Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย

โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย
Science Classrooms in University-Affiliated School Project
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง24 เมษายน พ.ศ. 2550
ผู้ก่อตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานใหญ่75/47 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เว็บไซต์scius.most.go.th scius.mhesi.go.th

โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือโครงการ วมว. เป็นโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการ การบริหาร จัดการหลักสูตรการเรียนการสอนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนซึ่งอาจเป็นโรงเรียนเครือข่ายหรือโรงเรียนในกำกับของมหาวิทยาลัยโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

ประวัติ

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1] ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ขึ้น เพื่อผลิตนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ ให้ปรับเปลี่ยนจากการให้การสนับสนุนในรูป "ทุนการศึกษา" เป็นการสนับสนุน "หลักสูตรการศึกษา" ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมแทน โดยเริ่มแรก (ปีการศึกษา 2551) มีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเข้าร่วมจำนวน 4 คู่ศูนย์[2]

โดยในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 19 คู่ศูนย์ ซึ่งหลักสูตรจะแตกต่างกันไปตามศักยภาพ ความพร้อม และความโดดเด่นทางวิชาการในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ

สัญลักษณ์

ความหมายของสี

  • สีเหลือง หมายถึง วิทยาศาสตร์ และเป็นสีประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสีที่ตามองเห็นได้ชัดเจน และกระตุ้นให้คนใช้ปัญญาและเกิดการอยากเรียนรู้ เป็นสีแห่งความเฉลียวฉลาด ความรอบรู้มุ่งมั่น ความตั้งใจและความรวดเร็วในการคิด ซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้มีความเจริญทางปัญญาและความรู้อย่างมีเหตุผล
  • สีแสด หมายถึง สีประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสีที่แสดงถึงแรงบันดาลใจเต็มเปี่ยม และพลังในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์
  • สีน้ำเงิน หมายถึง นวัตกรรมและพระมหากษัตริย์ แทนความมีอัจฉริยภาพ ความเป็นผู้นำในการพัฒนาสร้างสรรค์และก่อกำเนิดสิ่งที่มีคุณค่าใหม่ ๆ
  • สีเขียว หมายถึง สิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรมชาติ และการเจริญเติบโต แสดงถึงการใช้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนา ควบคู่กับการดำรงระบบนิเวศไว้ให้ยั่งยืน

การรับสมัครนักเรียน [3]

คุณสมบัติของนักเรียนผู้สมัคร

  1. กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษานั้น
  2. มีผลการเรียน ดังนี้
    • ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกรายวิชาในชั้น ม.1 และ ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00
    • ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชั้น ม.1 และ ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00
    • ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมรายวิชาคณิตศาสตร์ในชั้น ม.1 และ ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00
  3. มีสัญชาติไทย (มีเลขประจำตัวประชาชน)
  4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการพักในหอพัก
  5. มีความขยันหมั่นเพียร มีความประพฤติดีและมีบุคลิกภาพเหมาะสม
  6. มีความตั้งใจเข้าเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ และได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง
  7. สามารถพักอยู่ในโรงเรียนหรือสถานที่ที่โรงเรียนจัดไว้ให้ในลักษณะโรงเรียนประจำได้ และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อบังคับ ของหอพักหรือโครงการกำหนดไว้ได้

ขั้นตอนการรับสมัครและคัดเลือก

  1. โครงการฯ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะดำเนินการรับสมัครนักเรียนในเดือนสิงหาคมของทุกปีทาง ระบบการรับสมัครนักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  2. มหาวิทยาลัยและโรงเรียนทำการตรวจสอบคุณสมบัติ เมื่อนักเรียนมีคุณสมบัติครบถ้วน จึงจะมีสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก
  3. โครงการฯ โดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จะเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนในรอบแรก โดยการสอบข้อเขียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกโดยใช้คะแนนผลการสอบคัดเลือกโรงเรียนละ 150-300 อันดับแรก (ตามการรับของแต่ละศูนย์) โดยคะแนนลำดับที่ 150-300 (ตามการรับของแต่ละศูนย์) ให้คัดเลือกนักเรียนที่ได้คะแนนเท่ากันไว้ทั้งหมด
  4. มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการแต่ละแห่งจะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกรอบสอง โดยแยกกัน โดยอิสระในช่วงเดือนมกราคมของทุกปีโดยวิธีการสอบคัดเลือกในลักษณะเดียวกันกับการสอบรอบแรก
  5. มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการแต่ละแห่งเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักเรียนในโครงการ วมว. แห่งละ 30 - 90 คน (ตามการรับของแต่ละศูนย์) พร้อมสำรอง และส่งให้รายชื่อให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

