|
---|
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี |
ข้อมูลทั่วไป |
---|
ที่ตั้ง | ถนนเทศบาล 5 บ้านตลาด หมู่ที่ 5 ตำบลภาชี อำเภอภาชี พระนครศรีอยุธยา 13140 |
---|
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
---|
สาย |
|
---|
ชานชาลา | 8 |
---|
โครงสร้าง |
---|
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน |
---|
ระดับชานชาลา | 1 |
---|
ข้อมูลอื่น |
---|
รหัสสถานี | 1036 (ภช.) |
---|
เขตค่าโดยสาร | ช่องจำหน่ายตั๋วทุกสถานีรถไฟ |
---|
ประวัติ |
---|
เริ่มเปิดให้บริการ | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 (127 ปี) |
---|
ผู้โดยสาร |
---|
|
ไม่ต่ำกว่า 100 คน /วัน |
|
|
การเชื่อมต่อ |
---|
|
|
|
ชุมทางบ้านภาชี
|
Ban Phachi Junction
|
กิโลเมตรที่ 89.95
|
|
ดอนหญ้านาง Don Yha Nang +3.63 กม.
|
พระแก้ว Phra Kaeo –4.51 กม.
|
หนองกวย Nong Kuai +4.67 กม.
|
|
|
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง
|
|
สถานีชุมทางบ้านภาชี (อังกฤษ: Ban Phachi Junction Railway Station) เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอภาชี อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 มีจำนวนทาง 18 ทาง เป็นทางหลัก 3 ทาง ทางหลีก 15 ทาง เป็นรางติดชานชาลา 8 ทาง โดยเป็นสถานีชุมทางแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ที่ระดับสถานี 1 ในจังหวัดอยุธยา โดยมีสถานีอยุธยา สถานีบางปะอิน สถานีชุมทางบ้านภาชี และสถานีท่าเรือ ทางเหนือของสถานีเป็นทางคู่แยกระหว่างสายเหนือ กับสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเลี้ยวซ้ายเป็นเส้นทางสายเหนือไปสถานีหนองวิวัฒน์ จนถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่กับสถานีรถไฟสวรรคโลก โดยสุดทางคู่ที่สถานีรถไฟลพบุรีแล้วใช้ทางเดี่ยวไปตลอดทาง ส่วนทางตรงเป็นเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือไปสถานีรถไฟหนองกวย จนถึงสถานีรถไฟหนองคายกับสถานีรถไฟอุบลราชธานี โดยสุดทางคู่ที่สถานีรถไฟมาบกะเบาแล้วใช้ทางเดี่ยวไปตลอดทาง ส่วนทางใต้ของสถานีเป็นทางสามไปสถานีรถไฟพระแก้ว จนถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ โดยสุดทางสามที่สถานีรถไฟรังสิตแล้วใช้ทางคู่ไปตลอดทาง และเป็น 1 ใน 18 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทยในปัจจุบัน
ประวัติ
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เปิดใช้งานครั้งแรกวันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2440 หรือคริสต์ศักราช 1897 ในส่วนต่อขยายเส้นทางจากอยุธยา ผ่านชุมทางบ้านภาชี ถึงสถานีชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 53 กิโลเมตร ของเส้นทางรถไฟหลวงสายแรกของประเทศไทย(กรุงเทพ-นครราชสีมา)
