Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ย่านบางกะปิ

ตลาดบางกะปิ

ย่านบางกะปิ เป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร มีศูนย์กลางอยู่บริเวณตลาดบางกะปิ มีตลาดย่อย รวม 5 ตลาด เป็นของกรุงเทพมหานคร 2 ตลาด ได้แก่ ตลาดบางกะปิ และตลาดบางกะปิ 3 และตลาดเอกชน 3 ตลาดคือ ตลาดลาดพร้าว 123 ตลาดนัดบางกะปิ และตลาดอาภาพร[1] มีห้างสรรพสินค้า ได้แก่ เดอะมอลล์ แมคโคร โลตัส ตะวันนา และพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า รวมถึงมีตลาดแฮปปี้แลนด์และต่อยอดเฟรช[2]

ประวัติ

ทุ่งบางกะปิ

แต่ก่อนนั้นบางกะปิเป็นทุ่งกว้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งหลวง ที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ใต้กรุงศรีอยุธยาลงมาจนถึงกรุงเทพมหานคร เป็นป่าประเภทป่าบึง (Swamp forest) มีสัตว์ป่าหลายชนิดตั้งแต่เสือ ช้าง กระทิง เก้ง กวาง เนื้อทราย และเนื้อสมัน ทั้งยังเป็นที่อยู่ของนกน้ำนานาชนิด ในเขตทุ่งหลวงนี้ไม่มีผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยนอกจากชายขอบ จนเมื่อในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามทำสงครามเพื่อขจัดอิทธิพลของญวนที่เข้ายึดครองเขมร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแสนแสบ เริ่มมีผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยมากขึ้น

ทุ่งบางกะปิมีพื้นที่กว้างขวางมาก ครอบคลุมทั้งย่านคลองจั่นและย่านที่เป็นต้นทางของถนนสุขุมวิทในปัจจุบัน ถูกบุกเบิกเป็นนา บริเวณทุ่งบางกะปิตรงสุขุมวิทมีการตั้งโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ส่วนทุ่งบางกะปิย่านคลองแสนแสบจากคลองหนองจอกออกไป บริเวณทุ่งแสนแสบต่อกับตอนใต้ของทุ่งรังสิตยังปรากฏว่ามีช้างป่าอาศัยอยู่เมื่อ พ.ศ. 2431 ครั้นสำรวจอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2438 ได้กลายเป็นชุมชนที่อยู่ของชาวบ้าน และแหล่งเพาะปลูกไปแล้ว ส่วนช้างป่าถูกขับไล่ออกไปจนไม่เหลือ

บริเวณคลองแสนแสบ เมื่อมี "เรือขาว" โดยบริษัทนายเลิศ ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนตามรายทางก็มีตลาดเกิดขึ้นริมคลองหลายแห่ง รวมถึงตลาดบางกะปิ บางกะปิย่านคลองจั่นเริ่มดังขึ้นมาหลังมีการตัดถนนลาดพร้าวและถนนรามคำแหง เกิดเคหะคลองจั่นขึ้นหลังไทยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งแรก[3]

ย่านการค้า

เดอะมอลล์บางกะปิ

ตลาดสดบางกะปิแต่เดิมเป็นเพียงร้านเล็ก ๆ 2–3 ร้าน จน พ.ศ. 2505 สุขาภิบาลบางกะปิได้จัดสร้างอาคารและตลาดสาธารณะขึ้นบนพื้นที่ 5 ไร่ 31 ตารางวา เปิดดำเนินการ พ.ศ. 2507 ขณะเดียวกันเอกชนได้สร้างอาคารพาณิชย์จำนวน 13 ห้อง และเปิดขายในปีต่อมา จน พ.ศ. 2511–2520 ห้างสรรพสินค้าน้อมจิตต์ (ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้าเอ็นมาร์คพลาซ่า) ได้เข้ามาดำเนินการเป็นห้างแห่งแรกในย่านนี้ ขณะเดียวกันมีตลาดสดเพิ่มรวมเป็นตลาดสด 3 แห่ง พ.ศ. 2521–2530 เกิดห้างสรรพสินค้าบางกะปิ ต่อมาคือ ห้างซุปเปอร์เซฟ มีการเปิดตลาดแฮปปี้แลนด์เพิ่มอีกแห่ง ย่านบางกะปิจึงเริ่มขยายไปทางทิศตะวันตก ขณะที่แยกลำสาลีหรือทางทิศใต้ของคลองแสนแสบเริ่มมีการขยายตัวของอาคารพาณิชย์และหมู่บ้านจัดสรรเช่นกัน

ระหว่าง พ.ศ. 2531–2540 ย่านบางกะปิมีห้างสรรพสินค้าเพิ่ม คือ ห้างแมคโคร เดอะมอลล์บางกะปิ ห้างสรรพสินค้าบางกะปิคอมเพล็กซ์ และห้างดีเซมเบอร์ รวมถึงตะวันนา[4] ปลายปี พ.ศ. 2545 ห้างเทสโก้โลตัสเข้ามาเปิดในย่านบางกะปิ ซึ่งมีการร่วมทุนกับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์[5]

การคมนาคม

การคมนาคมมีทั้งทางบกและทางน้ำ โดยทางน้ำมีเรือโดยสารคลองแสนแสบ ส่วนทางบกเชื่อมต่อกับถนนสายสำคัญ คือ ถนนรามคำแหง ถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถนนนวมินทร์ และถนนเสรีไทย เป็นปลายทางของรถประจำทางบริเวณตลาดแฮปปี้แลนด์ และเป็นท่ารถตู้[6] พ.ศ. 2566 มีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่เปิดให้บริการและในอนาคตจะมีรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม[7]

อ้างอิง

  1. "เปิดพฤติกรรมแรงงานต่างด้าวตลาดบางกะปิ". พีพีทีวี.
  2. "กดปุ่มรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จุดพลุย่าน'ลาดพร้าว-สำโรง' ตึกแถวราคาพุ่ง 'อิมพีเรียลเวิลด์'ทุ่มพลิกโฉมรอบ30ปี". มติชน.
  3. โรม บุนนาค. "บางกะปิย้ายบาง จากถนนสุขุมวิทไปอยู่คลองจั่น!! เปิดตำนานพื้นที่กรุงเทพฯเป็นป่าชุ่มน้ำมาก่อน!". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. "ตะวันนา". www.sanook.com/travel. 2002-01-22.
  5. รุ่งทิวา ประโยชน์สมบูรณ์. "ผลกระทบจากธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีต่อสภาพแวดล้อมชุมชน : กรณีศึกษา ย่านบางกะปิ กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
  6. ปิยะมาศ เลิศนภากุล. "อิทธิพลของศูนย์การค้าชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาย่านบางกะปิและบริเวณใกล้เคียง" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
  7. "รู้จักย่านบางกะปิแบบเจาะลึก".
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9