Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

หินแกรนิต

หินแกรนิต
หินอัคนี
หินแกรนิตประกอบด้วยโพแทสเซียม เฟลด์สปาร์, พลาจิโอเคลส เฟลด์สปาร์, ควอตซ์, ไบโอไทต์ และ/หรือ แอมฟิโบล
องค์ประกอบ
โพแทสเซียม เฟลด์สปาร์, พลาจิโอเคลส เฟลด์สปาร์ และควอตซ์ (รวมถึงมัสโคไวต์และแอมฟิโบลชนิดฮอร์นเบลนด์)
ภาพถ่ายระยะใกล้ของหินแกรนิตจากอุทยานแห่งชาติหุบเขาโยเซไมต์ แม่น้ำเมอร์ซ
เหมืองหินแกรนิตสำหรับวัดมอร์มอน รัฐอูทาห์ พื้นผิวดินกระจัดกระจายไปด้วยก้อนหินขนาดใหญ่และเศษของหินแกรนิตที่หลุดล่วงลงมา ซึ่งหลุดหล่นลงมาจากผนังของหน้าผา Little Cottonwood Canyon เหมืองประกอบไปด้วยบล็อกที่แตกย่อยออกไป

หินแกรนิต (อังกฤษ: granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอน สีจางพบได้ทั่วไปเป็นปกติ แกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ (groundmass) เกิดเป็นหินที่รู้จักกันในนามของพอร์พายรี (porphyry) แกรนิตอาจมีสีชมพูจนถึงสีเทาเข้มหรือแม้แต่สีดำขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีและองค์ประกอบทางแร่ หินโผล่ของหินแกรนิตมีแนวโน้มจะเกิดเป็นมวลหินโผล่ขึ้นมาเป็นผิวโค้งมน บางทีหินแกรนิตก็เกิดเป็นหลุมยุบรูปวงกลมที่รายล้อมไปด้วยแนวเทือกเขาเกิดเป็นแนวการแปรสภาพแบบสัมผัสหรือฮอร์นเฟลส์

แกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ (ปราศจากโครงสร้างภายใน) แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้เป็นหินก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของหินแกรนิตคือ 2.75 กรัม/ซม3 และค่าความหนืดที่อุณหภูมิและความกดดันมาตรฐานประมาณ4.5 • 1019 Pa•s.[1]

คำว่า “granite” มาจากภาษาลาตินคำว่า “granum” หมายถึง “grain” หรือ “เม็ด” ซึ่งมาจากลักษณะโครงสร้างผลึกในเนื้อหินที่เป็นเม็ดหยาบ

วิทยาแร่

แกรนิตออร์บิคิวลาร์ ใน คัลเดอรา ชิลี

หินแกรนิตถูกจำแนกแยกย่อยไปตามไดอะแกรม QAPF สำหรับหินอัคนีแทรกซอนเนื้อหยาบ (granitoids) และตั้งชื่อตามเปอร์เซนต์ของควอตซ์ แอลคาไลน์เฟลด์สปาร์ (ออร์โธเคลส, ซานิดีน, หรือ ไมโครไคลน์) และแพลจิโอเคลสเฟลสปาร์ บนส่วนของ A-Q-P ในไดอะแกรมดังกล่าว

