บทความนี้เกี่ยวกับแง่มุมทั่วไปของน้ำ สำหรับคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ (H
2 O) ดูที่
น้ำ (โมเลกุล)
รูปน้ำในสามสถานะ: ในรูปของเหลวเป็นน้ำทะเล ของแข็งเป็นภูเขาน้ำแข็ง สถานะก๊าซอยู่ในรูปแบบความชื้นและเมฆ
น้ำ เป็นสารประกอบอนินทรีย์ ที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบไม่มีสี เป็นสารเคมี ที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมี ของน้ำบริสุทธิ์คือ H2 O โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอม และไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง ) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลว ที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ [ 1] [ 2] นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง , และภูเขาน้ำแข็ง , ก้อนเมฆ, หมอก , น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้น ในบรรยากาศ
น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก[ 3] และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต [ 4] น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศ เป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า [ 5] [ 6] น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์[ 5]
น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักร ของการระเหย เป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย ) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน
น้ำดื่ม สะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรี หรือสารอาหาร ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ[ 7] มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน[ 8] อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งจะประสบปัญหาความเสี่ยงที่เกี่ยวกับน้ำ[ 9] รายงานล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 รายงานว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 ในพื้นที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีความต้องการน้ำจะเพิ่มขึ้นเกิดปริมาณน้ำที่มีกว่า 50%[ 10] น้ำมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายของสารเคมีหลากหลายชนิดและอำนวยความสะดวกในเรื่องการให้ความเย็นในภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคม น้ำจืด ประมาณ 70% มนุษย์ใช้ไปกับเกษตรกรรม [ 11]
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์
สถานะ
เกล็ดหิมะ โดย วิลสัน เบนต์ลีย์ ในปี 1902
การแสดงการหยดของน้ำที่มีฟองอากาศซึ่งเกิดจากการหยดของน้ำ
น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันที่มีเพียงพอต่อชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะที่ความดันบรรยากาศปกติที่ 1 บาร์ (0.98692 บรรยากาศ 100 กิโลปาสกาล 14.5 พีเอสไอ ) และอุณหภูมิ 373.15 เคลวิน (100 องศาเซลเซียส 212 องศาฟาเรนไฮต์ ) การเพิ่มความดันบรรยากาศจะลดจุดหลอมเหลว ลงเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ −5 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 600 บรรยากาศ −22 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 2100 บรรยากาศ ผลลัพธ์นี้สัมพันธ์กับหลายสิ่ง ตัวอย่างเช่น สเกตน้ำแข็ง ทะเลสาบแช่แข็งในทวีปแอนตาร์กติกา และการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง (ที่ความดันสูงกว่า 2100 บรรยากาศ จุดหลอมเหลวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง และน้ำแข็งจะมีรูปร่างแปลกที่จะไม่เกิดขึ้นที่ความดันต่ำ)
