Éire (ไอริช) Ireland (อังกฤษ)
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด
ดับลิน 53°20.65′N 6°16.05′W / 53.34417°N 6.26750°W / 53.34417; -6.26750 53°N 8°W / 53°N 8°W / 53; -8 ภาษาราชการ ไอริช ,[b] อังกฤษ [ 1] กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา การปกครอง รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี ไมเคิล ดี. ฮิกกินส์ ไซมอน แฮร์ริส ไมเคิล มาร์ติน โดนัล โอดอนเนลล์
สภานิติบัญญัติ เอรัฆตัส ชานัด ดาล เอกราช 24 เมษายน ค.ศ. 1916 21 มกราคม ค.ศ. 1919 6 ธันวาคม ค.ศ. 1921 6 ธันวาคม ค.ศ. 1922 29 ธันวาคม ค.ศ. 1937 18 เมษายน ค.ศ. 1949
พื้นที่ • รวม
70,273 ตารางกิโลเมตร (27,133 ตารางไมล์) (อันดับที่ 118 ) 2.0% ประชากร • ค.ศ. 2021 ประมาณ
5,011,500[ 4] (อันดับที่ 122 )• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2016
4,761,865[ 5] 71.3 ต่อตารางกิโลเมตร (184.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 113 ) จีดีพี (อำนาจซื้อ ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ) • รวม
561,000 ล้านดอลลาร์[ 6] (อันดับที่ 44 ) 111,360 ดอลลาร์[ 6] (อันดับที่ 3 )จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ) • รวม
516,000 ล้านดอลลาร์[ 6] (อันดับที่ 29 ) 102,394 ดอลลาร์[ 6] (อันดับที่ 3 )จีนี (ค.ศ. 2019) 28.3[ 7] ต่ำ · อันดับที่ 23 เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) 0.955[ 8] สูงมาก · อันดับที่ 2 สกุลเงิน ยูโร (€ )[c] (EUR )เขตเวลา UTC (GMT )UTC +1 (IST )รูปแบบวันที่ วว/ดด/ปปปป ขับรถด้าน ซ้ายมือ รหัสโทรศัพท์ +353 โดเมนบนสุด .ie [d]
ไอร์แลนด์ (อังกฤษ : Ireland , ออกเสียง: /ˈaɪərlənd/ ⓘ ; ไอริช : Éire , ออกเสียง: [ˈeːɾʲə] ⓘ ) ซึ่งบางครั้งใช้คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) ว่า สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (อังกฤษ : Republic of Ireland ; ไอริช : Poblacht na hÉireann ) เป็นประเทศ ในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งประกอบด้วย 26 เทศมณฑลจาก 32 เทศมณฑลบนเกาะไอร์แลนด์ เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือดับลิน ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร 5 ล้านคนของประเทศอาศัยอยู่ในเขตมหานครดับลิน [ 10] รัฐอธิปไตย แห่งนี้มีพรมแดนทางบกเพียงแห่งเดียวร่วมกับไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร เขตแดนที่เหลือถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก โดยจรดทะเลไอริช ทางทิศตะวันออก จรดช่องแคบเซนต์จอร์จิส ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจรดทะเลเคลติก ทางทิศใต้ ไอร์แลนด์เป็นสาธารณรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา [ 11] สภานิติบัญญัติหรือ เอรัฆตัส ประกอบด้วยสภาล่าง หรือ ดาลเอเริน , สภาสูง หรือ ชานัดเอเริน และประธานาธิบดี (อวฆตาราน ) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งและทำหน้าที่ประมุขแห่งรัฐ ทางพิธีการเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีอำนาจและหน้าที่สำคัญบางประการ หัวหน้ารัฐบาล คือ ทีเชิฆ (นายกรัฐมนตรี; แปลแบบตรงตัวว่า "หัวหน้า") ซึ่งได้รับเลือกจาก ดาลเอเริน และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ ทีเชิฆ จะเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีคนอื่น ๆ อีกทอดหนึ่ง
เสรีรัฐไอริช ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมีฐานะเป็นประเทศในเครือจักรภพ เมื่อ ค.ศ. 1922 ภายหลังสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอริช ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1937 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีผลให้รัฐนี้ใช้ชื่อว่า "ไอร์แลนด์" และใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งแต่ไม่มีอำนาจบริหาร ไอร์แลนด์ได้รับการประกาศให้เป็นสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1949 หลังจากการประกาศใช้รัฐบัญญัติแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ค.ศ. 1948 ไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1955 และเข้าร่วมประชาคมยุโรป (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสหภาพยุโรป ) เมื่อ ค.