รัฐฉาน
ฉาน,[3] ชาน[3] (พม่า: ရှမ်း / သျှမ်း, ช่าน; ไทใหญ่: မိူင်းတႆး, ออกเสียง: [mə́ŋ.táj] เมิ้งไต๊) หรือ ไทใหญ่[4] เป็นรัฐที่มีเนื้อที่มากที่สุดในบรรดาเขตการปกครอง 14 เขตของประเทศพม่า โดยครอบคลุมพื้นที่ 155,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นเกือบหนึ่งในสี่ของเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐเป็นเขตชนบท โดยมีเมืองเพียงสามเมืองที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ได้แก่ ล่าเสี้ยว เชียงตุง และตองจีซึ่งเป็นเมืองหลักของรัฐ[5] ตองจีตั้งอยู่ห่างจากเนปยีดอ (เมืองหลวงของประเทศ) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 150.7 กิโลเมตร รัฐฉานเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มและเป็นที่ตั้งของกองกำลังชาติพันธุ์ติดอาวุธหลายกองกำลัง ในขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ลงนามในความตกลงหยุดยิงกับกองกำลังส่วนใหญ่ พื้นที่อันกว้างขวางของรัฐโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินยังคงอยู่นอกเหนือการควบคุมจากรัฐบาลกลางและอยู่ภายใต้อิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ฮั่นมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ส่วนพื้นที่อื่น ๆ อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มทหารกลุ่มต่าง ๆ เช่น กองทัพรัฐฉาน เป็นต้น ตามข้อมูลจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นโอดีซี) รัฐฉานเป็นภูมิภาคที่ผลิตฝิ่นมากที่สุดในประเทศพม่า โดยมีผลผลิตฝิ่นคิดเป็นร้อยละ 82 (331 เมตริกตัน) ของผลผลิตฝิ่นทั้งหมดของประเทศ (405 เมตริกตัน) ใน พ.ศ. 2563[6] ถึงกระนั้น การปลูกฝิ่นก็ลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ใน พ.ศ. 2563 อัตราการปลูกฝิ่นในรัฐฉานลดลงร้อยละ 12 โดยภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ของรัฐมีการปลูกฝิ่นลดลงร้อยละ 17, ร้อยละ 10 และร้อยละ 9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอัตราการปลูกฝิ่นในปีก่อนหน้าคือ พ.ศ. 2562[7] ภูมิศาสตร์ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่าง ๆ รัฐฉานมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ประวัติศาสตร์
ไทใหญ่เกิดขึ้น 96 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พ.ศ. 448[ต้องการอ้างอิง] ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ไท" หรือที่เรียกกันว่า "เมิ้งไต๊" ในภาษาไทใหญ่ หรือ "เมืองไท" ในภาษาไทย มีประชากรหลายชนชาติอาศัยอยู่ร่วม โดยมีชนชาติไทใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไทเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี[ต้องการอ้างอิง] ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง อาณาเขตของเมืองไทประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมือง แต่ละเมืองปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต เมืองไทกับพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไทปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง] และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไทกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไทเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบ[ต้องการอ้างอิง]
เนื่องจากพม่าตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ส่วนเมืองไทตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้เข้ายึดพร้อมกัน แม้อังกฤษจะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของตนแต่ก็ไม่สามารถปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไทเป็นเมืองใต้การอารักขา อังกฤษได้ล้มล้างระบบกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไทอังกฤษไม่ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า และอีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉานขึ้นกับอังกฤษ
ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไท อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทใหญ่ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐฉานไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคง และยังมีกองกำลังกู้ชาติในรัฐฉานของตนเอง ใน พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดตั้งสภารัฐฉาน การแบ่งเขตการปกครองรัฐฉานแบ่งออกเป็น 22 จังหวัด, 4 พื้นที่ปกครองตนเอง และ 1 เขตปกครองตนเอง ดังนี้
ประชากร
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ รัฐฉาน
|