ต่อมาสถานีชุมทางบ้านภาชีก็ได้ถูกระเบิดพังเสียหายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้มีการสร้างสถานีรถไฟใหม่ขึ้นทดแทนสถานีเก่า ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2490 และดำเนินการสร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2492 หลังจากสร้างเสร็จได้ทำการเปิดใช้งาน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยมีนายพิเชษฐ์ มีลาภ เป็นนายสถานีรถไฟคนแรกของสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี อาคารสถานีหลังใหม่(ปัจจุบัน)เป็นอาคารชั้นเดียวหลังคาไม้ถือปูน มีเนื้อที่ ยาว 30 เมตร กว้าง 15 เมตร อายุการใช้งานของอาคารสถานีหลังนี้จนถึงปัจจุบันมีอายุมากกว่า 70 ปี
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชีได้ทำการสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดทางรถไฟขึ้นก่อนปี พุทธศักราช 2490 โดยทำการ สร้างอุโมงค์พร้อมการสร้างสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชีหลังจากสถานีเก่าได้ถูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอุโมงค์ที่ด้านบนเป็นรางรถไฟเพื่อให้รถไฟแล่นผ่าน ส่วนตัวอุโมงค์เป็นทางเดินและเป็นที่หลบ ภัยจากระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันอุโมงค์นี้ไม่ได้ใช้งาน นายสถานีรถไฟได้ทำรั้วล้อมรอบไว้ ไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปเพราะอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากภายในอุโมงค์มีน้ำขังและมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สภาพภายนอกมองไม่เห็นร่องรอยของอุโมงค์เลย
สะพานข้ามทางรถไฟชุมทางบ้านภาชี สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แทนอุโมงค์รถไฟที่ถูกทำลายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเสียหายมากยากแก่การบรูรณะ จึงได้สร้างสะพานข้ามทางรถไฟแทน เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในบริเวณนั้น เพราะในแต่ละวันจะมีรถไฟผ่านเป็นจำนวนมาก สะพานข้าทางรถไฟข้ามทางรถไฟนี้สร้างด้วยไม้ และเหล็ก ยาวประมาณ 100 เมตร กว้าง 2 เมตร จะมีทางลงหลายทาง ปัจจุบันยังพอใช้การได้แต่มีผู้ใช้งานน้อย เนื่องจากการรถไฟได้สร้างสะพานลอยคอนกรีตเสริมเหล็กมีหลังคาขึ้นมาแทนสะพานเดิม ในขณะเดี่ยวกันยังมีถนนข้ามทางรถไฟ เพื่อให้รถผ่านได้ตรงตลาดภาชีไปยังวัดภาชี ตรงกับอุโมงค์รถไฟและบ้านพักรถไฟ ทำให้คนหันไป ใช้ทางข้ามเป็นส่วนใหญ่
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี เป็นชุมทางรถไฟที่แยกไปภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรถไฟผ่านขาขึ้น-ขาลง วันละประมาณ 140 ขบวน รถไฟที่จอดสถานีนี้มากที่สุดคือรถไฟบรรทุกน้ำมัน มีผู้โดยสารใช้งานในปัจจุบันส่วนมาก เป็นนักเรียน และผู้ที่ทำงาน วันละไม่ต่ำกว่า 100คน ปัจจุบันมีนายนิวัฒน์ สายสุดใจ เป็นนายสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชีคนปัจจุบัน
รายนามนายสถานีชุมทางบ้านภาชี
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
คนที่
|
ชื่อ
|
เริ่มดำรงตำแหน่ง
|
สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
