Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เควิน คีแกน

เควิน คีแกน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม โจเซฟ เควิน คีแกน
ส่วนสูง 5 ft 8 in (1.73 m)[1]
ตำแหน่ง หน้าต่ำ
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2008 (UTC)

โจเซฟ เควิน คีแกน (เกิด 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951)[2] หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ เควิน คีแกน เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ

เขาเริ่มค้าแข้งกับสกันทอร์ปยูไนเต็ดใน ค.ศ. 1968 ก่อนที่จะย้ายไปร่วมทีมลิเวอร์พูลใน ค.ศ. 1971 โดยสวมเสื้อเบอร์ 7 ในขณะที่ค้าแข้งอยู่กับลิเวอร์พูลนั้น คีแกนสามารถคว้าแชมป์รายการสำคัญต่างๆมากมาย ได้แก่ ดิวิชันหนึ่ง 3 สมัย, ยูฟ่าคัพ 2 สมัย, เอฟเอคัพ 2 สมัย และยูโรเปียนคัพอีก 1 สมัย เขาติดทีมชาติอังกฤษเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1972 ต่อมาใน ค.ศ. 1977 เขาตัดสินใจย้ายไปร่วมทีมฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา ในการค้าแข้งกับฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟาเขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป 2 สมัยติดต่อกัน คือ 1978 และ 1979 ในฤดูกาลเดียวกันเขาได้เป็นกำลังสำคัญในการพาทีมคว้าแชมป์บุนเดิสลีกา ฤดูกาล 1978–79 และสามารถคว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพในปีถัดมาอีกด้วย หลังจากนั้นเขาก็ได้ย้ายไปร่วมทีมเซาแทมป์ตันเป็นเวลา 2 ฤดูกาล ก่อนที่จะย้ายไปค้าแข้งกับนิวคาสเซิลใน ค.ศ. 1984 และสามารถพาทีมเลื่อนชั้นได้สำเร็จ ก่อนที่จะประกาศเลิกเล่นฟุตบอลในอีก 2 ปีถัดมา ในขณะที่ติดทีมชาติอังกฤษทั้งหมด 63 นัด และยิงได้ 21 ประตู

ใน ค.ศ. 1992 เขากลับสู่นิวคาสเซิลอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีม และพาทีมเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดในฐานะแชมป์ได้สำเร็จ หลังจากเลื่อนชั้นแล้วคีแกนพาทีมคว้าอันดับ 2 ในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1995–96 หลังจากนั้นเขาก็ได้ย้ายไปคุมฟูลัม ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษใน ค.ศ. 1999 แต่คุมทีมเพียงแค่ปีเดียวเขาก็ขอลาออกจากตำแหน่ง ปีถัดมาคีแกนตัดสินใจเขาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ซิตี และคุมทีมได้นาน 4 ปี ก็ขอลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับฟุตบอลอีกเลยเป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่จะกลับมาคุมนิวคาสเซิลอีกเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2008 เนื่องจากขัดแย้งกับบอร์ดบริหารของสโมสร[3]

สมัยเป็นนักเตะ

เควิน คีแกน เริ่มต้นเป็นนักฟุตบอลจากการเป็นเด็กฝึกหัดของสกันทอร์ป ก่อนที่จะย้ายเข้าสู่ลิเวอร์พูลด้วยค่าตัว 35,000 ปอนด์ คีแกนได้ลงเล่นเกมแรกให้ทีมชาติอังกฤษเจอกับทีมชาติเวลส์ ที่คาร์ดิฟฟ์ ก่อนจะช่วยลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ลีก 3 สมัยใน 3 ปีแรกที่แอนฟีลด์ ต่อมาในปี 1973 ลิเวอร์พูลได้แชมป์ ยูฟ่าคัพ หลังจากสามารถเอาชนะโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคได้สำเร็จ 3 ปีต่อมา คีแกนได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีหลังพาลิเวอร์พูลชนะบรูเกส 4-3 ในประตูรวมคว้าแชมป์ ยูฟ่าคัพ อีกสมัย

คีแกนนั้นถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่พาลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ ยูโรเปียนคัพ เป็นครั้งแรกหลังชนะกลัดบัค ก่อนที่เขาจะย้ายสู่ ฮัมบวร์ค ด้วยค่าตัว 500,000 ปอนด์ ในปี 1977 ฮัมบวร์คได้แชมป์บุนเดิสลีกาและคีแกนก็ได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำฤดูกาล 1977–78 โดยฤดูกาลถัดมาเขายังได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปียุโรปอีกด้วย ในปี 1980 คีแกนตัดสินใจย้ายไปร่วมทีมเซาแทมป์ตันด้วยค่าตัว 420,000. ปอนด์ เขาได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของพีเอฟเอ ก่อนย้ายสู่นิวคาสเซิลด้วยค่าตัว 100,000 ปอนด์ คีแกนเล่นได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเขาลงเล่นให้กับนิวคาสเซิลไปทั้งหมด 78 นัด ยิงได้ 48 ประตู ก่อนจะประกาศเลิกเล่นในปี 1984