ศ. 1973 รัฐนี้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไอร์แลนด์เหนือเกือบตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1980 และคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลสหราชอาณาจักรและรัฐบาลไอร์แลนด์ได้ประสานงานกับพรรคการเมืองในไอร์แลนด์เหนือเพื่อแก้ไขความขัดแย้งหรือ เดอะทรับเบิลส์ นับตั้งแต่การลงนามในความตกลงวันศุกร์ประเสริฐ เมื่อ ค.ศ. 1998 รัฐบาลไอร์แลนด์ และฝ่ายบริหารไอร์แลนด์เหนือ ได้ร่วมมือกันในนโยบายหลายด้านภายใต้สภามนตรีเหนือ/ใต้ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามความตกลงดังกล่าว
หนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของยุโรปตั้งอยู่ที่ดับลิน ไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในสิบประเทศที่มั่งคังที่สุดในโลกในแง่จีดีพีต่อหัว แต่สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งมาจากกลยุทธ์การเลี่ยงภาษีอัตราสูงของบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ที่ดำเนินการในไอร์แลนด์[ 12] [ 13] [ 14] [ 15] ตั้งแต่ ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา ธนาคารกลางแห่งไอร์แลนด์ ได้ประกาศรายได้มวลรวมประชาชาติแปลงอัตรา (จีเอ็นไอ*) เนื่องจากเห็นว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ผิดเพี้ยนอย่างมีนัยสำคัญเกินกว่าจะชี้วัดหรือเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจไอร์แลนด์ได้อย่างแม่นยำ[ 16] [ 17] หลังจากที่เข้าร่วมประชาคมยุโรป รัฐบาลไอร์แลนด์ได้ประกาศใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมซึ่งส่งผลให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2007 (ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคเสือเคลต์ ") ก่อนที่จะมาพลิกผันในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ [ 18]
ไอร์แลนด์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคุณภาพชีวิตสูงที่สุดในโลกและมีผลการดำเนินงานที่ดีในตัวชี้วัดสมรรถนะระดับชาติหลายประการ ซึ่งรวมถึงบริการสุขภาพ เสรีภาพทางเศรษฐกิจ และเสรีภาพทางสื่อ [ 19] [ 20] ไอร์แลนด์เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป และเป็นสมาชิกก่อตั้งสภายุโรป และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) รัฐบาลไอริชได้ปฏิบัติตามนโยบายความเป็นกลางทางทหารผ่านท่าทีไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนี้ไอร์แลนด์จึงไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)[ 21] ถึงแม้จะเป็นสมาชิกของแผนงานความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (พีเอฟพี) และขอบเขตต่าง ๆ ภายในกรอบความร่วมมือโครงสร้างถาวร (เพสโก) ก็ตาม
การเมืองการปกครอง
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศไอร์แลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 เทศมณฑล ได้แก่
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไอร์แลนด์
2011 census
อันดับ
ชื่อ
เทศมณฑล
ประชากร
ดับลิน คอร์ก
1
ดับลิน
ดับลิน
1,110,627
ลิเมอริก กอลเวย์
2
คอร์ก
คอร์ก
198,582
3
ลิเมอริก
ลิเมอริก
91,454
4
กอลเวย์
กอลเวย์
76,778
5
วอเตอร์ฟอร์ด
วอเตอร์ฟอร์ด
51,519
6
ดรอเฮดา
เลาท์
38,578
7
ดันดอล์ก
เลาท์
37,816
8
ซอดส์
ฟิงกัล
36,924
9
เบรย์
วิกโลว์
31,872
10
นาวาน
มีท
28,559
การศึกษา
ไอร์แลนด์มีสามระดับการศึกษา คือระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ระบบการศึกษาเป็นส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แนวทางของรัฐบาล โดยผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับประถมและมัธยมศึกษา ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักสูตรที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานที่มีอำนาจที่ได้กำหนดให้ เด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งมีช่วงอายุระหว่างหกและสิบห้าปี เด็กทุกคนที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้นสามปีแรกของมัธยมศึกษา รวมทั้งต้องมีหนังสือรับรองการสอบที่มีชื่อว่าจูเนียร์ เซอร์ทิฟิเคท[ 22]
อ้างอิง
↑ "Official Languages Act 2003" . Office of the Attorney-General. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 18 February 2012 .
