Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เอ็ดมันด์ เบิร์ก

เดอะไรต์ออนะระเบิล
เอ็ดมันด์ เบิร์ก
ภาพวาดของเอ็ดมันด์ เบิร์ก โดยโจชัว เรย์โนลด์ส
เกิด12 มกราคม ค.ศ. 1729
ดับลิน, ไอร์แลนด์
เสียชีวิต9 กรกฎาคม ค.ศ. 1797(1797-07-09) (68 ปี)
บักกิงแฮมเชอร์, บริเตนใหญ่
ศิษย์เก่าวิทยาลัยทรินิตี ดับลิน
ยุคยุคเรืองปัญญา
ความสนใจหลัก
สังคมและปรัชญาตะวันตก
ได้รับอิทธิพลจาก
ศาสนาคริสตจักรแห่งไอร์แลนด์

เอ็ดมันด์ เบิร์ก (อังกฤษ: Edmund Burke) เป็นรัฐบุรุษชาวไอร์แลนด์[1] และยังเป็นทั้งนักปรัชญา, นักปราศรัย, นักทฤษฏีการเมือง และเป็นนักการเมืองอังกฤษสังกัดพรรควิกโดยเป็นสมาชิกสภาสามัญชน เขาเป็นที่รู้จักจากการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา, การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก, การฟ้องร้องข้าหลวงวอร์เรน ฮาสติงส์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก และภายหลังจากการไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขาผันตัวไปเป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมในพรรควิกซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งตัวเขาเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม "วิกเก่า" (Old Whigs) ซึ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกับฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่ากลุ่ม "วิกใหม่" (New Whigs) ที่นำโดยชาร์ล เจมส์ ฟ็อกซ์[2]

เบิร์กเชื่อว่าเสรีภาพและจารีตประเพณีสามารถไปด้วยกันได้ ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งถึงขั้นนองเลือดหรือสถาปนาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอยชัดเจน การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นเขาจึงเชื่อมั่นในวิถีแห่งการประนีประนอมมากกว่าการห้ำหั่นเอาชนะ ในขณะที่เขาต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสเขากลับสนับสนุนการปลดแอกของอเมริกาจากอังกฤษ เขาให้เหตุผลว่าเนื่องจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาเสรีภาพและความเท่าเทียมตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการยุยงโดยชนชั้นนำซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปซึ่งการปกครองในระบอบเผด็จการที่เลวร้ายกว่าเดิม

ในศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขาเสียชีวิตกว่าร้อยปีแล้ว เขากลายมาเป็นว่าได้รับการนับถืออย่างมากในฐานะนักปรัชญาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม่[3][4]

ประวัติ

เบิร์กเกิดในดับลิน ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ โดยมีบิดาเป็นนักสังคมที่ประสบความสำเร็จสูงและบิดายังเป็นสมาชิกของคริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ โดยตระกูลเบิร์กเป็นตระกูลที่มีเชื้อชายอัศวินชาวอังกฤษ-นอร์มันที่ใช้นามสกุลว่า de Burgh ซึ่งได้มายังไอร์แลนด์ในปี 1185 ภายหลังการรุกรานไอร์แลนด์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษในปี 1171[5]

เบิร์กได้เจริญรอยตามบิดา โดยการยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักนิกายแองกลิคันตลอดชีวิตของเขา ไม่เหมือนกับน้องสาวซึ่งนับถือโรมันคาทอลิก[6] ภายหลังเขาได้ถูกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหยิบยกประเด็นที่ว่า เขาเคยเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยแช็งออแมร์ของคณะเยสุอิต ใกล้กับเมืองกาแลในฝรั่งเศส ซึ่งการนับถือในคาทอลิกจะทำให้เขาถูกตัดสิทธิ์จากตำแหน่งทางการเมือง แต่เบิร์กก็สามารถรอดพ้นประเด็นดังกล่าวมาได้ โดยเขาสาบานที่จะปฏิเสธความเชื่อแปรสารจากขนมปังและเหล้าองุ่น (Transubstantiation) ของนิกายคาทอลิก[7] แต่แม้ว่าเขาจะไม่เคยปฏิเสธเชื้อสายไอร์แลนด์ แต่เขาก็ระบุว่าตนเองนั้นเป็น "ชาวอังกฤษ"[8]

สงครามปฏิวัติอเมริกา

เอ็ดมันด์ เบิร์ก ในฐานะสมาชิกสภาสามัญชน ได้สนับสนุนความคับแค้นใจของพลเมืองอาณานิคมอเมริกาของสหราชอาณาจักรภายใต้รัฐบาลของพระเจ้าจอร์จที่ 3 โดยเขาได้เสนอทางออก 6 ประการที่จะยุติความขัดแย้งในทวีปอเมริกาเหนือ คือ:

  1. ยินยอมให้ประชากรในนิคมอเมริกาได้เลือกผู้แทนของเขาเอง แล้วระงับข้อพิพาทเรื่องการจัดเก็บภาษีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง;
  2. ยอมรอบการกระทำที่ผิดพลาดนี้และขออภัยต่อเหตุข้องใจต่างๆ;
  3. จัดให้มีวิธีการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพและส่งผู้แทนเหล่านี้ไป;
  4. จัดตั้งสมัชชาใหญ่ในอเมริกาเอง โดยมีอำนาจวางระเบียบภาษี;
  5. ยุติการจัดเก็บภาษีโดยข้อบัญญัติ (หรือโดยกฎหมาย) และเริ่มต้นจัดเก็บภาษาเฉพาะเมื่อยามต้องการ; และ
  6. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นต่อบรรดานิคม