หินอัคนีที่แท้จริงตามข้อกำหนดทางศิลาวิทยาสมัยใหม่ประกอบด้วยทั้งแพลจิโอเคลสและแอลคาไลน์เฟลด์สปาร์ เมื่อแกรนิตอยด์ไม่มีแพลจิโอเคลสหรือมีน้อยก็จะเรียกหินนั้นว่า “แอลคาไลน์แกรนิต” เมื่อแกรนิตอยด์มีออร์โธเคลส 10% ก็จะเรียกว่า “โทนาไลต์” (ไพร็อกซีนและแอมฟิโบลพบได้ทั่วไปในโทนาไลต์) แกรนิตที่ประกอบด้วยทั้งมัสโคไวต์และไบโอไทต์ไมก้าก็จะเรียกว่าไบนารีแกรนิตหรือทูไมก้าแกรนิต (two-mica granite) ทูไมก้าแกรนิตโดยทั่วไปจะมีโปแตสเซียมสูงและมีแพลจิโอเคลสต่ำและปรกติจะเป็นแกรนิต S-type หรือ แกรนิต A-type หินภูเขาไฟที่มีองค์ประกอบเทียบเท่ากันกับหินแกรนิตคือไรโอไรต์ หินแกรนิตมีคุณสมบัติให้ซึมผ่านปฐมภูมิได้ต่ำแต่มีการซึมผ่านทุติยภูมิได้สูง

องค์ประกอบทางเคมี

ค่าเฉลี่ยทั่วโลกของสัดส่วนเฉลี่ยขององค์ประกอบทางเคมีที่ต่างกันในหินแกรนิตจากมากไปน้อยโดยเปอร์เซนต์น้ำหนักคือ[2]

อ้างอิงจากผลวิเคราะห์ 2485 รายการ

สถานที่พบ

Stawamus Chief เป็นแกรนิตโมโนลิตในบริติสโคลัมเบีย
แกรนิตที่ทำเป็นแผ่นหินสลักชื่อผู้ตายหน้าหลุมฝังศพนิวอิงแลนด์ หินจาก ฮิงแฮม รัฐแมสซ่าซูเซส

จนถึงทุกวันนี้แกรนิตพบได้เฉพาะบนโลกโดยพบเป็นองค์ประกอบหลักของเปลือกโลกในส่วนของทวีป มักพบแกรนิตเป็นสต็อคขนาดเล็กครอบคลุมเนื้อที่น้อยกว่า 100 ตารางกิโลเมตรและอาจพบเป็นแบโทลิตที่มักพบเกิดร่วมกับแนวเทือกเขา (orogenic mountain ranges) ไดค์ (dike) ขนาดเล็กที่มีองค์ประกอบเป็นแกรนิตเรียกว่า “แอพไพลต์” ซึ่งจะพบเกิดขึ้นบริเวณขอบของการแทรกดัน บางบริเวณก็พบเป็นเพคมาไทต์ (pegmatite) ซึ่งมีผลึกขนาดหยาบเกิดร่วมกับหินแกรนิต

หินแกรนิตได้แทรกดันเข้าไปในชั้นเปลือกโลกตลอดช่วงยุคทางธรณีวิทยาและพบได้มากในช่วงพรีแคมเบรียน หินแกรนิตพบกระจัดกระจายไปทั่วแผ่นเปลือกทวีปของโลกและพบมากเป็นหินพื้นฐานใต้ชั้นหินตะกอนที่มีขนาดบางกว่า

การกำเนิด

ภาพถ่ายระยะใกล้ของหินแกรนิตในเจนไน ประเทศอินเดีย

แกรนิตเป็นหินอัคนีที่เกิดขึ้นจากแมกมาที่แทรกดันผ่านหินอื่นขึ้นมา โดยแมกมาเนื้อแกรนิตมีต้นกำเนิดที่หลากหลาย การแทรกดันของแกรนิตเกิดขึ้นที่ความลึกใต้ผิวโลก โดยปกติลึกมากกว่า 1.5 กิโลเมตรและอาจลึกมากถึง 50 กิโลเมตรในชั้นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีการโต้แย้งเกี่ยวกับการกำเนิดของหินแกรนิต ซึ่งนำไปสู่รูปแบบการจำแนกที่หลากหลาย การจำแนกนั้นถูกแบ่งออกตามภูมิภาคของโลก ทั้งแบบฝรั่งเศส แบบอังกฤษ และแบบอเมริกา ความสับสนนี้เกิดขึ้นเพราะว่ารูปแบบการจำแนกแต่ละแบบกำหนดให้แกรนิตมีความหมายที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วการจำแนกแบบ “อัลฟาเบ็ตซุป” (alphabet soup) มักถูกนำมาใช้เนื่องจากเป็นการจำแนกบนพื้นฐานของการกำเนิดของแมกมา