การเพิ่มความดันมีผลกระทบที่สำคัญต่อจุดเดือด นั่นคือที่อุณหภูมิ 374 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 220 บรรยากาศ มีผลสำคัญต่อปล่องแบบน้ำร้อน ใต้ทะเลลึกและไกเซอร์ การทำอาหารแบบใช้ความดัน และการออกแบบเครื่องจักรไอน้ำ บนยอดเขาเอเวอเรสต์ ที่ความดันประมาณ 0.34 บรรยากาศ น้ำเดือดที่อุณภูมิ 68 องศาเซลเซียส (154 องศาฟาเรนไฮต์)
ที่ความดันบรรยากาศต่ำ (ต่ำประมาณ 0.006 บรรยากาศ) น้ำไม่อาจอยู่ในสถานะของเหลวได้ และจะเปลี่ยนสถานะโดยตรงจากของเหลวเป็นแก๊สโดยการระเหิด ปรากฏการณ์ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการทำอาหารแห้งเยือกแข็ง ที่ความดันบรรยากาศสูง (เหนือ 221 บรรยากาศ) สถานะของเหลวและแก๊สของน้ำไม่อาจแยกความแตกต่างได้ สถานะนี้เรียกว่า ไอน้ำเหนือวิกฤต
น้ำยังแตกต่างจากของเหลวส่วนใหญ่ เนื่องจากน้ำหนาแน่น น้อยลงเมื่อน้ำแข็งตัว ความหนาแน่นสูงสุดของน้ำที่ 1,000 กก./ลบ.ม. (62.43 ปอนด์/ลบ.ฟุต) เกิดที่อุณหภูมิ 3.98 องศาเซลเซียส (39.16 องศาฟาเรนไฮต์) ขณะที่ความหนาแน่นของน้ำแข็งคือ 917 กก./ลบ.ม. (57.25 ปอนด์/ลบ.ฟุต)[ 12] [ 13] ดังนั้น ปริมาตรของน้ำขยายตัวร้อยละ 9 เมื่อแข็งตัว รองรับความจริงที่ว่า น้ำแข็งลอยได้ในน้ำที่เป็นของเหลว
ที่อุณหภูมิตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียส ถึง 60 องศาเซลเซียส น้ำมีสถานะของเหลว 2 สถานะ[ 14] [ 15] [ 16]
รสชาติและกลิ่น
ปกติน้ำบริสุทธิ์จะไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่น แม้ว่ามนุษย์จะมีประสาทสัมผัสเฉพาะที่สามารถรับรู้ว่ามีน้ำอยู่ในปากได้[ 17] และกบรับรู้กลิ่นของน้ำได้[ 18] อย่างไรก็ตาม น้ำจากแหล่งน้ำปกติ (รวมถึงขวดน้ำแร่) มักมีสารละลายจำนวนมากที่อาจให้รสชาติและกลิ่นต่าง ๆ มนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ พัฒนาประสาทสัมผัสที่ทำให้ประเมินสภาพดื่มได้ โดยเลี่ยงน้ำที่เค็มเกินไปหรือเหม็น เกินไป[ 19]
ความแพร่หลายในธรรมชาติ
ในเอกภพ
น้ำส่วนมากในเอกภพเป็นผลพลอยได้จากการก่อตัวของดาวฤกษ์ เมื่อเกิดดาวฤกษ์ขึ้นมา การเกิดเหล่านั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับกระแสของแก๊สและฝุ่นนอกโลก เมื่อสสารเหล่านี้ไหลออกมากระทบกับแก๊สที่อยู่รอบ ๆ ในที่สุด คลื่นกระแทกที่เกิดขึ้นจะบีบและให้ความร้อนกับแก๊ส จะสังเกตเห็นน้ำเกิดขึ้นภายใต้แก๊สความหนาแน่นต่ำนี้[ 20]
จากรายงาน ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 อธิบายถึงการค้นหากลุ่มก้อนของไอน้ำขนาดยักษ์ ประกอบไปด้วยน้ำมากกว่าน้ำในมหาสมุทรบนโลกรวมกันถึง 140 ล้านล้านเท่า กระจายอยู่รอบ ๆ เควซาร์ที่อยู่ห่างจากโลก 12 พันล้านปีแสง นักวิจัยกล่าวว่า "การค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าน้ำนั้นมีแพร่หลายในเอกภพสำหรับการดำรง ชีวิตเกือบทั้งหมด" [ 21] [ 22]
มีการตรวจพบน้ำในกลุ่มเมฆระหว่างดาว ภายในดาราจักร ทางช้างเผือก ของ เราด้วย และยังอาจมีน้ำมากมายในดาราจักรอื่น ๆ เพราะองค์ประกอบของน้ำคือ ไฮโดรเจนและออกซิเจน เป็นธาตุที่มีอยู่มากในเอกภพ กลุ่มเมฆระหว่างดาวในที่สุดก็รวมตัวกันเป็นเนบิวลาสุริยะ และระบบสุริยะ
ปรากฏในรูปไอน้ำ
ปรากฏในรูปของเหลว
โลก: 71% ของพื้นโลก
ยูโรปา : พื้นผิวลึกลงไปในมหาสมุทร 100 กิโลเมตร
มีหลักฐานสำคัญชี้ให้เห็นว่าน้ำในรูปของเหลวปรากฏอยู่ใต้พื้นผิวของดวงจันทร์ของดาวเสาร์ชื่อ เอนเซลาดัส
ปรากฏในรูปของแข็ง
หลักฐานล่าสุดชี้ให้เห็นว่ามีน้ำแข็งอยู่ที่ขั้วโลกของดาวพุธ[ 27] น้ำแข็งอาจปรากฏบนดาวเซเรส และดาวทีทิส ด้วย น้ำและสารโวลาไทล์ ได้ชนิดอื่นอาจประกอบด้วยองค์ประกอบมากมายที่อยู่ภายในดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน และน้ำในชั้นล่างอาจจเป็นในรูปของน้ำไอโอนิก ที่เกิดจากโมเลกุลที่แตกตัวเป็นกลุ่มหมอกของไอออนไฮโดรเจนและออกซิเจน และลึกลงไปอีกเป็นน้ำซูเปอร์ไอออนิก ที่เกิดจากออกซิเจนตกผลึกแต่ไอออนไฮโดรเจนลอยอย่างอิสระในโครงตาข่าย[ 28]