รวมคีแกนลงเล่นให้กับทุกสโมสรไป 592 นัด ยิงได้ 204 ประตู และลงเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษทั้งหมด 63 นัด ยิงได้ 21 ประตู

บทบาทในฐานะผู้จัดการทีม

นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (1992–1997)

เควิน คีแกน กลับสู่วงการฟุตบอลอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีมนิวคาสเซิล คุมทีมได้ 1 ปี คีแกนสามารถพานิวคาสเซิลเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ชิพได้ในฐานะแชมป์ดิวิชั่น 1 เดิม พร้อมได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของดิวิชั่น 1 ด้วย ต่อมาในปี 1994 คีแกนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการด้านฟุตบอลของนิวคาสเซิล ก่อนต่อสัญญากับทีมออกไปอีกรวม 10 ปี ต่อมานิวคาสเซิลจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 ในพรีเมียร์ชิพ ในปี 1996 นิวคาสเซิลเป็นได้เพียงรองแชมป์ของพรีเมียร์ชิพเท่านั้น โดยก่อนหน้านี้นิวคาสเซิลนำแมนฯ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นแชมป์ในปีนั้นห่างถึง 12 คะแนน และคีแกนยังมีปากเสียงกับเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผ่านการให้สัมภาษณ์ทางทีวี ก่อนที่เขาจะประกาศลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา

ฟูลัมและทีมชาติอังกฤษ (1998–2000)

ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1997 คีแกนได้กลับสู่วงการฟุตบอลอีกครั้ง ในฐานะ COO ของฟูลัม ต่อมาคีแกนได้ตัดสินใจปลด เรย์ วิลกินส์ ผู้จัดการทีม ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเขาออกจากตำแหน่ง หลังคุมทีมได้เพียง 7 เดือนก่อนที่คีแกนจะรับหน้าที่เอง ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 คีแกนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมชาติอังกฤษเป็นเวลา 4 นัด ก่อนต่อสัญญา พร้อมทำทีมฟูลัมไปด้วยซึ่งคีแกนก็ได้พาสโมสรคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 หลังจากนั้นวันที่ 6 พฤษภาคม คีแกนได้เปิดเผยผ่านรายการทีวีว่าจะสละตำแหน่ง COO ของฟูลัม เพื่อมาคุมทีมชาติอังกฤษเต็มตัว ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ทีมชาติอังกฤษเริ่มต้นทัวร์นาเมนต์เวิลด์คัพได้อย่างน่าผิดหวัง หลังจากพ่ายแพ้ทีมชาติเยอรมัน 1-0 รอบคัดเลือก ซึ่งเป็นเกมสุดท้ายที่เวมบลีย์ ก่อนที่จะถูกรื้อสร้างใหม่ ก่อนที่คีแกนจะเข้าหารือกับเอฟเอ และขอลาออกจากตำแหน่งในวันเดียวกัน

แมนเชสเตอร์ซิตี (2001–2005)

ในปี 2001 เควิน คีแกน ได้ตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ซิตี โดยคีแกนสามารถพาทีมคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 ตั้งแต่ปีแรกที่รับตำแหน่ง โดยทีมยิงไป 108 ประตู จบฤดูกาลด้วย 99 คะแนน หลังจากนั้นในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2004 แมนเชสเตอร์ซิตีแพ้เอฟเวอร์ตันที่เหลือ 10 คน 1-0 เป็นความปราชัยเกมที่ 3 ในรอบ 5 เกมแรกพรีเมียร์ลีก ของฤดูกาลใหม่ ทำให้คีแกนเริ่มกดดัน พร้อมมีข่าวว่ากำลังจะถูกไล่ออก ต่อมาในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2005 คีแกนตัดสินใจลาออกจากสโมสรด้วยข้อตกลงที่มีผลทันที หลังจากที่พ่ายแพ้โบลตันคาบ้าน 1-0

นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2008)

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2008 เควิน คีแกน ได้ตัดสินใจกลับเข้าสู่วงการฟุตบอลอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานถึง 3 ปี ด้วยการคุมทีมนิวคาสเซิลอีกครั้ง ซึ่งในการคุมทีมในช่วงแรกทีมไม่สามารถเก็บชัยชนะได้เลย จนมีข่าวว่า ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของสโมสร จะปลดคีแกนออกจากตำแหน่ง แต่หลังจากที่ทีมสามารถเก็บชัยชนะได้แล้ว ทีมก็สามารถพ้นโซนอันตรายได้และเก็บชัยชนะอย่างสม่ำเสมอก่อนที่จะจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 12 ของตาราง และเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ด้วยการเสมอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1-1 ก่อนที่จะขัดแย้งกับบอร์ดบริหารของสโมสรและตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา[4]

