โนพลอมแพลม
โนพลอมแพลม [note 1] เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว แต่เป็นชุดแรกที่ใช้ชื่อจริงคือ ยืนยง โอภากุล ปรากฏบนปกเทป(เป็นอัลบั้มที่โด่งดังในอัลบั้มหนึ่ง ของ แอ๊ด คาราบาว) เดิมแอ๊ดกำหนดวางจำหน่ายอัลบั้มในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 แต่ติดเงื่อนไขที่มีเพลงซึ่งไม่ผ่านการเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. อยู่ 3 เพลง คือ ไอ้หำ กับ ขนม ซึ่งถูกสั่งห้ามออกอากาศอย่างเด็ดขาด และ โนพลอมแพลม ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขอยู่หลายครั้ง โดยใช้เวลาครึ่งเดือน จึงผ่านการอนุมัติให้สามารถออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ได้ เนื่องจากต้องใช้ในการโฆษณาสินค้าชนิดหนึ่ง จึงออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปลายเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นอัลบั้มชุดแรกของค่ายเพลง ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (ปัจจุบัน วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ถือลิขสิทธิ์ผลงานเพลงที่ทำกับดี-เดย์ เพื่อวางจำหน่ายซ้ำ) เพลงต่าง ๆ ในอัลบั้ม แอ๊ดได้ตีแผ่ประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีเพลงเกี่ยวกับความรักเช่นในอัลบั้มก่อน ๆ โดยประกาศจุดยืนตรงข้ามกับรัฐบาล (สมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี) [1] มีเพลงที่พอจะเป็นที่รู้จักและมีการเผยแพร่สืบต่อกันมา อย่างเช่น สืบทอดเจตนา ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อรำลึกแด่ สืบ นาคะเสถียร ที่เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 โดยการฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นำไปสู่การประชุมเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้งในอีก 2 สัปดาห์หลังสืบฆ่าตัวตาย และทำให้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกประกาศให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ที่สืบเคยเป็นหัวหน้าเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2534 หรือปีถัดมานั่นเอง อัลบั้มชุดนี้ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาอัลบั้มยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2533 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กำหนดรางวัลนี้ขึ้นมาและยังใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการให้เหตุผลว่า ด้านดนตรีมีความหนักแน่นขึ้น พร้อมกับเนื้อหาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น แสดงตัวตนของแอ๊ดได้อย่างเด่นชัดที่สุด ในปี พ.ศ. 2562 เพลงโนพลอมแพลมได้นำมาทำเนื้อร้องใหม่อีกครั้ง ในชื่อเพลง "ชาติพัฒนา โนพรอบแบลม" เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการหาเสียงของพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 [2] รายชื่อเพลงในอัลบั้ม
ผู้ร่วมงาน
เชิงอรรถ
อ้างอิง
ข้อความในอัลบั้ม
|