเนื่อง โดยทำลายสถิติลงสนามติดต่อกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ชิพของเดวิด เจมส์ที่ทำไว้ 159 นัดลงอย่างสิ้นเชิง โดยฤดูกาลนี้เขาทำได้ 20 ประตู เป็นประตูจากพรีเมียร์ลีก 16 ประตู จากการลงเตะ 35 นัด ซึ่งสูงที่สุดในบรรดากองกลางจาก[[พรีเมียร์ลีก] และ 2 ประตูจากลีกคัพและอีก 2 ประตูจากยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และพาเชลซีได้แชมป์[[พรีเมียร์ลีก] อีกสมัย

2006/2007 ปีนี้เขาก็ยังยิงประตูได้อย่างต่อเนื่อง ทำได้ถึง 21 ประตูจากพรีเมียร์ลีก 11 ประตู จากการลงเตะ 36 นัด เอฟเอคัพ 6 ประตู ลีกคัพ 3 ประตู ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 1 ประตู

2007/2008 ในปีนี้อาจเป็นปีที่โชคไม่ค่อยดีสำหรับเขา เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บและสูญเสียมารดา แต่ก็ยังสามารถทำประตูสำคัญได้จากจุดโทษในนัดเจอลิเวอร์พูล เกมยูฟ่าแชมเปียนลีกรอบรองชนะเลิศ และฤดูกาลนี้เขาทำประตูได้ถึง 20 ประตู จากพรีเมียร์ลีก 10 ประตูจากการลงเตะ 23 (1) นัด เอฟเอคัพ 2 ประตู ลีกคัพ 4 ประตู และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ประตู

2008/2009 เขาต่อสัญญาใหม่ออกไปอีก 5 ปี และยังรักษามาตรฐานการเล่นได้อย่างดี ทำประตูในทุกรายการ 20 ประตู จากพรีเมียร์ลีก 12 ประตู จากการลงเตะ 37 นัด ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 3 ประตู ลีกคัพ 2 ประตู และเอฟเอคัพ 3 ประตู และเป็นประตูสำคัญให้ทีมกลับมาเอาชนะเอฟเวอร์ตันคว้าแชมป์ไปในที่สุด ด้วยฟอร์มของเขา ทำให้ได้รับการโหวตให้เป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของเชลซี ประจำฤดูกาลนี้

2009/2010 เขาสามารถคว้าดับเบิลแชมป์กับเชลซีเป็นสมัยแรกของสโมสรได้สำเร็จ โดยการเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกและเอฟเอคัพ โดยยิงไปทั้งสิ้น 27 ประตูรวมทุกรายการในตำแหน่งกองกลาง

2010/2011 เป็นฤดูกาลที่ย่ำแย่สำหรับเขา ด้วยอาการบาดเจ็บที่รบกวนทำให้ในฤดูกาลนี้เขาได้ลงเล่นแค่ 32 เกม ยิงได้ 13 ประตู รวมทุกรายการ โดยแบ่งเป็นในพรีเมียร์ลีก 10ประตู และเอฟเอคัพ 3 ประตู

2011/2012 ด้วยการเข้ามาของ อังเดร วิลลาส โบอาส ทำให้เขาไม่ค่อยถูกส่งลงสนาม แต่ผลงานของทีมที่ไม่ดี และสโมสรจึงแต่งตั้ง โรแบร์โต ดี มัตเตโอ เป็นผู้จัดการทีมแทน ทำให้ เขาได้กลับมาเป็นตัวหลักของทีมอีกครั้ง โดยปีนี้ เขาทำประตูได้ 17 ประตู รวมทุกรายการ

นิวยอร์กซิตี

2014/2015 แลมพาร์ดได้ย้ายออกจากเชลซี สโมสรที่เขาประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงไปยังนิวยอร์กซิตี ในเมเจอร์ลีก สหรัฐอเมริกา แต่ทว่ายังมิได้ทันได้ลงเล่นให้กับต้นสังกัด ก็ถูกแมนเชสเตอร์ซิตีขอยืมตัวกลับมาเล่นในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ทันที พร้อมกับได้ประกาศยุติการเล่นให้กับทีมชาติไป โดยทำสถิติติดทีมชาติทั้งสิ้น 106 นัด ยิงประตูได้ทั้งหมด 29 ลูก [11]

แมนเชสเตอร์ซิตี (ยืม)

แลมพาร์ดลงเล่นให้แมนเชสเตอร์ซิตีครั้งแรก ในนัดที่พบกับอาร์เซนอล ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แต่ปรากฏว่าถูกใบเหลืองในนาทีที่ 22 และถูกเปลี่ยนตัวออกเมื่อหมดครึ่งแรก[12]

แลมพาร์ดลงเล่นให้แมนเชสเตอร์ซิตีนัดที่สอง ในนัดที่พบกับเชลซี ทีมเก่าของตัวเอง ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แต่ปรากฏว่าผู้เล่นของแมนเชสเตอร์ซิตีถูกใบแดงในนาทีที่ 66 จึงทำให้เชลซีขึ้นนำก่อน 1-0 ในนาทีที่ 71 จนกระทั่งถึงช่วงท้ายในนาทีที่ 85 แลมพาร์ดทำประตูตีเสมอให้กับทีม ช่วยให้ผลการแข่งขันกลับมาเสมอได้สำเร็จ [13]

เกียรติประวัติ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Hugman, Barry J. (2005). The PFA Premier & Football League Players' Records 1946–2005. Queen Anne Press. p. 358. ISBN 1-85291-665-6.
  2. "Ranked! The 101 greatest football players of the last 25 years: full list". FourFourTwo (253 ed.). 13 February 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2023.
  3. "Premier League Records - Clubs, Players & Managers Stats". www.premierleague.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
  4. "Top 20 Premier League stars who have scored the most goals outside the box". 20 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2021. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
  5. "Football News, Transfers, Latest Team News | TribalFootball". www.tribalfootball.com (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Manchester City: Frank Lampard's deal from New York extended". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-12-31. สืบค้นเมื่อ 2024-10-22.
  7. "All Time Player Records". web.archive.org. 2013-12-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-04. สืบค้นเมื่อ 2024-10-22.
  8. "Lampard enters Premier League Hall of Fame". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Video: Duke of Cambridge awards Frank Lampard OBE for services to football - Telegraph". web.archive.org. 2019-07-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-04. สืบค้นเมื่อ 2024-10-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. Team, Balls (2023-01-25). "Why Frank Lampard's Children's Books Are Works Of Great Literary Genius". Balls.ie (ภาษาอังกฤษ).
  11. ""แลมพ์" ลาทีมชาติ อวย "ปู่รอย" พาสิงโตลิ่วยูโร 2016". ผู้จัดการออนไลน์. 26 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 27 August 2014.
  12. "ปืนใหญ่จมเรือใบไม่ลง!เปิดรังเจ๊าสุดมัน2-2". สยามสปอร์ต. 13 September 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.
  13. "แลมพ์สยิงทีมเก่า!เรือ 10 ตัวเจ๊าสิงห์ดราม่า 1-1". สยามสปอร์ต. 22 September 2014. สืบค้นเมื่อ 22 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า แฟรงก์ แลมพาร์ด ถัดไป
ตีแยรี อ็องรี นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ
(ค.ศ. 2005)
ตีแยรี อ็องรี
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9