การกำเนิดทางธรณีเคมี

แกรนิตอยด์เป็นองค์ประกอบของชั้นเปลือกโลกที่มีอยู่ทั่วไป เกิดจากการตกผลึกของแมกมาที่มีองค์ประกอบอยู่บริเวณจุดยูเทคติก (eutectic point) หรือที่จุดต่ำสุดของอุณหภูมิบนเส้นกราฟโคเทคติก แมกมาจะวิวัฒน์ไปสู่จุดยูเทคติกเนื่องจากการแยกส่วนทางอัคนี (igneous differentiation) หรือเพราะว่าแมกมาอยู่ที่ระดับล่างของการหลอมละลายบางส่วน การตกผลึกแบบแยกส่วนนี้ลดการหลอมเหลวของเหล็ก แมกนีเซียม ไททาเนียม แคลเซียม และโซเดียม และเพิ่มการหลอมเหลวของโปแตสเซียม ซิลิก้อน–แอลคาไลน์เฟลด์สปาร์ (มีส่วนประกอบหลักคือโปแตสเซียม) และควอตซ์ (SiO2) ซึ่งถือเป็นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของแกรนิต

กระบวนการนี้ดำเนินไปโดยไม่คำนึงถึงองค์ประกอบทางเคมีและแหล่งที่มาของแมกมาต้นกำเนิดที่จะพัฒนาไปเป็นแกรนิต อย่างไรก็ตามแหล่งที่มาและองค์ประกอบของแมกมาที่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแกรนิตนั้น สามารถใช้หาแร่และธรณีเคมีของหินต้นกำเนิดของแกรนิตนั้นได้ เนื่องจากวิทยาแร่ เนื้อหิน และองค์ประกอบทางเคมีสุดท้ายของหินแกรนิตหนึ่งๆ มักจะมีลักษณะเฉพาะตามหินต้นกำเนิด เช่น หินแกรนิตที่เกิดจากการหลอมละลายของตะกอนอาจมีแอลคาไลน์เฟลด์สปาร์สูง ในขณะที่แกรนิตที่เกิดจากการหลอมมาจากหินบะซอลต์มักมีส่วนประกอบเป็นแพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ ทั้งหมดนี้ใช้เกณฑ์การจำแนกแบบอัลฟาเบ็ตซุปสมัยใหม่เป็นพื้นฐาน

การจำแนกแบบอัลฟาเบ็ตซุป

การจำแนกแบบอัลฟาเบ็ตซุปของ Chappell & White นั้น ในช่วงแรกๆถูกเสนอขึ้นมาเพื่อแบ่งแกรนิตออกเป็น 2 ประเภทคือ แกรนิต I-type หรือแกรนิตที่มีหินต้นกำเนิดเป็นหินอัคนี (Igneous protolith) กับแกรนิต S-type หรือหินแกรนิตที่มีหินต้นกำเนิดเป็นหินตะกอน (Sedimentary protolith)[3] หินแกรนิตทั้งสองประเภทนี้เกิดขึ้นจากการหลอมละลายของหินแปรเกรดสูง หินแกรนิต หินอัคนีแทรกซอนสีเข้ม หรือตะกอนที่ปิดทับ ตามลำดับ

หินแกรนิต M-type หรือแกรนิตที่มีวัตถุต้นกำเนิดมาจากแมนเทิลนั้นถูกเสนอขึ้นมาภายหลังเพื่อให้ครอบคลุมหินแกรนิตที่มีแหล่งกำเนิดจากแมกมาสีเข้มที่ตกผลึกซึ่งโดยทั่วไปจะมีแหล่งมาจากแมนเทิล หินแกรนิตชนิดนี้พบได้น้อยเนื่องจากเป็นการยากที่จะเปลี่ยนบะซอลต์ไปเป็นแกรนิตผ่านการตกผลึกแบบแยกส่วน