|
ระยะเวลา
|
หมายเหตุ
|
1
|
นายพิเชษฐ มีลาภ
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2492
|
31 สิงหาคม พ.ศ. 2495
|
2 ปี 10 เดือน 4 สัปดาห์ 2 วัน
|
ดำรงตำแหน่งเป็นคนแรก
|
2
|
นายประเทือง พิทักษ์ธรรม
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2495
|
30 กันยายน พ.ศ. 2497
|
1 ปี 11 เดือน 4 สัปดาห์ 1 วัน
|
|
3
|
นายจันทร์ สุวรรณ์ผ่อง
|
15 ตุลาคม พ.ศ. 2497
|
25 กันยายน พ.ศ. 2499
|
1 ปี 11 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน
|
|
4
|
นายสุดใจ โพธิ์โต
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2499
|
15 มีนาคม พ.ศ. 2503
|
3 ปี 5 เดือน 2 สัปดาห์
|
|
5
|
นายฉัตร กรมเหลี่ยมสาระ
|
20 เมษายน พ.ศ. 2503
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2512
|
9 ปี 5 เดือน 1 สัปดาห์ 4 วัน
|
|
6
|
นายสมัย เศตะพราหมณ์
|
26 ตุลาคม พ.ศ. 2512
|
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
|
2 ปี 2 สัปดาห์ 6 วัน
|
|
7
|
นายทองสุข เกิดผล
|
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
|
23 มีนาคม พ.ศ. 2516
|
1 ปี 4 เดือน 1 สัปดาห์
|
|
8
|
นายวิศิษฐ ปัญญาสาร
|
24 มกราคม พ.ศ. 2516
|
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
|
1 ปี 9 เดือน 1 สัปดาห์ 6 วัน
|
|
9
|
นายชุ่ม สุวิภาส
|
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
|
18 กันยายน พ.ศ. 2518
|
10 เดือน 1 สัปดาห์ 4 วัน
|
|
10
|
นายสุเทพ ชาวสวนเจริญ
|
19 กันยายน พ.ศ. 2518
|
6 ตุลาคม พ.ศ. 2525
|
7 ปี 2 สัปดาห์ 3 วัน
|
|
11
|
นายชูชาติ วัจนะรัตน์
|
7 ตุลาคม พ.ศ. 2525
|
29 กันยายน พ.ศ. 2527
|
1 ปี 11 เดือน 3 สัปดาห์ 1 วัน
|
|
12
|
นายเอก ปิ่นกระจาย
|
30 กันยายน พ.ศ. 2527
|
13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
|
1 ปี 1 เดือน 2 สัปดาห์
|
|
13
|
นายสมบูรณ์ เหล็กกล้า
|
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
|
29 มีนาคม พ.ศ. 2532
|
3 ปี 4 เดือน 2 สัปดาห์ 1 วัน
|
|
14
|
นายเสน่ห์ เชื้อเอี่ยมพันธ์
|
13 เมษายน พ.ศ. 2532
|
4 มีนาคม พ.ศ. 2533
|
10 เดือน 2 สัปดาห์ 5 วัน
|
|
15
|
นายผจญ วิทยาบำรุง
|
5 มีนาคม พ.ศ. 2533
|
20 ตุลาคม พ.ศ. 2535
|
2 ปี 7 เดือน 2 สัปดาห์ 1 วัน
|
|
16
|
นายถวิล มณฑาทอง
|
21 ตุลาคม พ.ศ. 2535
|
25 เมษายน พ.ศ. 2538
|
2 ปี 6 เดือน 4 วัน
|
|
17
|
นายมนตรี เที่ยงพูนวงค์
|
26 เมษายน พ.ศ. 2538
|
5 ธันวาคม พ.ศ. 2538
|
7 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน
|
ดำรงตำแหน่งระยะเวลาสั้นาที่สุด
|
18
|
นายเฉลิมชาติ อนุศักดิ์พิทยา
|
6 ธันวาคม พ.ศ. 2538
|
16 ธันวาคม พ.ศ. 2541
|
3 ปี 1 สัปดาห์ 3 วัน
|
|
19
|
นายนิยม ประสมทรัพย์
|
17 ธันวาคม พ.ศ. 2541
|
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
|
1 ปี 11 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน
|
|
20
|
