Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

พระบรมรูปทรงม้า

พระบรมรูปทรงม้า
พระบรมรูปทรงม้า
แผนที่
ที่ตั้งลานพระราชวังดุสิต แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ผู้ออกแบบจอร์จ เซาโล (Georges Saulo)
ประเภทพระบรมราชานุสาวรีย์
เริ่มก่อสร้าง22 สิงหาคม พ.ศ. 2450; 117 ปีก่อน (2450-08-22)
สร้างเสร็จ11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451; 116 ปีก่อน (2451-11-11)
การเปิด11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451; 116 ปีก่อน (2451-11-11)
อุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า เป็นอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ ลานพระราชวังดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า) หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451

ประวัติการก่อสร้าง

พระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นโดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซ แฟรส์ ฟองเดอร์ (Susse Frères Fondeur) ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450 เนื่องจากโรงหล่อดังกล่าวเพิ่งหล่อพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน[1] อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง เนื่องจากไม่ปรากฏว่ามีการหล่อพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน แต่มีหลักฐานการหล่อพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 แห่งสเปน ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ซึ่งปัจจุบันพระบรมรูปทรงม้าดังกล่าวตั้งอยู่ในสวนสาธารณะบวนเรตีโร (Buen Retiro) ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน

พระองค์เสด็จประทับเป็นแบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล (Georges Saulo) เป็นผู้ปั้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2450 โดยปั้นพระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยและส่งเข้ามายังพระนคร มณฑลกรุงเทพ เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 อันเป็นเวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี และเจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงประกอบพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง

พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย

สำหรับองค์พระบรมรูปทรงม้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเป็นแบบให้นายช่างปั้นหุ่น ขณะเสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง ประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่งนั้นมิใช่ปั้นจากแบบม้าพระที่นั่งจริง แต่เป็นม้าที่บริษัทได้ปั้นเป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว พระบรมรูปทรงม้าหล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ ยึดติดกับแท่นทองบรอนซ์ เป็นที่ม้ายืน หนาประมาณ 25 เซนติเมตร ประดิษฐานบนแท่นรอง ทำด้วยหินอ่อน สูง 6 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมา มีโซ่ขึงล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ตรงฐานด้านขวามีอักษรโรมัน ภาษาฝรั่งเศสจารึกชื่อช่างปั้นและช่างหล่อชาวไว้ว่า C.MASSON SEULP 1908 และ G.Paupg Statuare และด้านซ้ายเป็นชื่อบริษัทที่ทำการหล่อพระบรมรูปทรงม้าว่า SUSSE Fres FONDEURS. PARIS สำหรับแท่นศิลาอ่อนด้านหน้ามีแผ่นโลหะจารึกอักษรไทย ติดประดับแสดงพระบรมราชประวัติและพระเกียรติคุณ ลงท้ายด้วยคำถวายพระพรให้ทรงดำรงราชสมบัติอยู่ยืนนาน[2]

พระบรมรูปทรงม้าในปัจจุบัน

การบูชา

เอกสารเรี่ยไรหาทุนสร้างพระบรมรูป

ในปัจจุบันถึงแม้มิใช่วันที่ 23 ตุลาคม ก็จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปสักการบูชาที่ลานพระบรมรูปอยู่เสมอโดยเฉพาะในคืนวันอังคาร ซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพของพระองค์ โดยมีความเชื่อว่าจะเสมือนหนึ่งไปรอเฝ้ารัชกาลที่ 5 โดยในเวลา 4 ทุ่ม พระองค์ท่านจะเสด็จมาประทับ ณ พระบรมรูปทรงม้าด้วย

สิ่งที่นิยมใช้สักการบูชา คือ ดอกกุหลาบสีชมพู ด้วยความเชื่อที่ว่า ดอกกุหลาบที่มีความงามและมีหนามแหลมคม (คืออำนาจ) หากนำมาบูชาจะทำให้ผู้บูชามีอำนาจ และสีชมพูยังเป็นสีของวันอังคาร (วันพระราชสมภพ)

นอกจากนี้ ประชาชนบางคนยังนิยมจัดเป็นโต๊ะบูชา ส่วนใหญ่ประกอบด้วย บายศรี หมากพลู บุหรี่ เหล้า/ไวน์ สตางค์ น้ำมนต์ เชิงเทียน กระถางธูป ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการจัดอย่างบูชา “เทพ” ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเปรียบพระองค์เสมือนดั่งเทพยดาที่ปกปักษ์รักษาประเทศชาติ และราษฎรให้อยู่รอดปลอดภัย และเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด

นอกจากนี้แล้ว ยังมีพระคาถาสำหรับบูชารัชกาลที่ 5 มากมายหลายหลายพระคาถา เช่น พระคาถาที่กล่าวกันว่านำสุดยอดพระคาถาอื่นๆ มารวมกัน คือ “ สยามเทวะนุภาเวนะ สยามะเทวะเตชะสา ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสภา สันตุ จะปัททะวา อเนกา อันตะรายาปี วินัสสันตุ อะเสสะโต ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตภิภาคะยัง สุขัง พลัง สิริ อายุ จะวัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิจะ ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันต เม” [2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

13°46′09″N 100°30′43″E / 13.769242°N 100.512017°E / 13.769242; 100.512017

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9