หินแกรนิต A-type (Anoroganic granite) เกิดขึ้นบริเวณเหนือการประทุของภูเขาไฟฮอตสปอตและจะมีองค์ประกอบทางแร่และธรณีเคมีที่แปลก หินแกรนิตเหล่านี้เกิดขึ้นจากการหลอมละลายที่ส่วนล่างของเปลือกโลกภายใต้สภาพที่ปรกติแล้วแห้งอย่างรวดเร็ว หินไรโอไรต์จากโพลงยุบที่เยลโลสโตนเป็นตัวอย่างของหินภูเขาไฟที่มีองค์ประกอบเปรียบเทียบได้กับหินแกรนิต A-type นี้[4][5]

การเกิดหินแกรนิต

ทฤษฎีการเกิดหินแกรนิตที่เก่าแก่ทฤษฎีหนึ่งที่ได้ลดการยอมรับไปมากแล้ว กล่าวเอาไว้ว่า แกรนิตนั้นเกิดขึ้นในที่ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงโดยมีของไหลที่นำธาตุบางชนิดเข้าไป เช่น โปแตสเซียม แล้วดึงเอาธาตุอื่นๆออกมา เช่น แคลเซี่ยม แล้วเปลี่ยนหินแปรไปเป็นหินแกรนิต กระบวนการนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ตามแนวด้านหน้าของการเคลื่อนย้าย การเกิดหินแกรนิตโดยความร้อนจากการแปรสภาพบริเวณภาคพื้นแอมฟิโบไลต์และแกรนูไลต์เกิดขึ้นได้ยากแต่เป็นไปได้ การเกิดหินแกรนิตแบบอยู่กับที่ (in-situ granitisation) หรือการหลอมละลาย โดยกระบวนการแปรสภาพนั้นยากที่จะรับรู้ได้ยกเว้นเนื้อหินแบบลิวโคโซม (leucosome) และเมลาโนโซม (melanosome) ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ในหินไนส์ ทันทีที่หินแปรหนึ่งๆเกิดการหลอมละลายมันก็จะไม่เป็นหินแปรอีกต่อไปแต่จะเปลี่ยนไปเป็นแมกมา ดังนั้นหินเหล่านี้จึงมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างทั้งสอง แต่ในทางเทคนิคแล้วไม่ถือว่าเป็นหินแกรนิต เพราะไม่ได้แทรกซอนเข้าไปในหินอื่นๆ การหลอมละลายของหินแข็งนั้นต้องการอุณหภูมิที่สูงและมีน้ำหรือสารระเหยอื่นๆ เป็นสารกระตุ้นช่วยในการลดจุดหลอมเหลวของหินลงมา

การแทรกดันตัวขึ้นมาและการจัดวางตำแหน่ง

มีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับการแทรกดันตัวขึ้นมาและการจัดวางตัวของหินแกรนิตทางด้านบนของเปลือกทวีป เพราะยังไม่มีหลักฐานในภาคสนามที่จะเสนอกลไกใดๆ ได้ดีพอ สมมุติฐานที่เสนอกันขึ้นมาจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการทดลอง โดยมีสมมุติฐานสองประการหลักๆ เกี่ยวกับการแทรกดันตัวขึ้นมาของแมกมาผ่านชั้นเปลือกโลก คือ