แร่ ธาตุบางชนิดบนดวงจันทร์มีโมเลกุลของน้ำเป็นองค์ประกอบ ตัวอย่างในปี ค.ศ. 2008 เครื่องมือปฏิบัติการที่ดีดตัวและระบุอนุภาคพบอนุภาคจำนวนเล็กน้อยภายในหิน ภูเขาไฟที่ลูกเรือของยานอพอลโล 15 นำมาจากดวงจันทร์เมื่อปี ค.ศ. 1971[ 29] นาซารายงานการค้นพบโมเลกุลน้ำครั้งนี้โดยนักทำแผนที่แร่ธาตุวิทยาบนดวง จันทร์ของนาซาบนยานอวกาศขององค์กรงานวิจัยอวกาศสัญชาติอินเดียชื่อ Chandrayaan-1 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009[ 30]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Henniker, J. C. (1949). "The Depth of the Surface Zone of a Liquid". Reviews of Modern Physics . Reviews of Modern Physics . 21 (2): 322–341. doi :10.1103/RevModPhys.21.322 . ISSN 0034-6861 .
↑ Pollack, Gerald. "Water Science" . University of Washington , Pollack Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-02-15. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05 . Water has three phases – gas, liquid, and solid; but recent findings from our laboratory imply the presence of a surprisingly extensive fourth phase that occurs at interfaces.
↑ "CIA- The world fact book" . Central Intelligence Agency . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20 .
↑ "United Nations" . Un.org. 2005-03-22. สืบค้นเมื่อ 2010-07-25 .
↑ 5.0 5.1 Gleick, P.H., บ.ก. (1993). Water in Crisis: A Guide to the World's Freshwater Resources . Oxford University Press. p. 13, Table 2.1 "Water reserves on the earth". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-04-08. สืบค้นเมื่อ 2013-03-15 .
↑ Water Vapor in the Climate System เก็บถาวร 2007-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Special Report, [AGU], December 1995 (linked 4/2007). Vital Water เก็บถาวร 2009-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน UNEP .
↑ "MDG Report 2008" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-25 .
↑ "Public Services" เก็บถาวร 2012-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Gapminder video
↑ Kulshreshtha, S. N (1998). "A Global Outlook for Water Resources to the Year 2025". Water Resources Management . 12 (3): 167–184. doi :10.1023/A:1007957229865 . S2CID 152322295 .
↑ "Charting Our Water Future: Economic frameworks to inform decision-making" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 5 July 2010. สืบค้นเมื่อ 25 July 2010 .
↑ Baroni, L.; Cenci, L.; Tettamanti, M.; Berati, M. (2007). "Evaluating the environmental impact of various dietary patterns combined with different food production systems" . European Journal of Clinical Nutrition . 61 (2): 279–286. doi :10.1038/sj.ejcn.1602522 . PMID 17035955 .
↑ Kotz, J. C., Treichel, P., & Weaver, G. C. (2005). Chemistry & Chemical Reactivity . Thomson Brooks/Cole. ISBN 0-534-39597-X . {{cite book }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Ben-Naim, Ariel; Ben-Naim, Roberta; และคณะ (2011). Alice's Adventures in Water-land . Singapore. doi :10.1142/8068 . ISBN 978-981-4338-96-7 .
↑ Crew, Bec. "Physicists Just Discovered a Second State of Liquid Water" . ScienceAlert . สืบค้นเมื่อ 2016-11-15 .