นายสมัคร มั่นล้วน
|
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
|
31 ตุลาคม พ.ศ. 2545
|
1 ปี 8 เดือน 4 สัปดาห์ 2 วัน
|
|
21
|
นายบุญเลิศ ประดับรส
|
14 มกราคม พ.ศ. 2546
|
15 เมษายน พ.ศ. 2550
|
4 ปี 3 เดือน 1 วัน
|
|
22
|
นายวิรัตน์ ไตรเดชา
|
18 กันยายน พ.ศ. 2550
|
30 กันยายน พ.ศ. 2553
|
3 ปี 1 สัปดาห์ 5 วัน
|
|
23
|
นายนิวัฒน์ สายสุดใจ
|
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
|
-
|
-
|
ดำรงตำแหน่งเป็นคนปัจจุบัน
ดำรงตำแหน่งระยะเวลามากที่สุด
|
*อ้างอิงจากแผ่นป้ายรายนามนายสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี ที่ติดอยู่กับอาคารสถานีทางด้านหลัง
*ในระยะเวลาที่เว้นว่างจากการมีนายสถานี จะมีพนักงานท่านอื่นรักษาการแทน
ขบวนรถโดยสาร
เที่ยวไปมีจำนวน 33 ขบวน หยุดสถานี 23 ขบวน เที่ยวกลับมีจำนวน 32 ขบวน หยุดสถานี 22 ขบวน รวมมี 65 ขบวน หยุดสถานี 45 ขบวน
เที่ยวไป
สายเหนือ
มีจำนวน 18 ขบวน หยุดสถานี 13 ขบวน
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
มีจำนวน 15 ขบวน หยุดสถานี 10 ขบวน
เที่ยวกลับ
สายเหนือ
มีจำนวน 17 ขบวน หยุดสถานี 12 ขบวน
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
มีจำนวน 15 ขบวน หยุดสถานี 10 ขบวน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
14°27′03″N 100°43′17″E / 14.450866°N 100.721500°E / 14.450866; 100.721500
|
---|
กรุงเทพ–เชียงใหม่ | |
---|
ชุมทางบ้านดารา–สวรรคโลก | |
---|
เด่นชัย–เชียงของ (กำลังก่อสร้าง) | เด่นชัย - สูงเม่น - แพร่ - แม่คำมี - หนองเสี้ยว - สอง - แม่ตีบ - งาว - ปงเตา - มหาวิทยาลัยพะเยา - บ้านโทกกวาก - พะเยา - ดงเจน - บ้านร้อง - บ้านใหม่ (พะเยา) - ป่าแดด - ป่าแงะ - บ้านโป่งเกลือ - บ้านโป่งเกลือ - สันป่าเหียง - เชียงราย - ทุ่งก่อ - ชุมทางบ้านป่าซาง - บ้านเกี๋ยง - ศรีดอนชัย - เชียงของ |
---|
ชุมทางบ้านป่าซาง–เชียงแสน (กำลังก่อสร้าง) | ชุมทางบ้านป่าซาง - โชคชัย - เชียงแสน |
---|
นครสวรรค์–แม่สอด (โครงการ) | |
---|
|
|
---|
กรุงเทพ–อุบลราชธานี | |
---|
ชุมทางถนนจิระ–หนองคาย | |
---|
ชุมทางแก่งคอย–ชุมทางบัวใหญ่ | |
---|
บ้านไผ่–นครพนม | ชุมทางบ้านหนองแวงไร่ - ภูเหล็ก - กุดรัง - บรบือ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - เชียงขวัญ - โพธิ์ชัย - อำเภอโพนทอง - เมยวดี - หนองพอก - เลิงนกทา - นิคมคำสร้อย - มุกดาหาร - สะพานมิตรภาพ 2 - หว้านใหญ่ - ธาตุพนม - เรณูนคร - นครพนม - สะพานมิตรภาพ 3 |
---|
|
|
---|
สายเหนือ (RN) | ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต–บ้านภาชี (โครงการ) | |
---|
รังสิต–ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต (โครงการ) | |
---|
บางซื่อ–รังสิต (เปิดให้บริการ) | |
---|
|
---|
สายใต้ (RS) | บางซื่อ–หัวลำโพง (มิสซิงลิงก์) (โครงการ) | |
---|
หัวลำโพง–มหาชัย (โครงการ) | |
---|
มหาชัย–ปากท่อ (แผนแม่บท) | |
---|
|
---|