โชคร้ายที่เบิร์กได้แถลงทางออกเหล่านี้เพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนที่วิกฤตจะปะทุขึ้น[9] และข้อเสนอเหล่านี้จึงไม่เคยได้ออกเป็นกฎหมาย

มรดก

นักประวัติศาสตร์การเมืองส่วนใหญ่ในโลกภาษาอังกฤษถือว่าเบิร์กเป็นนักอนุรักษนิยมเสรี (liberal conservative)[10] และบิดาของอนุรักษนิยมบริติช[11][12][13] เบิร์กเป็นนักประโยชน์นิยมและให้เหตุผลแบบเชิงประจักษ์[14]

เบิร์กเชื่อว่าทรัพย์สินมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากเขามีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าประชาชนปรารถนาถูกปกครองและควบคุม การแบ่งแยกทรัพย์สินจึงเป็นรากฐานของโครงสร้างทางสังคม ช่วยให้เกิดการควบคุมภายในลำดับชั้นที่อาศัยทรัพย์สิน เขามองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากทรัพย์สินเป็นลำดับตามธรรมชาติของเหตุการณ์ซึ่งควรเกิดขึ้นเมื่อมนุษยชาติก้าวหน้าไปอยู่แล้ว ด้วยการแบ่งแยกทรัพย์สินและระบบชนชั้น เขายังเชื่อว่าระบบนี้สามารถควบคุมพระมหากษัตริย์ต้องใส่พระทัยต่อความต้องการของชนชั้นใต้ปกครอง เนื่องจากทรัพย์สินสอดคล้องหรือนิยามการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมเป็นส่วนใหญ่ กับชนชั้นก็ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงทางสังคมที่จัดแบ่งประชาชนออกเป็นชนชั้นต่าง ๆ ด้วย จึงเป็นประโยชน์ร่วมกันของคนในบังคับทุกคน นอกเหนอจากข้อกังวลเกี่ยวกับทรัพย์สินแล้ว คริสโตเฟอร์ ฮิชเชนส์สรุปใจความไว้ดังนี้ "หากอนุรักษนิยมสมัยใหม่อาจถือว่ามาจากเบิร์ก จะต้องไม่ใช่เพราะเขาให้ท้ายเจ้าของทรัพย์สินในนามของเสถียรภาพเท่านั้น เพราะเขายังโน้มน้าวประโยชน์ประจำวันในการรักษาสิ่งตกทอดและบรรพกาลด้วย"[15]

อ้างอิง

  1. Hitchens, Christopher (April 2004). "Reactionary Prophet". The Atlantic. Washington. Edmund Burke was neither an Englishman nor a Tory. He was an Irishman, probably a Catholic Irishman at that (even if perhaps a secret sympathiser), and for the greater part of his life he upheld the more liberal principles of the Whig faction.
  2. Burke lived before the terms "conservative" and "liberal" were used to describe political ideologies, cf. J. C. D. Clark, English Society, 1660–1832 (Cambridge University Press, 2000), p. 5, p. 301.
  3. Andrew Heywood, Political Ideologies: An Introduction. Third Edition (Palgrave Macmillan, 2003), p. 74.
  4. F. P. Lock, Edmund Burke. Volume II: 1784–1797 (Clarendon Press, 2006), p. 585.
  5. James Prior, Life of the Right Honourable Edmund Burke. Fifth Edition (London: Henry G. Bohn, 1854), p. 1.
  6. O'Brien, Connor Cruise (1993). The Great Melody. p. 10.
  7. Clark, p. 26.
  8. Clark, p. 25.
  9. "Lexington and Concord". USHistory.org. Independence Hall Association in Philadelphia. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
  10. Lakoff, Sandoff (1998). "Tocqueville, Burke, and the Origins of Liberal Conservatism". The Review of Politics. 60(3): 435–464. doi:10.1017/S003467050002742X
  11. Christian D. Von Dehsen (21 October 1999). Philosophers and Religious Leaders. Greenwood Publishing Group. pp. 36–. ISBN 978-1-57356-152-5. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  12. Robert Eccleshall (1990). English Conservatism Since the Restoration: An Introduction & Anthology. Routledge. pp. 39–. ISBN 978-0-04-445773-2. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  13. Andrew Dobson (19 November 2009). An Introduction to the Politics and Philosophy of José Ortega Y Gasset. Cambridge University Press. pp. 73–. ISBN 978-0-521-12331-0. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  14. Richard Lebrun (8 October 2001). Joseph de Maistre's Life, Thought, and Influence: Selected Studies. McGill-Queen's Press – MQUP. pp. 164–. ISBN 978-0-7735-2288-6. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  15. Hitchens, Christopher (April 2004). "Reactionary Prophet". www.theatlantic.com. The Atlantic Magazine. สืบค้นเมื่อ 24 December 2014.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9