  • Stoke Diaper
  • Fracture Propagation

ในบรรดากลไกทั้งสองนี้ Stokes Diaper เป็นที่นิยมใช้กันมาหลายปีในสภาพที่ปราศจากทางเลือกใดที่สมเหตุสมผลกว่า แนวคิดพื้นฐานคือว่าแมกมาจะถูกแทรกดันตัวขึ้นมาผ่านชั้นเปลือกโลกในลักษณะของมวลเดี่ยวๆ ด้วยการลอยตัว ขณะที่มันแทรกดันตัวขึ้นมานั้นมีการแผ่ความร้อนให้กับมวลหินข้างเคียง ทำให้หินข้างเคียงมีลักษณะเป็นของไหลแล้วไหลไปรอบๆ พลูโทน มวลหินข้างเคียงผ่านเข้าไปในแมกมาอย่างรวดเร็วโดยปราศจากการสูญเสียความร้อนหลัก (Weinberg, 1994) ในชั้นเปลือกโลกด้านล่างที่อุ่นและอ่อนนุ่ม หินสามารถเสียรูปได้โดยง่าย แต่ด้านบนของชั้นเปลือกโลกนั้นเย็นกว่าและเปราะกว่า หินจึงไม่สามารถเสียรูปได้โดยง่าย สำหรับแมกมาที่แทรกตัวขึ้นมาเป็นพลูโทนต้องใช้พลังงานอย่างมากในการให้ความร้อนกับหินข้างเคียง จึงเกิดการเย็นตัวและแข็งตัวก่อนที่จะถึงระดับตื้นของชั้นเปลือกโลก

ในปัจจุบันกลไกการแผ่ขยายของรอยแตกเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะกลไกนี้แก้ปัญหาของการเคลื่อนที่ของมวลมหาศาลของแมกมาที่ผ่านเข้าไปในชั้นเปลือกโลกที่เย็นและเปราะ แมกมาดันตัวขึ้นมาแทนที่ในช่องว่างเล็กๆไปตามไดค์ซึ่งเกิดตามระบบรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นใหม่หรือรอยเลื่อนที่มีอยู่ก่อนแล้วและรวมถึงเครือข่ายของแนวเฉือนที่มีพลัง (Clemens, 1998)[6] เมื่อท่อแคบๆเหล่านี้ถูกเปิดออกแมกมาด้านบนก็จะแข็งตัวและจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนป้องกันแมกมาที่แทรกดันตามขึ้นมาจากด้านล่าง

แมกมาแกรนิตต้องหาที่อยู่เพื่อตัวมันเองหรือแทรกดันเข้าไปในหินอื่นเพื่อที่จะเกิดการแทรกซอน และมีกลไลหลากหลายถูกเสนอขึ้นมาเพื่ออธิบายว่าแบโทลิธขนาดใหญ่แทรกเข้าไปอยู่ได้อย่างไร เช่น

  • Stoping คือเมื่อแกรนิตทำให้หินข้างเคียงแตกร้าวและแทรกดันขึ้นไปขณะที่ก็ดึงเอาก้อนเปลือกโลกด้านบนออกไปด้วย
  • Assimilation คือเมื่อแกรนิตหลอมละลายหินเปิดช่องทางให้มันแทรกดันตัวขึ้นไปในชั้นเปลือกโลกและดึงเอาวัตถุที่อยู่ด้านบนไปตามช่องทางนี้
  • Inflation คือเมื่อมวลแกรนิตขยายตัวออกภายใต้ความกดดันและถูกฉีดเข้าไปในตำแหน่งของมัน

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการแทรกซอนของแกรนิตสามารถใช้กลไกเหล่านี้มาอธิบายร่วมกันได้

การแผ่รังสีโดยธรรมชาติ

แกรนิตเป็นแหล่งของการแผ่รังสีทางธรรมชาติเหมือนกับหินทั่วไป โดยหินแกรนิตบางชนิดมีความเป็นกัมมันตรังสีสูง