↑ "Water: Water—an enduring mystery" . สืบค้นเมื่อ 2016-11-15 .
↑ Maestro, L.m.; Marqués, M.i.; Camarillo, E.; Jaque, D.; Solé, J. García; Gonzalo, J.a.; Jaque, F.; Valle, Juan C. Del; Mallamace, F. (2016-01-01). "On the existence of two states in liquid water: impact on biological and nanoscopic systems" . International Journal of Nanotechnology . 13 (8–9): 667–677. doi :10.1504/IJNT.2016.079670 . ISSN 1475-7435 .
↑ Edmund T. Rolls (2005), "Emotion Explained". Oxford University Press, Medical. ISBN 0198570031 , 9780198570035.
↑ R. Llinas, W. Precht (2012), "Frog Neurobiology: A Handbook". Springer Science & Business Media. ISBN 3642663168 , 9783642663161
↑ Joël Candau (2004), "The Olfactory Experience: constants and cultural variables ". Water Science and Technology, volume 49, issue 9, pages 11-17.
↑ Melnick, Gary, Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics and Neufeld, David, Johns Hopkins University quoted in:
"Discover of Water Vapor Near Orion Nebula Suggests Possible Origin of H20 in Solar System (sic)" . The Harvard University Gazette. April 23, 1998.
"Space Cloud Holds Enough Water to Fill Earth's Oceans 1 Million Times" . Headlines@Hopkins, JHU. April 9, 1998.
"Water, Water Everywhere: Radio telescope finds water is common in universe" . The Harvard University Gazette. February 25, 1999. (linked 4/2007)
↑ Clavin, Whitney; Buis, Alan (22 July 2011). "Astronomers Find Largest, Most Distant Reservoir of Water" . NASA . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25 .
↑ Staff (22 July 2011). "Astronomers Find Largest, Oldest Mass of Water in Universe" . Space.com . สืบค้นเมื่อ 2011-07-23 .
↑ "MESSENGER Scientists 'Astonished' to Find Water in Mercury's Thin Atmosphere" . Planetary Society. 2008-07-03. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05 .
↑ Water Found on Distant Planet เก็บถาวร 2007-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน July 12, 2007 By Laura Blue, Time
↑ Water Found in Extrasolar Planet's Atmosphere – Space.com
↑ 26.0 26.1 Sparrow, Giles (2006). The Solar System . Thunder Bay Press. ISBN 1-59223-579-4 .
↑ NASA, "MESSENGER Finds New Evidence for Water Ice at Mercury's Poles เก็บถาวร 2012-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ", 29 November 2012.
↑ Weird water lurking inside giant planets , New Scientist, 1 September 2010, Magazine issue 2776.
↑ Versteckt in Glasperlen: Auf dem Mond gibt es Wasser – Wissenschaft – Der Spiegel – Nachrichten
↑ Water Molecules Found on the Moon เก็บถาวร 2009-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , NASA, 24 September 2009
ผลงานที่อ้างถึง
อ่านเพิ่ม
Debenedetti, PG., and HE Stanley, "Supercooled and Glassy Water", Physics Today 56 (6), pp. 40–46 (2003). Downloadable PDF (1.9 MB) เก็บถาวร 1 พฤศจิกายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Gleick, PH., (editor), The World's Water: The Biennial Report on Freshwater Resources . Island Press, Washington, D.C. (published every two years, beginning in 1998.) The World's Water, Island Press เก็บถาวร 26 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Jones, Oliver A.; Lester, John N.; Voulvoulis, Nick (2005). "Pharmaceuticals: a threat to drinking water?". Trends in Biotechnology . 23 (4): 163–167. doi :10.1016/j.tibtech.2005.02.001 . PMID 15780706 .
Journal of Contemporary Water Research & Education เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Postel, S., Last Oasis: Facing Water Scarcity . W.W. Norton and Company, New York. 1992
Reisner, M., Cadillac Desert: The American West and Its Disappearing Water . Penguin Books, New York. 1986.
United Nations World Water Development Report เก็บถาวร 22 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Produced every three years.
St. Fleur, Nicholas. The Water in Your Glass Might Be Older Than the Sun เก็บถาวร 15 มกราคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . "The water you drink is older than the planet you're standing on." The New York Times (15 April 2016)
แหล่งข้อมูลอื่น