Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วัดเขียนเขต

วัดเขียนเขต
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเขียนเขต (พระอารามหลวง)
ที่ตั้งตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12130
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระธรรมรัตนาภรณ์ (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.5,น.ธ.เอก)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดเขียนเขต หรือ ที่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า วัดเขียน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ริมฝั่งคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ติดถนนรังสิต-นครนายก

ประวัติ

วัดเขียนเขต สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2439 โดยหม่อมเขียน หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าสายสนิทวงศ์เป็นผู้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด แรกเริ่มนั้นวัดนี้เป็นเพียงสำนักสงฆ์ มีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าสำนักโดยใช้วัสดุหาง่ายมาใช้ในการสร้างสำนัก เช่น นำเอาไม้ไผ่มาขัดเป็นพื้นหลังคา และฝาผนังทำด้วยหญ้า หม่อมเขียนพร้อมด้วยเครือญาติและประชาชนในท้องถิ่นเห็นความลำบากของพระเณรที่จำพรรษาอยู่ จึงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างกุฏิเป็นทรงไทยขึ้นใหม่รวม 6 หลัง เพื่อเป็นพุทธศาสนาสมบัติเป็นวัดชื่อ "วัดสาลีเขตาราม" ซึ่งมีความหมายว่า "อารามอันเป็นเนื้อนาบุญแห่งข้าว" (โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้พระราชทานหรือให้นามวัดไว้) เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิต ซึ่งเต็มไปด้วยข้าวกล้าและธัญญาหาร หลวงพ่อดำจึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด

ในปี พ.ศ. 2445 หม่อมเขียนได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2445 (ร.ศ.121) และในปี พ.ศ. 2460 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สกลมหาสังฆปรินายก ได้เสด็จมาพักที่วัดนี้ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์จังหวัดธัญบุรี (สมัยนั้น) พันตรี ม.ร.ว. สุวพรรณ (ใหญ่) สนิทวงศ์ และพลเอกเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) ได้ทูลขอเปลี่ยนนามวัดใหม่ให้เหมาะสมกับผู้ที่ริเริ่มสร้างวัด คือ หม่อมเขียนซึ่งเป็นมารดา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้พิจารณาเห็นว่าหม่อมเขียนเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดโดยบริจาคทรัพย์ส่วนตัวกับทั้งได้บริจาคที่ดินของตนให้สร้างเป็นวัด พระองค์ทรงเปลี่ยนนาม "วัดสาลีเขตาราม" ให้ใหม่ว่า “วัดเขียนเขต” ความหมาย คือ "อารามอันเป็นเนื้อนาบุญของหม่อมเขียน" วัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอำเภอธัญบุรี ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชกล่าวคือเป็นสถานที่ประกอบพิธีพิพัฒน์สัตยาญาณ โดยเจ้าเมืองธัญบุรีได้นำข้าราชการของ อำเภอรังสิต อำเภอคลอง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา ดื่มน้ำสาบานที่อุโบสถวัดเขียนเขต โดยมีพระครูธัญญาเขตเขมากร (หลวงปู่ช้าง) เจ้าอาวาสวัดเขียนเขตขณะนั้นเป็นประธาน

วัดเขียนเขตถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญกล่าวคือราชสกุลสนิทวงศ์ได้สร้างขึ้นและบริจาคทรัพย์ในบูรณปฏิสังขรเรื่อยมา และกาลต่อมาพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จมาในการถวายผ้าพระกฐินให้แก่วัดเขียนเขต

ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง

พระครูศรีธัญญาภรณ์ เจ้าคณะตำบลลำผักกูด (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ปรึกษาพุทธศาสนิกชน มีความเห็นชอบร่วมกันในอันที่จะยกฐานะวัดเขียนเขตขึ้นเป็นพระอารามหลวง เพื่อถวายพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ สธ. ประดับหน้าบันพระอุโบสถหลังใหม่ ในวโรกาสที่เฉลิมพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ในปี พ.ศ. 2534 ความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดเขียนเขตขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป

รายนามเจ้าอาวาส

นับตั้งแต่ก่อตั้งวัดสาลีเขตารามจนกระทั่งยกฐานะเป็นวัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) มีเจ้าอาวาสทั้งหมด 6 รูป ดังต่อไปนี้

ที่ ชื่อ ตำแหน่ง ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1. หลวงพ่อดำ เจ้าอาวาส พ.ศ. 2439-2444
2. พระครูธัญญาเขตเขมากร บวรสมณาจารย์ สังฆวาหะ (ช้าง) เจ้าคณะ จ.ธัญญบุรี, เจ้าอาวาส พ.ศ. 2445-2481
3. พระครูธัญญวิจิตรเขมคุณ (เปลื้อง มาควิโก) เจ้าคณะ อ.ธัญบุรี, เจ้าอาวาส พ.ศ. 2482-2512
4. พระครูอดุลธัญญาสาร (จู ฐานงฺกโร) เจ้าอาวาส พ.ศ. 2513-2515
5. พระปลัดคุ่ย ธมมฺสีโล เจ้าอาวาส พ.ศ. 2516-2521
6. พระธรรมรัตนาภรณ์ (สมศักดิ์ โชตินฺธโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 1, เจ้าอาวาสพระอารามหลวง พ.ศ. 2522-ปัจจุบัน

อ้างอิง

  • วัดเขียนเขต, แถลงเรื่องวัดเขียนเขต พระอารามหลวง, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2540
  • http://www.m-culture.in.th/album/view/113968/
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9