Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3

เจ้าจอมมารดาทรัพย์
พระสนมเอก
เกิดทรัพย์
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
อนิจกรรมอาณาจักรรัตนโกสินทร์
ตระกูลจักรี (โดยสมรส)
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตรสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร
บิดาพระอักษรสมบัติ (หม่อมราชวงศ์ทับ)
มารดาผ่อง อักษรสมบัติ

เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนนีในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ และเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระปัยยิกาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เป็นธิดาของพระอักษรสมบัติ (ทับ) กับผ่อง[1] ผ่องเป็นธิดาของพระยาพัทลุง (ทองขาว) กับปล้อง (น้องสาวคุณหญิงเพ็ง พระชนนีในสมเด็จพระศรีสุลาไลย)[2] เจ้าจอมมารดาทรัพย์มีพี่น้อง 2 คนคือ[3]

  1. รอด หรือ ฉิม ต่อมาได้เป็นภรรยาพระเทพเพชรรัตน์ (นาค) ย่าของพระนมปริก
  2. น้อย ต่อมาได้เป็นภรรยาพระยาเทพอรชุน (แสง)

พระอักษรสมบัติ (ทับ) ได้พามาถวายตัวเป็นหม่อมในพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้มีพระประสูติกาลหม่อมเจ้าสององค์ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมทรัพย์จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าจอมมารดาทรัพย์

เจ้าจอมมารดาทรัพย์เป็นหนึ่งในสามพระสนมเอกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดมาก อีกสองคนคือเจ้าจอมมารดาบางและเจ้าจอมมารดาอิ่ม เหตุผลที่โปรดเจ้าจอมมารดาทรัพย์นั้นสันนิษฐานว่าเพราะเป็นพระญาติสนิทในสมเด็จพระศรีสุลาลัย[4][5]

พระราชโอรส-ธิดา

เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ได้มีพระราชโอรส 1 พระองค์ และพระราชธิดา 1 พระองค์คือ

  1. พระองค์เจ้าชายศิริวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาพระอัฐิเป็น สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ ทรงเป็นพระชนกในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
  2. พระองค์เจ้าหญิงละม่อม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูร แล้วเลื่อนเป็น พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงออกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร[6]

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-13.
  2. เวียงวัง ตอนที่ 107 : พระราชวงศ์กรุงธนบุรี
  3. พระนมปริกพระนมเอกผู้ใหญ่แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  4. เวียงวัง ตอนที่ 32 : เครื่องยศพระสนมเอก
  5. ชาติพันธุ์ชาวราชบุรี
  6. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2486, ปีที่ 48, 11 มิถุนายน 2545
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9