Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

พญายอ

เสลดพังพอนตัวเมีย
ลักษณะดอกพญาปล้องทอง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Clinacanthus
สปีชีส์: C.  nutans
ชื่อทวินาม
Clinacanthus nutans (Burm. f)
Lindau

พญายอ หรือ เสลดพังพอนตัวเมีย เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) มีชื่อท้องถิ่นหรือชื่ออื่นอีก คือ : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) และ พญายอ (แม่ฮ่องสอน) เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า "พญายอ" ส่วนมากนำมาทำเป็นยาสมุนไพรไทยจัดอยู่ในกลุ่มพืชถอนพิษ

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

รากของพญาปล้องทอง ประกอบด้วยสาร Lupeol, B-Sitosterol, Stigmasterol และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยสารละลายบิวทานอล (butanol) จากใบของพญาปล้องทอง มีสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) สามารถระงับอาการอักเสบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้มีการผลิต ครีมพญายอ ขึ้นเพื่อนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ ทำให้แผลตกสะเก็ดหายเร็ว ลดอาการปวดได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ จากการใช้ครีมพญายอ จึงไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคือง มีการนำมาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร มีลำต้นและกิ่งก้านสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนานกว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียยาวโผล่พ้นหลอดออกมา ปลายแยกเป็น 2 ปาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่ค่อยออกดอก ส่วนมากขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ดังนั้นการขยายพันธุ์จึงทำได้โดยการปักชำหรือ การแยกเหง้าแขนงไปปลูก

ประโยชน์

รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ ผื่นคัน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริม และรักษาแผลร้อนในในปาก ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว

สรรพคุณ

  • ฤทธิ์ลดการอักเสบ

สารสกัดใบพญาปล้องทอง สามารถลดการอักเสบที่เท้าหนูขาว ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบโดยฉีดสารคาราจีแนน (Carrageenan) ได้ดีโดยเฉพาะส่วนที่สกัดด้วย butanol แต่ฤทธิ์ของสารสกัดนี้จะค่อยๆ ลดลง และจะหมดฤทธิ์โดยสิ้นเชิงภายใน 1 ปี

  • ฤทธิ์ลดความเจ็บปวด

สารสกัดจากใบพญาปล้องทอง มีฤทธิ์ทำลายไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพลกซ์ ไทป์ 2 (HSV-2) ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเริมไม่ให้เข้าเซลล์ และไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวในการเพิ่มจำนวนของไวรัสวาริเซลล่า ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) โดยตรง

วิธีการปลูก

การปลูก ส่วนใหญ่ใช้กิ่งปักชำโดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ปราศจากโรค ไม่แก่ หรือไม่อ่อนเกินไป ตัดกิ่งพันธุ์ให้มีความยาว 6-8 นิ้ว และมีตาบนกิ่งประมาณ 1-3 ตา ให้มีใบเหลืออยู่ที่ปลายยอด ประมาณ 1/3 ของกิ่ง ทาปูนแดงบริเวณรอยตัดของต้นตอ และกิ่งพันธุ์เพื่อป้องกันเชื้อรา ปักชำลงในถุงที่มีวัสดุปักชำเป็นดินร่วนปนทราย จะช่วยให้อัตราการออกรากของกิ่งชำสูง คุณภาพของรากดี และสะดวกในการขุดย้ายต้นไปปลูก โดยปักชำกิ่งลงในวัสดุปลูกลึกประมาณ 3 นิ้ว เอียง 45 องศา รดน้ำให้ชุ่มและรักษาความชื้นให้เพียงพอ โดยกิ่งชำไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง และควรดูแลความชื้นในอากาศ กิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3-4 สัปดาห์ เมื่อกิ่งชำที่มีอายุ 3-4 สัปดาห์ ที่ชำไว้ในแปลงชำหรือในถุงชำ โดยใช้ช้อนขุดหรือเสียมแซะกิ่งชำลงปลูกในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ 1 ต้นต่อหลุม กลบดิน และกดดินที่โคนให้แน่น รดน้ำหลังจากปลูกทันที

การเก็บ เก็บใบขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป การเก็บเกี่ยวให้ใช้วิธีการตัดต้นเหนือระดับผิวดินประมาณ 10 ซม. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ต้นตอเดิมยังงอกแตกแขนงเติบโตได้อีก และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปได้

การดูแลรักษา ควรให้น้ำในระยะ 1-2 เดือนแรก ควรรดน้ำทุกวัน ถ้าแดดจัดควรรดน้ำเช้า-เย็น เมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วอาจให้น้ำวันเว้นวัน ในฤดูฝนถ้ามีฝนตกอาจจะไม่ต้องให้น้ำ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี ไม่ชอบดินลูกรังหรือดินเหนียว ชอบอากาศร้อนชื้น ขึ้นได้ดีทั้งที่มีแดดและที่ร่ม

ส่วนที่นำมาใช้ ใช้ได้ทั้งใบ และราก

  • ใบ

1. นำมารักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด ให้ใช้ใบสด 10-20 ใบ นำมาตำผสมกับเหล้าหรือ น้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล

2. นำมาทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน ให้ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี

3. นำมาแก้แผลน้ำร้อนลวก ให้ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง หรือ นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี

  • ราก

ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับระดู แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว

สมุนไพรอื่นในหมวดเดียวกันกับพญาปล้องทอง

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9