Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อำเภอทุ่งช้าง

อำเภอทุ่งช้าง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thung Chang
คำขวัญ: 
พิพิธภัณฑ์เรืองรอง ส้มสีทองเรืองนาม
สาวงามพริ้มพราย ผ้าลายไทลื้อ
ยึดถือธรรมะ พระพุทธรูป 700 ปี
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอทุ่งช้าง
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอทุ่งช้าง
พิกัด: 19°23′14″N 100°52′33″E / 19.38722°N 100.87583°E / 19.38722; 100.87583
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด760.811 ตร.กม. (293.751 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด18,908 คน
 • ความหนาแน่น24.85 คน/ตร.กม. (64.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55130
รหัสภูมิศาสตร์5508
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ถนนน่าน-ทุ่งช้าง ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทุ่งช้าง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน เดิมมีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเชียงกลาง[1][2][3][4] อำเภอสองแคว[5]ทั้งหมด และตำบลห้วยโก๋นของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ[6][7]

ทุ่งนาในเขตอำเภอทุ่งช้าง

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอทุ่งช้างมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้

ประวัติ

แต่เดิมท้องที่อำเภอทุ่งช้างเป็นบริเวณที่เรียกว่าแขวงเมืองและ ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอและ[8] ตามตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ โดยมีอาคารที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านเฟือยลุง หมู่ 9 ตำบลและ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ต่อมาได้ย้ายอาคารที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ซึ่งห่างจากเดิม 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตบ้านทุ่งช้าง หมู่ 2 ตำบลทุ่งช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็นอำเภอทุ่งช้าง[9] ในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกัน และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลทุ่งช้างจนถึงปัจจุบัน

อำเภอทุ่งช้าง มีประวัติศาสตร์การสู้รบที่ยาวนาน คือสงครามอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความทางคิด อุดมการณ์ ลัทธิการปกครอง ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ที่แทรกซึมเพื่อหวังทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ทวีความรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2518 ชาวไทยที่รักชาติต้องพลีชีพปกป้องผืนแผ่นดินไทยมากมายถึง 600 กว่าคน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ปัจจุบันชาวอำเภอทุ่งช้างมีวิถีชีวิตที่สุขสงบท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงาม อากาศบริสุทธิ์ ผู้คนมีอัธยาศัยไมตรี ราษฎรมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ถึงแม้จะประกอบด้วยราษฎรหลากหลายเผ่าพันธ์ เช่น ไทยเหนือ ไทลื้อ ม้ง ขมุ ลัวะ เย้า ถิ่น แต่ชนทุกเผ่าก็อยู่อาศัยร่วมกันในผืนดินนี้อย่างสุขสงบ ไม่เคยมีปัญหาด้านการปกครอง

  • วันที่ 8 กันยายน 2450 รวมเมืองและ เมืองปอน เมืองงอบ เมืองเบือ ขึ้นเป็นแขวงเมืองและ ตั้งที่ว่าการแขวงที่เมืองและ[8]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลงอบ แยกออกจากตำบลปอน ตั้งตำบลเปือ แยกออกจากตำบลและ ตั้งตำบลเชียงคาน แยกออกจากตำบลเชียงกลาง[10]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลและ ในท้องที่บางส่วนของตำบลและ[11]
  • วันที่ 11 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็น อำเภอทุ่งช้าง[9]
  • วันที่ 18 มิถุนายน 2511 แยกพื้นที่ตำบลเปือ ตำบลเชียงกลาง ตำบลเชียงคาน และตำบลนาไร่หลวง อำเภอทุ่งช้าง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงกลาง ขึ้นกับอำเภอทุ่งช้าง[3]
  • วันที่ 17 กันยายน 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลสบกอน ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงกลาง และตำบลเปือ[12]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง เป็น อำเภอเชียงกลาง[4]
  • วันที่ 13 กันยายน 2520 ตั้งตำบลทุ่งช้าง แยกออกจากตำบลและ[13]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลห้วยโก๋น แยกออกจากตำบลปอน[6]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลห้วยโก๋น อำเภอทุ่งช้าง และตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[7] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลและ เป็นเทศบาลตำบลและ[14]
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งช้าง[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอทุ่งช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร

(ธันวาคม 2565)[16]

1. ปอน Pon 8 2,696
2. งอบ Ngop 11 5,935
3. และ Lae 14 4,666
4. ทุ่งช้าง Thung Chang 7 5,641

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอทุ่งช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 481–484. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 336–341. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (54 ง): 1755. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21. วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21. วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
  5. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ เพิ่มเติมในท้องที่มณฑลพายัพและมณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 346. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-34. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535
  7. 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  8. 8.0 8.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกบริเวณน่านใต้กับบริเวณน่านตะวันออกแล้วจัดแบ่งท้องที่ตั้งเป็นแขวงขึ้นต่างๆ คือ รวมเมืองศรีสะเกษ เมืองหิน เมืองลี เรียกว่าแขวงศรีสะเกษ รวมเมืองท่าปลา เมืองแฝด เมืองผาเลือด เรียกว่าแขวงท่าปลา รวมเมืองปัว เมืองเชียงคาน เมืองเชียงกลาง เมืองบ่อ เมืองศิลาเพชร เมืองยม เมืองอวน เมืองริม เมืองแงง เรียกว่าแขวงเมืองปัว รวมเมืองและเมืองปอน เมืองงอบ เมืองเปีย เรียกว่าแขวงเมืองและ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (23): 572. September 8, 1907.
  9. 9.0 9.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (33 ก): 382-. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2011-06-21. วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2504
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลและ อำเภอและ จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-50. January 7, 1957.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสบกอน กิ่งอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (82 ง): 2787–2789. September 17, 1968.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (85 ง): 3711–3713. September 13, 1977.
  14. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็น เทศบาลตำบลทุ่งช้าง" (PDF). February 16, 2007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9