↑ "CSO Census 2016 Chapter 6 – Ethnicity and Irish Travellers" (PDF) . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2017. สืบค้นเมื่อ 28 April 2017 .
↑ Smyth, Declan (12 October 2017). "Profile 8 – Irish Travellers Ethnicity and Religion" (Press release). CSO.ie. Central Statistics Office. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 January 2018 .
↑ "Population and Migration Estimates" . Central Statistics Office. 31 August 2021. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2021. สืบค้นเมื่อ 31 August 2021 .
↑ "Press Statement | Census 2016 Summary Results – Part 1" (PDF) . Central Statistics Office . 6 April 2017. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2017 .
↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "World Economic Outlook Database, October 2021" . IMF.org . International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020 .
↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey" . ec.europa.eu . Eurostat . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2020. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021 .
↑ "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme . 10 December 2019. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019 .
↑ Coakley, John (20 August 2009). Politics in the Republic of Ireland . Taylor & Francis. p. 76. ISBN 978-0-415-47672-0 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 May 2011 .
↑ "Population and Migration Estimates, April 2018" เก็บถาวร 26 มกราคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Central Statistics Office, released 28 August 2018
↑ L. Prakke; C. A. J. M. Kortmann; J. C. E. van den Brandhof (2004), Constitutional Law of 15 EU Member States , Deventer: Kluwer, p. 429, ISBN 9013012558 , Since 1937 Ireland has been a parliamentary republic, in which ministers appointed by the president depend on the confidence of parliament
↑ " 'Leprechaun Economics' Earn Ireland Ridicule, $443 Million Bill" . Bloomberg L.P. 13 July 2016. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2016. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021 .
↑ Gabriel Zucman ; Thomas Torslov; Ludvig Wier (June 2018). "The Missing Profits of Nations" . National Bureau of Economic Research , Working Papers. p. 31. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2018. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021 . Appendix Table 2: Tax Havens
↑ "Ireland is the world's biggest corporate 'tax haven', say academics" . The Irish Times . 13 June 2018. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2018. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021 . New Gabriel Zucman study claims State shelters more multinational profits than the entire Caribbean
↑ "Financial Stability Board 2017 Report: The largest shadow banking centres" . Irish Independent . 6 March 2018. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021 .
↑ "CSO paints a very different picture of Irish economy with new measure" . The Irish Times . 15 July 2017. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2019. สืบค้นเมื่อ 12 April 2018 .
↑ "New economic Leprechaun on loose as rate of growth plunges" . Irish Independent . 15 July 2017. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 April 2018 .
↑ Nicoll, Ruaridh (16 May 2009). "Ireland: As the Celtic Tiger roars its last" . The Guardian . London. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010 .
↑ "Human Development Report 2020" (PDF) . HDRO (Human Development Report Office) United Nations Development Programme . p. 343. สืบค้นเมื่อ 29 January 2022 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Henry, Mark (2021). In Fact An Optimist's Guide to Ireland at 100 . Dublin: Gill Books. ISBN 978-0-7171-9039-3 . OCLC 1276861968 .
↑ "NATO – Member countries" . NATO. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014 .
↑ Education (Welfare) Act, 2000 (Section 17) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
Gilland, Karin (2001). Ireland: Neutrality and the International Use of Force . Routledge. ISBN 0-415-21804-7 .
Greenwood, Margaret (2003). Rough guide to Ireland . Rough Guides. ISBN 1-84353-059-7 .
Mangan, James Clarence (2007). James Clarence Mangan – His Selected Poems . Read Books. ISBN 978-1-4086-2700-6 .
Meinardus, Otto Friedrich August (2002). Two thousand years of Coptic Christianity . American Univ in Cairo Press. ISBN 977-424-757-4 .
Moody, Theodore William (2005). A New History of Ireland: Prehistoric and early Ireland . Oxford University Press. ISBN 0-19-821737-4 .
หนังสืออ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
รัฐเอกราช
เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สหราชอาณาจักร
นานาชาติ ประจำชาติ ภูมิศาสตร์ ศิลปิน ประชาชน อื่น ๆ