อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย อาจารย์ประจำและหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี พ.ศ. 2549 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย ประจำปี พ.ศ. 2551 และเมธีวิจัยอาวุโส สกว.[2] ประวัตินายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร หรือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 3 คน ของ พันตำรวจเอกนายแพทย์ กรณ์กิจ และ นางรัชนี มุทิรางกูร ศาสตราจารย์อภิวัฒน์ มุทิรางกูร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านอณูพันธุศาสตร์ มีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการศึกษาการอณูพันธุศาสตร์โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก และสภาวะเหนือพันธุกรรม (Epigenetic) ที่เป็นกลไกสำคัญในการเกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ มะเร็ง โรค autoimmune และโรคชรา ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2549 และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 สมรสกับ แพทย์หญิง ลินดา (ชวโรจน์) มุทิรางกูร มีบุตรชาย 3 คน คือ นาย กรณ์ นาย วัฒนกิจ และ ด.ช. ธรรม มุทิรางกูร การศึกษา
ผลงานผลงานของศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มีผลงานวิจัยจำนวนมาก ที่สำคัญคือ 1) การค้นพบดีเอ็นเอของไวรัสไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก (1) ในปัจจุบันใช้การวัดปริมาณ EBV DNA ในน้ำเหลืองเพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก 2) ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของสายดีเอ็นเอเบสซ้ำเพื่อควบคุมการทำงานของยีนและปกป้องจีโนมของเซลล์ (2-8) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกัน ตรวจกรองวินิจฉัยและรักษา มะเร็งและความชราในอนาคต 3) ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส (9-13) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการตรวจกรองและวินิจฉัยมะเร็งในอนาคต 4) ค้นพบรอยฉีกขาดของดีเอ็นเอที่ดี (14-17) ที่อาจมีประโยชน์ป้องกันความไม่เสถียรของจีโนม ความชราและมะเร็ง น่าจะทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกันการเกิดมะเร็งและความชราในอนาคต ในปี ปี พ.ศ. 2551 คณะผู้วิจัยได้รายงาน การค้นพบ ดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) หรือ EBVDNA ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาการตรวจติดตามผลการรักษา โดยที่ EBVDNA จะหายหมดไปหากไม่มีเนื้อมะเร็งโพรงหลังจมูกหลงเหลือ และหากพบมี EBVDNA ในน้ำเหลืองแสดงว่ามีการกลับเป็นซ้ำเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกประมาณ ๖ แสนคนทั่วโลก ได้ประโยชน์จากการตรวจหา EBVDNA ในน้ำเหลือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 คณะผู้วิจัยเริ่มรายงานค้นพบการเปลื่ยนแปลงสภาวะเหนือพันธุกรรมของสายดีเอ็นเอเบสซ้ำในเซลล์มะเร็ง ในผู้ชรา และในโรคอื่นๆ เช่น กระดูกผุ โรค SLE หรือรู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวง การศึกษาต่อเนื่องทำให้รู้กลไกและบทบาทที่ส่งผลต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรค ทั้งจาก ความไม่เสถียรของจีโนมและการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันคณะผู้วิจัย กำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้เกี่ยวกับ สภาวะเหนือพันธุกรรมของสายดีเอ็นเอเบสซ้ำ มาพัฒนาเป็นยารักษามะเร็ง ป้องกันความพิการจากความชรา และการตรวจกรองมะเร็งที่พบบ่อย นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังเป็นผู้ค้นพบสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส และกำลังกำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้นี้ไปใช้วินิจฉัยและการตรวจกรองมะเร็งในอนาคต ในปี พ.ศ. 2547 คณะผู้วิจัยรายงานการค้นพบรอยฉีกขาดของดีเอ็นเอที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน รอยฉีกขาดของดีเอ็นเอที่รู้จักกันจะทำให้เซลล์ตายหรือกลายพันธุ์ แต่รอยฉีกขาดที่ค้นพบกลับน่าจะมีประโยชน์ต่อเซลล์ทำให้จีโนมเสถียร ไม่แก่และไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้นการเข้าใจกลไกการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลที่รอยฉีกขาดนี้อาจนำไปสู่การป้องกันการแก่และมะเร็งในอนาคต และผลงานวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือการค้นพบกลไกต้นน้ำของความชราบริเวณรอยแยก (youth-DNA-gap) ตรงจุดที่มีดีเอ็นเอแมดทิเลชัน (DNA methylation) และเป็นที่มาของการพัฒนา โมเลกุลมณีแดง หรือ RED-GEMs (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules) ซึ่งมีบทบาทในการช่วยปกป้องดีเอ็นเอและป้องกันความแก่ชราในดีเอ็นเอ โดยเมื่อมนุษย์อายุมากขึ้น รอยแยกดีเอ็นเอจะลดลง ทำให้เกิดแรงตึงทั่วสายของดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอไม่สามารถหมุนตัวได้อย่างปกติ และถูกทำลายได้ง่าย จึงพบรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์ที่แก่ชราแล้วเยอะขึ้น ซึ่งรอยโรคดีเอ็นเอนี้จะส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวตามปกติและเข้าสู่ความแก่ชรา รวมถึงอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์และมะเร็งได้ โมเลกุลมณีแดงคือยีนที่มีหน้าที่เป็นกรรไกรเพื่อสร้างรอยแยกดีเอ็นเอ เซลล์ที่ได้รับมณีแดงจะมีดีเอ็นเอที่แข็งแรงขึ้น และทำให้เซลล์ที่เสื่อมลงแล้วกลับมาดีขึ้น[3] ประวัติการทำงาน
ตำแหน่งทางวิชาการ
เกียรติคุณ
หน้าที่และกิจกรรมในองค์กรต่าง ๆ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
เอกสารเพิ่มเติม
|