Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ถนนอนุวงศ์

ถนนอนุวงศ์

ถนนอนุวงศ์ เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ตั้งต้นหัวถนนจากถนนจักรวรรดิ์ริมวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหารตรงไปออกถนนราชวงศ์ เป็นถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาอีกตอนหนึ่ง มีความกว้างถนนราว 10–11 เมตร[1]

ถนนอนุวงศ์สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยก่อนหน้านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สำเพ็งเป็นบริเวณที่พักอาศัยและทำการค้าของชาวจีน ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ไผ่หลังคามุงแฝก ทำให้เกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง หลังเกิดเพลิงไหม้ก็ทำให้สำเพ็งแออัดยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงถือโอกาสจัดระเบียบโดยการตัดถนนและจัดที่อยู่อาศัยใหม่ โดยตัดถนนใหม่ 5 สาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชวงศ์ ถนนจักรวรรดิ์ ถนนบูรพา และถนนอนุวงศ์[2]

ในอดีตถนนอนุวงศ์มีความสำคัญเช่นเดียวกับถนนทรงวาดเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ท่าน้ำขนส่งทางเรือ จึงมีพ่อค้าแขกและจีนอยู่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในอดีตถนนอนุวงศ์เคยเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ห้าง เอ. ที. อี. มัสกาตี ผู้ผลิตและจำหน่ายผ้าลายที่มีชื่อเสียงอย่างมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา แต่ในปัจจุบันอาคารของห้างมัสกาตีถูกรื้อไปหมดแล้ว[3] ปัจจุบัน ยังมีตึกแถวเก่าแก่ของตระกูลนานาที่เคยเปิดทำเป็นธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าหลงเหลืออยู่ และมีตึกแถวที่สร้างตามสถาปัตยกรรมยุโรปสมัยยุคหลัง ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 และตลอดสมัยรัชกาลที่ 6

ตึกแถวที่สร้างริมถนนอนุวงศ์มีลักษณะเป็นแบบที่ร้านค้าก่อสร้างขึ้นเองโดยเฉพาะ ร้านหนึ่งมีประมาณ 2–3 คูหา สูง 2 ชั้น หน้าบันโค้งมนประดับลายปูนปั้น ปีกสองข้างหรือตอนหัวเสาตั้งกระถางหล่อ ตกแต่งซุ้มหน้าต่างอย่างงดงาม เป็นซุ้มโค้งกลมบ้าง โค้งแหลมบ้าง ภายในอาจกรุกระจกหรือแต่งลายปูนปั้น มีเสาซุ้มหน้าและเสาอิงแบบที่ประยุกต์จากเสากรีกและโรมัน[4]

อ้างอิง

  1. "รายชื่อ ถนน ตรอก ซอย พื้นที่กรุงเทพมหานคร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
  2. วีระศิลป์ชัย, ศันสนีย์. ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. p. 41.
  3. "กิจการค้าของมุสลิมในย่านจีน กรุงเทพฯ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
  4. สยาณี วิโรจน์รัตน์. "การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมประเภทตึกแถวริมถนนเจริญกรุง ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7" (PDF). สำนักงานวิทยทรัพยากร.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9