Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เทศบาลนครภูเก็ต

เทศบาลนครภูเก็ต
ภาพถ่ายมุมสูงนครภูเก็ต
ภาพถ่ายมุมสูงนครภูเก็ต
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครภูเก็ต
ตรา
สมญา: 
เมืองเกาะใหญ่
คำขวัญ: 
สร้างนครภูเก็ต ให้เป็นนครแห่งความสุขและน่าอยู่อย่างยั่งยืน
แผนที่
ทน.ภูเก็ตตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต
ที่ตั้งของเทศบาลนครภูเก็ต
ทน.ภูเก็ตตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต (ประเทศไทย)
พิกัด: 7°53′17″N 98°23′51″E / 7.88806°N 98.39750°E / 7.88806; 98.39750
ประเทศ ไทย
จังหวัดภูเก็ต
อำเภอเมืองภูเก็ต
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสาโรจน์ อังคณาพิลาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด12 ตร.กม. (5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด79,308 คน
 • ความหนาแน่น6,609.00 คน/ตร.กม. (17,117.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03830102
สนามบินท่าอากาศยานภูเก็ต
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต ถนนนริศร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
เว็บไซต์www.phuketcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครภูเก็ต เป็นเทศบาลนครที่ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลตลาดเหนือและตำบลตลาดใหญ่ ในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ประวัติ

เทศบาลนครภูเก็ต เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองภูเก็ต ได้รับการยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองภูเก็ต โดยพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งเทศบาลเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2478 เรียกว่า "เทศบาลเมืองภูเก็ต" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบ 2 ตำบล คือ ตำบลตลาดเหนือและตำบลตลาดใหญ่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครภูเก็ต [1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลนครภูเก็ต มีพื้นที่รับผิดชอบรวม 12 ตารางกิโลเมตร หรือ 19,500 ไร่ มีเขตการปกครอง 2 ตำบล คือ ตำบลตลาดเหนือ มีพื้นที่ 4 ตารางกิโลเมตร และตำบลตลาดใหญ่ มีพื้นที่ 8 ตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งและอาณาเขต ดังนี้

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครภูเก็ต (2504–2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.5
(95.9)
36.2
(97.2)
37.5
(99.5)
36.8
(98.2)
36.0
(96.8)
35.0
(95)
34.0
(93.2)
34.5
(94.1)
33.3
(91.9)
33.9
(93)
33.4
(92.1)
33.5
(92.3)
37.5
(99.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.8
(89.2)
32.9
(91.2)
33.5
(92.3)
33.4
(92.1)
32.0
(89.6)
31.6
(88.9)
31.2
(88.2)
31.2
(88.2)
30.7
(87.3)
30.9
(87.6)
31.0
(87.8)
31.2
(88.2)
31.8
(89.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27.9
(82.2)
28.7
(83.7)
29.3
(84.7)
29.5
(85.1)
28.4
(83.1)
28.3
(82.9)
27.8
(82)
27.9
(82.2)
27.3
(81.1)
27.4
(81.3)
27.5
(81.5)
27.6
(81.7)
28.1
(82.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.3
(73.9)
23.7
(74.7)
24.3
(75.7)
24.8
(76.6)
24.5
(76.1)
24.5
(76.1)
24.2
(75.6)
24.4
(75.9)
23.9
(75)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.7
(74.7)
24.1
(75.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 17.8
(64)
17.1
(62.8)
18.5
(65.3)
21.1
(70)
20.7
(69.3)
20.5
(68.9)
21.0
(69.8)
20.7
(69.3)
21.2
(70.2)
21.0
(69.8)
19.8
(67.6)
17.2
(63)
17.1
(62.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 29.8
(1.173)
20.9
(0.823)
49.1
(1.933)
121.9
(4.799)
319.4
(12.575)
268.9
(10.587)
290.5
(11.437)
272.6
(10.732)
399.0
(15.709)
309.6
(12.189)
175.7
(6.917)
59.4
(2.339)
2,316.8
(91.213)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 4 3 5 11 21 19 19 19 23 22 16 8 170
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 286.2 271.5 282.3 247.9 188.5 139.5 172.6 174.1 143.2 179.8 197.1 244.3 2,527.0
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[2], Hong Kong Observatory [3]
แหล่งที่มา 2: NOAA (sun, extremes)[4]

ประชากร

จำนวนประชากรและบ้านเรือนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีบ้านทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 23,394 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 75,536 คน (รวมทั้งบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยด้วย) แบ่งเป็น ชาย 34,760 คน หญิง 40,776 คน ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 6,294 คน/ตารางกิโลเมตร และอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ตั้งแต่ปี 2546 - 2547 ร้อยละ 1.81

ลักษณะโดยทั่วไปของประชากร

ศาสนา

ประชาชนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 75 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 20 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 4 นอกนั้นนับถือศาสนาฮินดู และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1

จำนวนสถาบันทางศาสนา มีดังนี้ คือ วัด จำนวน 6 แห่ง มัสยิด จำนวน 2 แห่ง และโบสถ์ จำนวน 3 แห่ง

การศึกษา

เทศบาลนครภูเก็ต มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 ศูนย์

โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต ทั้ง 7 โรงเรียน

การสาธารณสุข

เทศบาลนครภูเก็ต มีโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และมีศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ตอีก 3 ศูนย์ คือ

- ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 เทศบาลนครภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนถลาง
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 เทศบาลนครภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บริเวณเขตชุมชนโรงฆ่าสัตว์ ถนนอนุภาษภูเก็ตการ
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 เทศบาลนครภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนกระ หลังสถานีดับเพลิงเมืองภูเก็ต

ชุมชนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต

ปัจจุบันชุมชนย่อยในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีทั้งหมด 22 ชุมชน ดังนี้

  1. ชุมชนหลังหอประชุมเทศบาลนครภูเก็ต
  2. ชุมชนหลังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  3. ชุมชนโกมารภัจจ์
  4. ชุมชน 131
  5. ชุมชน 40 ห้อง
  6. ชุมชนต้นโพธิ์
  7. ชุมชนกอไผ่
  8. ชุมชนแสนสุข
  9. ชุมชนร่วมน้ำใจ
  10. ชุมชนสะพานร่วม 1
  11. ชุมชนสะพานร่วม 2
  12. ชุมชนถนนหลวงพ่อ
  13. ชุมชนสุทัศน์ ซอย 2
  14. ชุมชนขุมน้ำนรหัช
  15. ชุมชนอ่าวเกใน
  16. ชุมชนสามัคคีสามกอง
  17. ชุมชนซีเต็กข่า
  18. ซี่เต็กค้า 1
  19. ซี่เต็กค้า 2
  20. ซี่เต็กค้า 3
  21. ซี่เต็กค้า
  22. ชุมชนย่ายเมืองเก่าภูเก็ตธนาคารชาร์เตอร์
  23. ชุมชนย่านเมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต
  24. ชุมชนซอยผาสุข
  25. ชุนชนเจ้าฟ้า
  26. ชุมชนซอยร่วมใจสามัคคี [ฮับเอก-ตลิ่งชั่น]
  27. ชุมชนบ้านช้านจุ๊ยตุ่ย
  28. ชุมชนหล่อโรงพัฒนา
  29. ชุมชนหลังโรงเรียนปลูกปัญญา
  30. ชุมชนปะเหลี่ยม

การคมนาคม

ย่านเมืองเก่าภูเก็ต

ซอยรมณีย์ หรือ คนภูเก็ตเรียกในภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่งอาหลาย (巷仔內)

สถาปัตยกรรมในย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ต บนถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนพังงา ถนนเยาราช และซอยรมณีย์ รวมทั้งถนนใกล้เคียง เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก และการค้าแร่ดีบุกเฟื่องฟู ในยุคนั้นภูเก็ตเป็นเมืองที่มีชาวต่างชาติ ทั้งจีน อินเดีย อาหรับ มลาย และยุโรป เข้ามาทำการค้าและอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่น ๆ ในแหลมมลายู เช่น ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การก่อสร้างและออกแบบอาคาร จึงได้รับอิทธิพลจากนานาชาติไปด้วย

ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในเมืองภูเก็ต อาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณช่วง พ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนาเมือง ยุคที่สอง พ.ศ. 2444-2475 เป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป และยุคที่สาม ยุคนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตซึ่งชาวภูเก็ตทุกคนภาคภูมิใจ และตั้งใจจะรักษาให้คงอยู่สืบไป

ประเพณี

ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีกินผัก ประเพณีผ้อต่อ และประเพณีไหว้เทวดาที่มีประวัติมายาวนาน

งานประเพณีกินผัก ตรงกับวันขึ้น 1 - 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม ของทุกปี งานเทศกาลกินผักเป็นงานประเพณี ซึ่งชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในภูเก็ตยึดถือปฏิบัติมาช้านาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 จนถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการถือศีลปฏิบัติธรรม ชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ และในช่วงเทศกาล 9 วัน 9 คืนนี้ จะมีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีอัญเชิญพระ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีส่งพระ เป็นต้น งานเทศกาลนี้นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจและเลื่อมใสศรัทธา ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดงานหนึ่ง จนในปัจจุบันงานประเพณีกินผัก นับเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี

งานผ้อต่อ เป็นประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีน โดยในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย จะมีพิธีไหว้บรรพบุรุษด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ และมีขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้ง เป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้ด้วยขนมรูปเต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่

ประเพณีไหว้เทวดา (ป้ายที้ก้ง) เป็นการบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์ เพื่อให้เทวดาปกป้องคุ้มครองมนุษย์ให้อยู่เย็นเป็นสุข มักจัดขึ้นในช่วงวันตรุษจีน หรือในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 1 เป็นอีกประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ตยึดมั่นปฏิบัติตลอดมา

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

เทศบาลนครภูเก็ตเป็นเมืองแฝด กับ:

ที่ เมืองพี่น้อง ประเทศ
1 เปกันบารู อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
2 นิส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส[5]

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/088/1.PDF
  2. "30 year Average (1961-1990) - PHUKET". Thai Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  3. "Climatological Normals of Phuket". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-02. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
  4. "PHUKET INTL AIRPORT 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 13 September 2012.
  5. "Villes jumelées avec la Ville de Nice" (ภาษาฝรั่งเศส). Ville de Nice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9