หินแกรนิตบางชนิดมีแร่ยูเรเนียมสูงถึง 10 - 20 ส่วนในล้านส่วน ในทางกลับกัน หินอัคนีสีเข้มจำนวนมากอย่างเช่น โทนาไลต์ แกบโบร หรือไดโอไรต์มีแร่ยูเรเนียมเพียง 1 ถึง 5 ส่วนในล้านส่วน และหินปูนรวมถึงหินตะกอนทั้งหลายมีปริมาณยูเรเนียมน้อย พลูโทนหินแกรนิตขนาดใหญ่จำนวนมากเป็นแหล่งให้กับทางน้ำโบราณหรือแหล่งสะสมตัวของยูเรเนียมแบบโรลล์ฟรอนต์ (roll front uranium ore deposits) ที่แร่ยูเรเนียมได้ชะล้างเข้าไปในตะกอนจากหินแกรนิตบนพื้นดินและที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนมากจะเป็นพวกเพกมาไทต์ที่มีกัมมันตะรังสีสูง แกรนิตสามารถเป็นแหล่งเสี่ยงภัยจากกัมมันตรังสีทางธรรมชาติ เช่น หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนพืดหินแกรนิตอาจได้รับผลกระทบจากการแผ่รังสีมากกว่าชุมชนอื่นๆ[7] โพรงและฐานยุบของดินบนหินแกรนิตสามารถเป็นที่กักเก็บของแก๊สเรดอนซึ่งเกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียม[8] โดยเรดอนสามารถเข้าไปถึงครัวเรือนผ่านทางบ่อน้ำที่ขุดลงไปในหินแกรนิต[9] ซึ่งแก๊สเรดอนมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับสุขภาพ และถือเป็นสาเหตุของมะเร็งปอดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับสองรองมาจากการสูบบุหรี่[9]

วัสดุที่ผลิตขายเป็นแผ่นหินปูเคาน์เตอร์หรือเป็นวัสดุก่อสร้างไม่ได้มีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงนัก Dr. Dan Steck แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กล่าวว่า ประมาณ 5% ของแกรนิตทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับกัมมันตรังสี แต่ได้ข้อมูลจากการตรวจหินแกรนิตเพียงไม่กี่ประเภทจากจำนวนหลายหมื่นประเภทเท่านั้น มีแหล่งข้อมูลออนไลน์ขององค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งชาติซึ่งเกี่ยวกับความเสี่ยงของหินแกรนิตและกฎการก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ป้องกันการสะสมของแก็สเรดอนในชั้นใต้ดินและบ้านพักอาศัยซึ่งเป็นสถานที่ปิด

มีการศึกษาหินแกรนิตเคาน์เตอร์ชิ้นหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2008 โดย National Health and Engineering Inc แห่งสหรัฐอเมริกา[10] พบว่ามีหินแกรนิตจำนวน 18 แผ่นจากจำนวน 39 แผ่นไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของสหภาพยุโรป (section 4.1.1.1 of the National Health and Engineering study) มากไปกว่านี้ แผ่นหนึ่งจากแผ่นหินจำนวน 39 แผ่นถูกตรวจสอบในการศึกษา E,H.&E มีดัชนีความเข้มข้นเกินข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (Section 4.3.1 of the E,H,&E study) สถาบันหินอ่อนมีความเกี่ยวข้องกับการออกข้อกำหนดนี้ด้วยการกล่าวว่าข้อกำหนดของหินแกรนิตเคาน์เตอร์ของสหภาพยุโรปนั้นมีข้อบกพร่อง หินที่ตรวจสอบนั้นได้รวมถึงชนิดของแกรนิตที่เป็นแผ่นหินแกรนิตเคาน์เตอร์ที่มีตลาดร่วมกับอเมริกาเสียประมาณ 80% ตามข้อมูลตลาดล่าสุดที่หาได้