สถิติ

ผู้เล่น

ระดับสโมสร เกมลีก ฟุตบอลถ้วย ลีกคัพระดับทวีป รวม
ฤดูกาลสโมสรลีก ลงเล่นประตูลงเล่นประตู ลงเล่นประตู ลงเล่นประตู ลงเล่นประตู
อังกฤษ ลีกเอฟเอคัพ ลีกคัพ ยุโรป รวม
1968–69 สกันทอร์ป ดิวิชันสี่ 33 2 1 0 1 0 0 0 35 2
1969–70 46 6 7 3 1 0 0 0 54 9
1970–71 45 10 6 0 1 1 0 0 52 11
1971–72 ลิเวอร์พูล ดิวิชันหนึ่ง 35 9 3 2 1 0 3 0 42 11
1972–73 41 13 4 0 8 5 11 4 64 22
1973–74 42 12 9 6 6 1 4 0 61 19
1974–75 33 10 2 1 3 0 3 1 41 12
1975–76 41 12 2 1 3 0 11 3 57 16
1976–77 38 12 8 4 2 0 8 4 56 20
Germany ลีกDFB-Pokal Premiere Ligapokal ยุโรป รวม
1977–78 ฮัมบวร์ค บุนเดิสลีกา 25 6 4 4 4 2 33 12
1978–79 34 17 1 0 0 0 35 17
1979–80 31 9 3 0 9 2 43 11
อังกฤษ ลีกเอฟเอคัพ ลีกคัพ ยุโรป รวม
1980–81 เซาแทมป์ตัน ดิวิชันหนึ่ง 27 11 4 1 1 0 0 0 32 12
1981–82 41 26 1 1 2 1 4 2 48 30
1982–83 นิวคาสเซิล ดิวิชันสอง 37 21 2 0 2 0 0 0 41 21
1983–84 41 27 1 0 2 1 0 0 44 28
Australia ลีกCup League Cup Oceania/Asia รวม
1985 แบล็กทาวน์ เนชันแนล ซ็อกเกอร์ ลีก 2 1
รวม อังกฤษ 500 171 50 19 36 9 44 14 720 245
Germany 90 32 8 4 13 4 111 40
Australia 2 1
สรุปรวม 592 204

ผู้จัดการทีม

สโมสร ประเทศ เริ่ม ถึง บันถึก
แข่ง ชนะ แพ้ เสมอ ชนะ %
นิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ กุมภาพันธ์ 1992 มกราคม 1997 251 138 62 51 54.98
ฟูลัม ประเทศอังกฤษ พฤษภาคม 1998 พฤษภาคม 1999 61 38 11 12 62.30
ทีมชาติอังกฤษ ประเทศอังกฤษ กุมภาพันธ์ 1999 ตุลาคม 2000 18 7 7 4 38.89
แมนเชสเตอร์ซิตี ประเทศอังกฤษ พฤษภาคม 2001 มีนาคม 2005 176 77 60 39 43.75
นิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ มกราคม 2008 กันยายน 2008 21 6 9 6 28.57
สรุปรวม 527 266 149 112 50.47

อ้างอิง

  1. Chalk, Gary; Holley, Duncan; Bull, David (2013). All the Saints: A Complete Players' Who's Who of Southampton FC. Southampton: Hagiology Publishing. p. 367. ISBN 978-0-9926-8640-6.
  2. "Kevin Keegan factfile". BBC. 7 ตุลาคม 2000. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2006.
  3. "Keegan resigns as Newcastle boss". BBC. 4 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2008.
  4. "สัมพันธ์สะบั้น!! "คีแกน" เปิดหมวกลาสาลิกาแล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. 5 กันยายน 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Kevin Keegan


ก่อนหน้า เควิน คีแกน ถัดไป
ออสวัลโด อาร์ดิเลส ผู้จัดการทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด (สมัยที่ 1)
(5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 - 8 มกราคม ค.ศ. 1997)
เคนนี ดัลกลิช
แซม อัลลาไดซ์ ผู้จัดการทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด (สมัยที่ 2)
(16 มกราคม ค.ศ. 2008 - 4 กันยายน ค.ศ. 2008)
โจ คินเนียร์
เกล็น ฮอดเดิล ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ
(17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 - 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000)
สเวน โกรัน อีริคส์สัน
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9