รายชื่อมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในกำกับ

มหาวิทยาลัย โรงเรียนในกำกับ ปีที่เข้าร่วม รายละเอียดหลักสูตร[4]
1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2551[2] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติโดยนักเรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนแบบ Problem based ที่นำองค์ความรู้แต่ละกลุ่มสาระบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้อย่างกลมกลืน โดยนักเรียนได้รับทักษะและกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ผ่านการปฏิบัติจริง
2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 2551[2] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการวิจัย มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนตามความสนใจ ความถนัด และศักยภาพของนักเรียนเพิ่มเติมด้วยวิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี และชีวเคมี และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายทั่งภายใน และภายนอกสถานศึกษา
3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โรงเรียนดรุณสิกขาลัย 2551[2] หลักสูตรห้องเรียนวิศว์-วิทย์ เน้นการเรียนรู้ผ่านเรื่องราวที่ร้อยเรียงตามประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติโดยเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมเข้ากันไว้ด้วยกันแบบ Story-Based Learning นักเรียนจะเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาจริง และโครงงานหลังสูตรนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการเติบโตไปเป็นวิศวกรวิจัย (Research Engineer) และวิศวกรปฏิบัติ-นวัตกร (Hands-on Engineer)
4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ 2551[2] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงโดยประยุกต์ใช้กับวิทยาการด้านนวัฒนกรรมการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ สัตวแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
5 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2553[2] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นให้นักเยนมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ กล้าแสดงออกและเป็นผู้นำที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
6 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2554[2] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงโดยประยุกต์ใช้กับวิทยาการด้านนวัฒนกรรมการเกษตร อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ สัตวแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
7 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) 2554[2] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี และการวิจัยผ่านการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำมาพัฒนาท้องถิ่นได้จริง
8 มหาวิทยาลัยบูรพา โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา 2556[5] หลักสูตรการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความโดดเด่นในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
9 มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 2556[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กายภาพ-ชีวภาพ เน้นการสร้างทักษะการวิจัยจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และต่อยอดการทำวิจัยร่วมกับนักวิจัย/คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้เป็นนักวิจัย/นักนวัตกรรมในอนาคตและมีความสามารถในด้านภาษาต่างประเทศ นักเรียนสามารถเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนเรศวรล่วงหน้าได้
10 มหาวิทยาลัยทักษิณ โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม 2556[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คณิตศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนและเกษตรยั่งยืน บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านการเรียนรู้ด้วยรูปแบบต่างๆ โดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยและปราชญ์ชาวบ้านเพื่อให้นักเรียนได้มีการบูรณาการความรู้ผ่านการทำโครงงานวิจัยขนาดเล็กร่วมกับคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยเน้นบริบทในท้องถิ่นภาคใต้
11 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) 2556[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยผสานความโดดเด่นทางวิชาการตามความสนใจของนักเรียน และการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์แบบบูรณาการโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
12 มหาวิทยาลัยพะเยา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา 2558[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ กล้าแสดงออกและเป็นผู้นำที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
13 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) 2558[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีเกษตร โดยจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเน้นการะบวนการคิดตามแนวทางการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) พร้อมทั้งนำมาประยุกต์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้องค์ความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาหรือเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างนักยุววิจัยเพื่อเป็นรากฐานของนักวิจัยในอนาคต
14 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ 2558[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการบูรณาการความรู้ในสาขาต่างๆ ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี วัสดุนาโนเพื่อพลังงานและประหยัดพลังงาน เคมีอินทรีย์ขั้นสูงเพื่อพลังงาน การพัฒนาพลังงานเอทานอลและพืชพลังงาน การคำนวณและการจำลองแบบวัสดุพลังงาน และด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะของนักเรียนเพื่อไปเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในอนาคตต่อไป
15 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต 2558[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นสากลโดยการปฏิบัติจริงและใช้หลัก Project Based Learning กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และนำไปสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เน้นบูรณาการความรู้ระหว่างสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
16 มหาวิทยาลัยศิลปากร โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย 2558[5] มุ่งจัดการศึกษาแบบสร้างสรรค์ภายใต้กรอบแนวความคิด ‘บูรณาการ วิทยาศาสตร์และศิลป์ ศึกษาสสารและวัสดุ พัฒนาพลังงานทดแทน ประสานสู่สิ่งแวดล้อม’ สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีทักษะกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์สำหรับการเป็นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกในความเป็นไทย
17 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี 2559[5] หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาวิชาการที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เช่น เทคโนโลยียาง เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ RIBA
18 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โรงเรียนสุรวิวัฒน์ 2561 หลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะ ประสบการณ์ และการคิดวิเคราะห์ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความโดดเด่นในด้านการเรียนการสอน มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนตามแบบสะเต็มศึกษา ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์อย่างนักวิทยาศาสตร์ สร้างเสริมความชำนาญด้านปฏิบัติการ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม เน้นพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ
19 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม 2562

อ้างอิง

  1. สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรี, มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2559
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 โครงการ วมว., ความเป็นมาของโครงการ เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2559
  3. โครงการ วมว., คู่มือการรับสมัคร[ลิงก์เสีย], สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
  4. โครงการ วมว., คู่มหาวิทยาลัย - โรงเรียนในกำกับ เก็บถาวร 2019-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2559
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี, WHAT IS SCIUS เก็บถาวร 2017-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9