นักวิจัยและองค์กรอื่นๆไม่ได้เห็นด้วยกับสถานะความปลอดภัยในหินแกรนิตของสถาบันหินอ่อนซึ่งรวมถึง AARST (American Association of Radon Scientists and Technicians) และ CRCPD (Conference of Radiation Control Program Directors, an organization of state radiation protection officials) ทั้งสององค์กรนี้มีคณะกรรมการซึ่งที่ผ่านมาได้ออกข้อกำหนดอนุญาตให้มีระดับของการแผ่รังสีเรดอนสูงสุดรวมถึงข้อตกลงในการตรวจวัดรังสีเรดอนจากหินแกรนิตเคาน์เตอร์ ข้อกำหนดของสหภาพยุโรปดูเหมือนว่าจะรวมถึงข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับข้อกำหนดฐานของ EPA ฉบับใหม่สำหรับวัสดุก่อสร้างที่เป็นหินแกรนิตในสหรัฐอเมริกาด้วย

การปีนเขา

ยอดเขาหินแกรนิต Torres del Paine ในปาตาโกเนีย ประเทศชิลี

แกรนิตเป็นหนึ่งในบรรดาหินหลายชนิดที่เป็นที่ชื่นชอบกันในบรรดานักปีนเขาด้วยความชัน ความมั่นคง ระบบรอยแยก และการเสียดทานของมัน สถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการปีนป่ายหินแกรนิต ได้แก่ หุบเขา Yosemite, Bugaboos, Mont Blanc, เทือกเขา Mourne, Aiguille du Midi และ Grandes Jorasses, เทือกเขา Bregaglia, Corsica, หลายส่วนของ Karakoram, Fitzroy Massif, Patagonia, เกาะ Baffin, Cornwall, และ Cairngorms​

การปีนหินแกรนิตเป็นที่นิยมกันมาก ทำให้กำแพงปีนหินเทียมจำนวนมากที่พบในโรงยิมและในสวนสาธารณะนั้นถูกทำขึ้นให้มีลักษณะภายนอกและผิวสัมผัสเหมือนหินแกรนิตจริงๆ ถึงจะทำมาจากวัตถุทดแทนก็ตาม เพราะหินแกรนิตหนักเกินไปสำหรับกำแพงปีนป่ายที่ขนย้ายได้ และหนักเกินไปสำหรับอาคารที่จะเป็นสถานที่ตั้งกำแพงเหล่านั้นด้วย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Kumagai, Naoichi; Sadao Sasajima; Hidebumi Ito (15 February 1978). "Long-term Creep of Rocks: Results with Large Specimens Obtained in about 20 Years and Those with Small Specimens in about 3 Years". Journal of the Society of Materials Science (Japan). Japan Energy Society. 27 (293): 157–161. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
  2. Harvey Blatt and Robert J. Tracy (1997). Petrology (2nd ed.). New York: Freeman. p. 66. ISBN 0716724383.
  3. Chappell, B.W. and White, A.J.R., 2001. Two contrasting granite types: 25 years later. Australian Journal of Earth Sciences v.48, p.489-499.
  4. Boroughs, S., Wolff, J., Bonnichsen, B., Godchaux, M., and Larson, P., 2005, Large-volume, low-δ18O rhyolites of the central Snake River Plain, Idaho, USA: Geology 33: 821–824.
  5. C.D. Frost, M. McCurry, R. Christiansen, K. Putirka and M. Kuntz, Extrusive A-type magmatism of the Yellowstone hot spot track 15th Goldschmidt Conference Field Trip AC-4. Field Trip Guide, University of Wyoming (2005) 76 pp., plus an appended map.
  6. Clemens, John (1998). "Observations on the origins and ascent mechanisms of granitic magmas". Journal of the Geological Society of London. 155 (Part 5): 843–51. doi:10.1144/gsjgs.155.5.0843.{{cite journal}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  7. "Radiation and Life". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2009-09-03.
  8. "Decay series of Uranium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.
  9. 9.0 9.1 "Radon and Cancer: Questions and Answers". National Cancer Institute. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.
  10. http://www.marble- เก็บถาวร 2017-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน institute.com/industryresources/assessingexposureexecutivesummary.pdf

เชื่อมต่อภายนอก

แม่แบบ:Igneous rocks

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9