เย็นตาโฟ
เย็นตาโฟ เป็นชื่อเรียกของก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง เหมือนก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาทั่วไป แต่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่เหมือนกันในการทำ คือ ต้องใส่ซอสเย็นตาโฟลงไปในน้ำก๋วยเตี๋ยว ทำให้น้ำก๋วยเตี๋ยวมีสีแดง ซอสเย็นตาโฟมีสีแดง ทำมาจากเต้าหู้ยี้ ที่มาของชื่อ เย็นตาโฟ มาจากภาษาจีนแคะ (ตัวเต็ม: 釀豆腐, ตัวย่อ: 酿豆腐) อ่านว่า งย้องแท้วฟู้ (ngiong-theu-fu) ภาษาจีนกลางอ่านว่า เนี่ยงโต้วฟู (niàng dòufu) หมายถึงเต้าหู้บ่มสอดไส้หมูสับ (ลักษณะเดียวกับส่วนประกอบของก๋วยเตี๋ยวแคะ) ซึ่งเป็นอาหารเลื่องชื่อของชาวจีนแคะมาแต่โบราณ ไม่ได้แปลว่า เต้าหู้หมัก (ที่หมายถึงเต้าหู้ยี้หรือ แท้วฟู้ยี ในภาษาจีนแคะ) ก่อนหน้านี้มีผู้สันนิษฐานว่าชาวแต้จิ๋วรับมาแล้วออกเสียงตามแบบถนัดว่า เยี่ยงเต่าฮู และเพี้ยนมาเป็นเย็นตาโฟในปัจจุบัน แต่ถ้าพิจารณาคำอ่านภาษาจีนแคะ ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็เพี้ยนเป็นเย็นตาโฟได้เช่นกัน "งย้องแท้วฟู้" หรือเต้าหู้ยัดไส้ที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ “เต้าหู้แคะ” ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของ “ก๋วยเตี๋ยวแคะ” ในประเทศไทยด้วยนั้น เป็นวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านโบราณของชาวแคะที่สืบทอดมาเป็นเวลายาวนานนับพันปีจนกลายเป็นอาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อของประเทศจีนเอง ตลอดจนประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอื่นๆ ที่มีชนเชื้อชาติแคะอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติจีนที่มีพลเมืองรวมกันมากที่สุดในโลก และประเทศมาเลเซียยังได้ขึ้นบัญชี "งย้องแท้วฟู้" เป็นหนึ่งใน 100 รายการมรดกวัฒนธรรมอาหารแห่งชาติมาเลเซียด้วย นอกจากเครื่องที่เป็นเอกลักษณ์แล้วยังมีเต้าหู้ทอด ปาท่องโก๋ชิ้นเล็ก ปลาหมึกกรอบ เลือดหมูก้อน และผักนิยมใช้ผักบุ้ง อาจใส่เกี๊ยวกรอบหรือปลาชิ้น ลูกชิ้นปลา ในแถบจังหวัดระยอง สูตรของเย็นตาโฟมีหลายสูตร ทั้งแบบธรรมดา แบบต้มยำทะเล โดยใส่เครื่องปรุงที่เป็นอาหารทะเลไปด้วย ตามการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ก๋วยเตี๋ยวได้รับการปรุงแต่งเป็นเย็นตาโฟเมื่อใด ยังไม่มีการบันทึกไว้ แต่ตามที่มีการศึกษา ต้นตำรับอาหารของจีนจะมีรสชาติจืด ซึ่งคนไทยในสมัยก่อนนั้นไม่ชอบอาหารจืด ชอบอาหารที่มีรสจัด โดยมีการนำเต้าหู้ยี้มาใส่เพื่อปรุง และนำชื่อเรียกของเต้าหู้ชนิดนั้นมาตั้งเป็นชื่อของก๋วยเตี๋ยวใส่เต้าหู้ยี้ว่า เย็นตาโฟ ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เย็นตาโฟ |