ตำบลรุ่งระวี
รุ่งระวี เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่ตั้งของสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบแหล่งสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี และยังเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบป่าสนสองใบ ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลรุ่งระวี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติเดิมพื้นที่ "รุ่งระวี" เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกันทรารมย์ ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2529 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ปีเดียวกัน โดยในขณะนั้นรุ่งระวียังมีฐานะเป็นหมู่บ้านหนึ่งในท้องที่ตำบลละเอาะ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จึงได้แยกตัวเป็นตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง โดยรวมเอาหมู่บ้านของตำบลเขินและตำบลละเอาะ ตั้งเป็นตำบลรุ่งระวี[3] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 และมีผลในวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกันชื่อตำบลรุ่งระวีได้มาโดยมีปลัดในสมัยนั้นชื่อนายอุดม ได้เสนอชื่อเพื่อเลือก 3 ชื่อ ดังนี้
และได้ร่วมกันลงมติตั้งชื่อตำบลว่า "ตำบลรุ่งระวี" และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ขึ้นเป็น อำเภอน้ำเกลี้ยง[4] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้ตำบลรุ่งระวี กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ เข้ามาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันเป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอน้ำเกลี้ยง การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคตำบลรุ่งระวีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ตำบลรุ่งระวี มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรุ่งระวีทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลรุ่งระวี ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2533[3] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวีในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[5] จนถึงปัจจุบัน ประชากรพื้นที่ตำบลรุ่งระวีประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 15 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,312 คน แบ่งเป็นชาย 4,212 คน หญิง 4,100 คน (เดือนธันวาคม 2564)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอำเภอน้ำเกลี้ยง
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
สถานที่สำคัญสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทาตั้งอยู่ที่พื้นที่หมู่ 5 บ้านหนองพะแนง ตำบลรุ่งระวี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสนละเอาะ สังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) สำนักการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับหน่วยป้องกันรักษาที่ ศก.5 (ห้วยขะยุง - หนองม่วง) เป็นป่าสนสองใบบริเวณที่ราบผืนสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่รับผิดชอบ 800 ไร่ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ยกพื้นที่ป่าสน ในท้องที่ตำบลตำแย ตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ และตำบลตูม ตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นป่าคุ้มครอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม[13] ปีเดียวกัน ต่อมาได้มีประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 423 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้ยกพื้นที่ป่าสน ในท้องที่ ตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตำแย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และตำบลตูม ตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2512 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม[14] ปีเดียวกัน เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้พะยอม ไม้ประดู่ ไม้พะยุง ไม้ตะเคียน ไม้สน และไม้ชนิดอื่นซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้ การเดินทางไปสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทานี้ สามารถเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ไปตามทางหลวงหมายเลข 221 จังหวัดศรีสะเกษ ไปอำเภอกันทรลักษ์ ตรงกิโลเมตรที่ 28 - 29 ก็จะถึงสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ถนนหลวงจะผ่านพื้นที่สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ที่ทำการสถานีห่างจากถนนใหญ่เพียง 200 เมตรเท่านั้น ปัจจุบันมีเส้นทางเดินชมพื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีข้อมูลของพันธุ์ไม้ต่างๆ ให้ศึกษา และมีสวนสาธารณะเจริญจิต ตั้งอยู่ภายในพื้นที่สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา อ้างอิง
|